รายชื่อคณะเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนในสาขาเทคนิคการแพทย์ ต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาเทคนิคการแพทย์ถึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์

ประวัติ[แก้]

คณะเทคนิคการแพทย์ก่อตั้งขึ้นสืบเนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากรที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงต้องนำพยาบาลมาฝึกหัดการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแทน ซึ่งเป็นการใช้บุคลากรไม่ตรงตามสาขาวิชาที่เรียนมา ดังนั้น ทางคณะจึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อร่างหลักสูตรในการผลิตบุคลากรทางห้องปฏิบัติการ แต่โครงการต้องระงับไปเนื่องจากยังอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ในปี พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ขอความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID ในปัจจุบัน) โดยส่ง นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ และ นพ.เชวง เดชะไกศยะ ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคนิคการแพทย์ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี และได้เริ่มก่อสร้างโรงเรียนสำหรับผลิตเทคนิคการแพทย์ขึ้น 2 แห่ง ได้แก่ ที่คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง “โรงเรียนเทคนิคการแพทย์” สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2499[1] เมื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์มีการอนุมัติหลักสูตรเทคนิคการแพทย์แล้วเสร็จจึงมีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง "คณะเทคนิคการแพทย์" ขึ้นอย่างเป็นทางการในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2500[2] ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดีท่านแรก ซึ่งมีที่ทำการอยู่ 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยในระยะแรกนั้นคณะเทคนิคการแพทย์จัดการเรียนการสอนเพียงระดับอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.) เท่านั้น

ต่อมา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ปรับขยายหลักสูตรเทคนิคการแพทย์จากระดับอนุปริญญาเป็นระดับปริญญาตรีเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ซึ่งนับว่าเป็นการปรับหลักสูตรก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 ปี ในปี พ.ศ. 2514 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในส่วนที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้โอนมาเป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นสถาบันแห่งที่ 2 ที่เปิดการเรียนการสอนในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์[3] และมีการตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นแห่งที่ 3

นอกจากสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์แล้ว คณะเทคนิคการแพทย์บางแห่งยังจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์อื่น ๆ ด้วย เช่น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการเรียนการสอนสาขาวิชารังสีเทคนิคเพื่อผลิตบุคลากรด้านรังสีวิทยาขึ้นอีกสาขาเมื่อ พ.ศ. 2508, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชากิจกรรมบำบัด กายภาพบำบัด และรังสีเทคนิค เป็นต่น

ด้วยเหตุที่ชื่อคณะเทคนิคการแพทย์นั้นมีความจำเพาะกับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์เท่านั้น ในระยะหลังมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชารังสีเทคนิค จึงใช้ชื่อ "คณะสหเวชศาสตร์" มากขึ้น

รายชื่อ[แก้]

อักษรย่อ
คณะ มหาวิทยาลัย หลักสูตร การรับรองหลักสูตร
MT PT RT OT ND
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น    
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต  
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่        
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล    
คณะเทคนิคการแพทย์ a มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
คณะเทคนิคการแพทย์ a มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น  
คณะเทคนิคการแพทย์ a มหาวิทยาลัยเนชั่น MT รับรองหลักสูตรเป็นปีแรก พ.ศ. 2562
คณะสหเวชศาสตร์
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย        
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา    
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร      
คณะสหเวชศาสตร์ a มหาวิทยาลัยบูรพา    
สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์    
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  
คณะวิทยาศาสตร์ a มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  
คณะกายภาพบำบัด
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล    
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    
สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ
สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  
หมายเหตุ
  • หมายถึง ได้รับการรับรองแล้ว
  • a หมายถึง เห็นชอบให้จัดการเรียนการสอนและประเมินทุก 1 ปี การที่สภาเทคนิคการแพทย์ให้การรับรองสถาบันที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ โดยการติดตามและประเมินอย่างใกล้ชิดเพื่อความพร้อมในประเด็นต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่สภาเทคนิคการแพทย์กำหนด

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๔๙๙, เล่ม ๗๓, ตอน ๔๐ ก, ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๖๐๒
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๐, เล่ม๗๔, ตอน ๖๐ ก, ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐, หน้า ๑๑๔๓
  3. "ประวัติคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. รายชื่อสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ ที่สภาเทคนิคการแพทย์อนุมัติให้บัณฑิตขอขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2555[ลิงก์เสีย]