ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก
หน้าตา
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก แสดงลำดับเหตุการณ์สำคัญที่ปรากฏในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280) ของประวัติศาสตร์จีน ในทางวิชาการ ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงระยะเวลาตั้งแต่การสถาปนาวุยก๊ก (ค.ศ. 220–266) ในปี ค.ศ. 220 จนถึงการพิชิตง่อก๊ก (ค.ศ. 229–280) โดย ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265–316) ในปี ค.ศ. 280 อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์จีนและคนทั่วไปจำนวนมากได้ขยายจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กกลับไปถึงเหตุการณ์กบฏโพกผ้าเหลืองซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 184 ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25–220)
ทศวรรษ 180
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
184 | ฤดูใบไม้ผลิ | กบฏโพกผ้าเหลือง: กบฏโพกผ้าเหลืองก่อความวุ่นวายทางภาคเหนือและตะวันออก แล้วถูกราชสำนักปราบปราม [1][2] |
ฤดูหนาว | กบฏเลียงจิ๋ว: เกิดกบฏขึ้นที่มณฑลเลียงจิ๋ว (เหลียงโจว; 涼州; ปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองอู่เวย์ มณฑลกานซู่)[1] | |
185 | พระราชวังหลวงเสียหายด้วยเหตุเพลิงไหม้ จึงมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมเพื่อบูรณะซ่อมแซม[1] | |
188 | มีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการมณฑลเพื่อรวมอำนาจการปกครองมณฑล[1] | |
189 | ฤดูร้อน | พระเจ้าเลนเต้สวรรคต พระมเหสีโฮเฮาและโฮจิ๋นพี่ชายยกหองจูเปียน (เล่าเปียน) ขึ้นเสวยราชย์ และจัดตั้งรัฐบาลผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน [1] |
ฤดูหนาว | สิบขันทีสังหารโฮจิ๋น ภายหลังสิบขันทีถูกกำจัดโดยอ้วนเสี้ยว[2] ตั๋งโต๊ะเข้าควบคุมเมืองหลวงลกเอี๋ยง ปลดหองจูเปียนและตั้งหองจูเหียบ (เล่าเหียบ) พระอนุชาต่างมารดาขึ้นเสวยราชย์แทนเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้[1] | |
189 | ศึกปราบตั๋งโต๊ะ: กองพันธมิตรต่อต้านตั๋งโต๊ะก่อตั้งขึ้นทางภาคตะวันออก นำโดยอ้วนเสี้ยว[1] |
ทศวรรษ 190
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
190 | การทัพปราบตั๋งโต๊ะ: กองพันธมิตรต่อต้านตั๋งโต๊ะก่อตั้งขึ้นทางภาคตะวันออก นำโดยอ้วนเสี้ยว[1] | |
ตั๋งโต๊ะเผาเมืองลกเอี๋ยง ปล้นสุสานหลวง แล้วย้ายเมืองหลวงไปเมืองเตียงฮัน [2] กองทัพพันธมิตรสลายตัว และขุนนางท้องถิ่นตั้งตนเป็นขุนศึก[1] | ||
191 | เตียวฬ่อก่อตั้งลัทธิในฮันต๋ง[1] | |
192 | อ้องอุ้นและลิโป้สังหารตั๋งโต๊ะ อ้องอุ้นถูกลิฉุยและกุยกีทหารของตั๋งโต๊ะสังหาร[1] | |
ซัวหยงเสียชีวิต[2] | ||
โจโฉครองมณฑลกุนจิ๋ว[1] | ||
195 | พระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จหนีจากเมืองเตียงฮัน[1] | |
ซุนเซ็กตั้งตนเป็นใหญ่ทางใต้ของแม่น้ำฉางเจียง (แม่น้ำแยงซี)[1] | ||
