สถูปสาญจี
![]() |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
|
กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี * | |
---|---|
![]() |
|
ประเทศ |
![]() |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (i)(ii)(iii)(iv)(vi) |
อ้างอิง | 524 |
ภูมิภาค ** | เอเชีย |
พิกัด | 23°28′50″N 77°44′11″E / 23.480656°N 77.736300°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 23°28′50″N 77°44′11″E / 23.480656°N 77.736300°E |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | พ.ศ. 2532 (คณะกรรมการสมัยที่ 13) |
สถูปสาญจี (อังกฤษ: Sanchi) คำว่า สาญจี คือ ชื่อหมู่บ้านเล็กๆ ในเขต Raisen ของรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 46 กิโลเมตร จากเมือง Bhopal และ 10 กิโลเมตรจากเมือง Vidisha ในส่วนกลางของรัฐมัธยประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานทางพระพุทธศาสนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 12 และเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในการแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ
สถูปแห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี (Buddhist Monuments at Sanchi) ซึ่งเป็นมรดกโลกที่รักษาไว้เป็นอย่างดี โดยเปิดทำการให้สาธารณะเข้าชมในเวลา 8.00 -17.00 น.[1]
มหาสถูปสาญจี คือ โครงสร้างหินเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งสร้างโดยคำสั่งของพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 แกนกลางของสถูป คือ โครงสร้างอิฐรูปครึ่งวงกลมที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ด้านบนของสถูปปัก ฉัตรวลี (ร่มหลายชั้นที่ปักอยู่บนยอดสถูป) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความสำคัญของสถูปนี้ สถูปแห่งนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ซุ้มประตูทั้ง 4 ด้านแกะสลักและตกแต่งอย่างหรูหรา และมีราวระเบียงล้อมรอบทั้งสถูป
ประตูโตรณะ[แก้]
สถูปสาญจีมีซุ้มประตูอยู่โดยรอบ เรียกว่า โตรณะ ลวดลายของซุ้มประตูเหล่านี้นำเสนอแนวคิดเรื่องความรัก สันติ ความจริง ความกล้า ประตูและระเบียงรอบสถูปสร้างโดยราชวงศ์สาตวาหนะ ซึ่งมีศิลาจารึกปรากฏอยู่ตรงขอบบนสุดของประตูโตรณะทางทิศใต้ โดยช่างฝีมือของกษัตริย์ Satakarni กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สาตวาหนะ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://whc.unesco.org/en/list/524 มรดกโลก
ดูเพิ่ม[แก้]
- รายชื่อมรดกโลกทั่วโลก
- learningpune.com มหาสถูป "สาญจี"
- http://www.gotoknow.org ประวัติศาสตร์ศิลปะ : ศิลปะอินเดียสมัยสมัยราชวงศ์โมริยะ
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สถูปสาญจี |