196 | พระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จย้ายไปประทับที่เมืองฮูโต๋ภายใต้การควบคุมของโจโฉ[1] | |
197 | การทัพปราบอ้วนสุด: อ้วนสุดตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิ แต่ถูกโจโฉตีจนถอยร่นลงใต้[1] | |
199 | ยุทธการที่อี้จิง: อ้วนเสี้ยวกำจัดกองซุนจ้านที่มณฑลอิวจิ๋ว[1] | |
อ้วนสุดเสียชีวิต[1] |
ทศวรรษ 200
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
200 | ยุทธการที่กัวต๋อ: อ้วนเสี้ยวพ่ายแพ้โจโฉที่กัวต๋อ (ปัจจุบันอยู่บริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอจงมู่ มณฑลเหอหนาน)[1] | |
ซุนเซ็กเสียชีวิต ซุนกวนน้องชายสืบทอดตำแหน่งแทน[1] | ||
เต้เหี้ยนเสียชีวิต[2] | ||
202 | อ้วนเสี้ยวเสียชีวิต อ้วนซงบุตรชายสืบทอดตำแหน่ง[1] | |
203 | โจโฉเริ่มการศึกเพื่อรวบรวมภาคเหนือของจีน[1] | |
207 | ยุทธการที่เขาเป๊กลงสาน: โจโฉปราบชนเผ่าออหวนและรวบรวมภาคเหนือของจีนเป็นปึกแผ่น[1] | |
208 | เล่าเปียวที่มณฑลเกงจิ๋ว โจโฉเข้ายึดครองเกงจิ๋ว[1] | |
ยุทธการที่ผาแดง: โจโฉพ่ายแพ้ให้ซุนกวนและเล่าปี่ที่เซ็กเพ็ก (ผาแดง) ในแม่น้ำฉางเจียง (ปัจจุบันอยู่บริเวณทางตะวันตกของเขตเจียงเซี่ย มณฑลหูเป่ย์) [1] |
ทศวรรษ 210
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
210 | เล่าปี่ยึดครองทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋ว[1] | |
211 | ยุทธการที่ด่านตงก๋วน: โจโฉชนะม้าเฉียวและหันซุย และเริ่มการศึกทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน[1] | |
การยึดเอ๊กจิ๋วของเล่าปี่: เล่าเจี้ยงเชิญเล่าปี่มายังมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและเมืองฉงชิ่ง)[1] | ||
214 | การยึดเอ๊กจิ๋วของเล่าปี่: เล่าปี่ยึดครองมณฑลเอ๊กจิ๋วจากเล่าเจี้ยง[1] | |
215 | ยุทธการที่เองเปงก๋วน: เตียวฬ่อยอมจำนนมอบเมืองฮันต๋งให้โจโฉ[1] | |
216 | โจโฉตั้งตนเองเป็นวุยอ๋อง[3] | |
219 | ฤดูใบไม้ผลิ | ยุทธการที่เขาเตงกุนสัน: เล่าปี่ปราบแฮหัวเอี๋ยนขุนพลของโจโฉและยึดครองฮันต๋ง[1] |
ฤดูใบไม้ร่วง | เล่าปี่ตั้งตนเองเป็นฮันต๋งอ๋อง[1] | |
ยุทธการที่อ้วนเซีย: กวนอูขุนพลของเล่าปี่โจมตีทางเหนือของมณฑลเกงจิ๋ว[1] | ||
ฤดูหนาว | การรุกรานเกงจิ๋วของลิบอง: ลิบองขุนพลของซุนกวนโจมตีกวนอูและเข้ายึดทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋ว [1] |
ทศวรรษ 220
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
220 | กวนอูถูกประหารชีวิตโดยซุนกวน[3] | |
ฤดูใบไม้ผลิ | โจโฉเสียชีวิตที่เมืองลกเอี๋ยง โจผีบุตรชายสืบทอดตำแหน่งแทน[1] | |
มีการริเริ่มระบบเก้าตำแหน่ง[3] | ||
ฤดูหนาว | โจผีบังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้สละราชสมบัติ แล้วสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุย เป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์ฮั่น[1] | |
221 | เล่าปี่สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น[3] | |
222 | ยุทธการที่อิเหลง: พระเจ้าเล่าปี่พ่ายแพ้ให้ลกซุนขุนพลของซุนกวน [3] | |
223 | พระเจ้าเล่าปี่สวรรคต เล่าเสี้ยนขึ้นครองราชย์[3] | |
225 | การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียง: จูกัดเหลียงพิชิตหนานจง[3] | |
226 | พระเจ้าโจผีสวรรคต โจยอยขึ้นครองราชย์[3] | |
228 | การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง: ม้าเจ๊กพ่ายแพ้ให้กับเตียวคับ[3] | |
229 | ซุนกวนสถาปนาตนเป็นป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ง่อที่เมืองเกี๋ยนเงียบ (หนานจิง) ง่อก๊กเข้าเป็นพันธมิตรกับจ๊กก๊ก[3] |
ทศวรรษ 230
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
230 | กองกำลังของง่อก๊กเดินทางไปยังเกาะที่มีชื่อว่าอี๋โจว (คาดว่าจะเป็นเกาะไต้หวันในปัจจุบัน) ทหารส่วนใหญ่เสียชีวิตที่เกาะ แต่ยังสามารถนำชนพื้นเมืองหลายพันคนกลับไปยังแผ่นดินจีนได้[4] | |
231 | การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง: จูกัดเหลียงยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง แต่จำต้องถอนทัพเพราะขาดเสบียง[3] | |
232 | โจสิดเสียชีวิต[3] | |
233 | ซุนกวนส่งทูตไปหากองซุนเอี๋ยนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ทูตกลับถูกจับมาฆ่าและศีรษะถูกส่งไปให้วุยก๊ก[3] | |
234 | ยุทธการที่ทุ่งราบอู่จั้ง: จูกัดเหลียงเสียชีวิตระหว่างการทำศึกครั้งสุดท้ายกับวุยก๊ก[5] | |
237 | กองซุนเอี๋ยนตั้งตนเองเป็นเอี้ยนอ๋อง[5] | |
238 | การบุกเลียวตั๋งของสุมาอี้: สุมาอี้สังหารกองซุนเอี๋ยนและผนวกดินแดนภายใต้การปกครองของกองซุนเอี๋ยน[5] | |
239 | พระเจ้าโจยอยสวรรคต โจฮองขึ้นครองราชย์ แต่อำนาจที่แท้จริงเป็นของสุมาอี้และโจซองที่เป็นผู้สำเร็จราชการร่วม[5] |
ทศวรรษ 240
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
245 | สงครามโคกูรยอ-วุยก๊ก: บู๊ขิวเขียมขุนพลของวุยก๊กชนะอาณาจักรโคกูรยอ ยึดได้เมืองกุงแน[6] | |
249 | สุมาอี้สังหารโจซองและโฮอั๋น[5] | |
หวังปี้เสียชีวิต[5] |
ทศวรรษ 250
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
251 | สุมาอี้เสียชีวิต สุมาสูบุตรชายสืบทอดตำแหน่งแทน[5] | |
วุยก๊กแบ่งเผ่าซฺยงหนูเป็นสองส่วนเพื่อบั่นทอนกำลัง[5] | ||
252 | สุมาสูได้รับตำแหน่งขุนพลใหญ่[5] | |
พระเจ้าซุนกวนสวรรคต ซุนเหลียงขึ้นครองราชย์ จูกัดเก๊กเป็นผู้สำเร็จราชการ[5] | ||
253 | ซุนจุ๋นสังหารจูกัดเก๊ก[5] | |
254 | สุมาสูปลดพระเจ้าโจฮองและสถาปนาโจมอขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน[5] | |
255 | สุมาสูเสียชีวิต สุมาเจียวน้องชายสืบทอดตำแหน่งแทน[5] | |
256 | ซุนจุ๋นเสียชีวิต[5] | |
อองซกเสียชีวิต[5] | ||
258 | พระเจ้าซุนเหลียงถูกปลดโดยซุนหลิม ซุนฮิวขึ้นครองราชย์แทน [5] ขันทีฮุยโฮเริ่มมีอำนาจในราชสำนักจ๊กก๊ก[5] | |
259 | กองทัพวุยก๊กพ่ายแพ้ให้กับอาณาจักรโคกูรยอที่ยังแม็งกก[7] |
ทศวรรษ 260
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
260 | สุมาเจียวปลงพระชนม์พระเจ้าโจมอและสถาปนาโจฮวนขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน[5] | |
262 | สุมาเจียวสังหารจีคัง[5] | |
263 | การพิชิตจ๊กก๊กของวุยก๊ก: พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมจำนนต่อสุมาเจียว เป็นการสิ้นสุดของจ๊กก๊ก[5] | |
264 | สุมาเจียวสถาปนาตนเองเป็นจิ้นอ๋อง[5] | |
พระเจ้าซุนฮิวสวรรคต ซุนโฮขึ้นครองราชย์[5] | ||
265 | สุมาเจียวเสียชีวิต สุมาเอี๋ยนสืบทอดตำแหน่งแทน[8] | |
266 | สุมาเอี๋ยนสถาปนาตนเป็นฮ่องเต้แห่งราชวงศ์จิ้น[8] |
ทศวรรษ 270
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
270 | เจียวจิ๋วเสียชีวิต[8] |
ทศวรรษ 280
[แก้]ปี (ค.ศ.) | ฤดู | เหตุการณ์ |
---|---|---|
280 | การพิชิตง่อก๊กของจิ้น: พระเจ้าซุนโฮยอมจำนนต่อราชวงศ์จิ้น เป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊ก[8] |
คลังภาพ
[แก้]-
มณฑลในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น
-
อาณาเขตของเหล่าขุนศึกในปี ค.ศ. 194
-
อาณาเขตของเหล่าขุนศึกในปี ค.ศ. 199
-
อาณาเขตของเหล่าขุนศึกในปี ค.ศ. 208
-
อาณาเขตของเหล่าขุนศึกในปี ค.ศ. 215
-
การบุกง่อก๊กของโจผี (ค.ศ. 222–225)
-
การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียง ในปี ค.ศ. 225
-
การบุกขึ้นเหนือครั้งแรกและครั้งที่สองของจูกัดเหลียง (ค.ศ. 228–229)
-
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สามของจูกัดเหลียง ในปี ค.ศ. 229
-
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สี่และครั้งที่ห้าของจูกัดเหลียง ในปี ค.ศ. 231 และ ค.ศ. 234
-
ประเทศจีนในปี ค.ศ. 262
-
สามก๊กในปี ค.ศ. 262
-
ประเทศจีนในปี ค.ศ. 266
-
การพิชิตง่อก๊กของจิ้น ในปี ค.ศ. 280
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26 1.27 1.28 1.29 1.30 1.31 1.32 1.33 1.34 1.35 Crespigny 2007, p. xxxi.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Xiong 2009, p. lxxxvii.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 Xiong 2009, p. lxxxviii.
- ↑ Knapp 1980, p. 5.
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 5.19 5.20 5.21 Xiong 2009, p. lxxxix.
- ↑ The Three Kingdoms and Western Jin A history of China in the Third Century AD, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2007, สืบค้นเมื่อ 23 April 2018
{{citation}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Shin 2014, p. 30.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Xiong 2009, p. xc.
บรรณานุกรม
[แก้]- Crespigny, Rafe (2007), A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23-220 AD), Brill
- Knapp, Ronald G. (1980), China's Island Frontier: Studies in the Historical Geography of Taiwan, The University of Hawaii
- Shin, Michael D. (2014), Korean History in Maps, Cambridge University Press
- Xiong, Victor Cunrui (2009), Historical Dictionary of Medieval China, United States of America: Scarecrow Press, Inc., ISBN 0810860538
ดูเพิ่ม
[แก้]