ทะไลลามะ
ทะไลลามะ | |
---|---|
การเรียกขาน | ฝ่าพระบาท |
วาระ | ตลอดพระชนม์ชีพ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | ทะไลลามะ องค์ที่หนึ่ง |
สถาปนา | พ.ศ. 1934 |
ทะไลลามะ[1] หรือ ตาแลลามา (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, ไวลี: Taa-la'i Bla-ma, พินอินทิเบต: Dalä Lama) หรือ ต๋าไล่หล่ามะ (ภาษาจีน: 达赖喇嘛, 達賴喇嘛, dálài lǎma) หรือ ดาไลลามะ[2] (อักษรโรมัน: Dalai Lama) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย далай (dalai) แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง
ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยราเจ็งรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด
ปัจจุบัน ทะไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ แต็นจิน กยาโช (พ.ศ. 2478 – ปัจจุบัน)
องค์ทะไลลามะ
[แก้]ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีองค์ทะไลลามะทั้งหมด 14 องค์แล้วดังนี้
ภาพ | พระนาม | ช่วงอายุ | ช่วงดำรงฐานะ | อักษรทิเบต | ระบบไวลี | พินอินทิเบต | สะกดแบบอื่น | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1. | ทะไลลามะ องค์ที่หนึ่ง เกตวิน ชุบ |
พ.ศ. 1934 – 2017 | ? [3] | དྒེ་འདུན་འགྲུབ་ | dge ‘dun ‘grub |
Gêdün Chub | Gedun Drub
Gedün Drup Gendun Drup | |
2. | ทะไลลามะ องค์ที่สอง เกตวิน กยาโช |
พ.ศ. 2018 – 2084 | ? [3] | དགེ་འདུན་རྒྱ་མཚོ་ | dge ‘dun rgya mtsho | Gêdün Gyaco | Gedün Gyatso Gendün Gyatso
Gendun Gyatso | |
3. | ทะไลลามะ องค์ที่สาม เซอนัม กยาโช |
พ.ศ. 2086 – 2131 | พ.ศ. 2121 – 2131 | བསོད་ནམས་རྒྱ་མཚོ་ | bsod nams rgya mtsho | Sönam Gyaco | Sönam Gyatso | |
4. | ทะไลลามะ องค์ที่สี่ เยินแต็น กยาโช |
พ.ศ. 2132 – 2159 | ? | ཡོན་ཏན་རྒྱ་མཚོ་ | yon tan rgya mtsho | Yöndän Gyaco | Yontan Gyatso
Yonten Gyatso | |
5. | ทะไลลามะ องค์ที่ห้า โลซัง กยาโช |
พ.ศ. 2160 – 2225 | พ.ศ. 2185 – 2225 | བློ་བཟང་རྒྱ་མཚོ་ | blo bzang rgya mtsho | Losang Gyaco | Lobzang Gyatso Lopsang Gyatso | |
6. | ทะไลลามะ องค์ที่หก ชังยัง กยาโช |
พ.ศ. 2226 – 2249 | ? – พ.ศ. 2249 | ཚང་དབྱངས་རྒྱ་མཚོ་ | tshang dbyangs rgya mtsho | Cangyang Gyaco | Tsangyang Gyatso | |
7. | ทะไลลามะ องค์ที่เจ็ด แกซัง กยาโช |
พ.ศ. 2251 – 2300 | 2294 – 2300 | བསྐལ་བཟང་རྒྱ་མཚོ་ | bskal bzang rgya mtsho | Gäsang Gyaco | Kelsang Gyatso Kalsang Gyatso | |
8. | ทะไลลามะ องค์ที่แปด ชัมเป กยาโช |
พ.ศ. 2301 – 2347 | พ.ศ. 2329 – 2347 | བྱམས་སྤེལ་རྒྱ་མཚོ་ | byams spel rgya mtsho | Qambê Gyaco | Jampel Gyatso Jampal Gyatso | |
9. | ทะไลลามะ องค์ที่เก้า ลุงตก กยาโช |
พ.ศ. 2349 – 2358 | พ.ศ. 2351 – 2358 [3] | ལུང་རྟོགས་རྒྱ་མཚོ་ | lung rtogs rgya mtsho | Lungdog Gyaco | Lungtog Gyatso | |
10. | ทะไลลามะ องค์ที่สิบ ชวีชิม กยาโช |
พ.ศ. 2359 – 2380 | ? | ཚུལ་ཁྲིམ་རྒྱ་མཚོ་ | tshul khrim rgya mtsho | Cüchim Gyaco | Tshültrim Gyatso | |
11. | ทะไลลามะ องค์ที่สิบเอ็ด แคชุบ กยาโช |
พ.ศ. 2381 – 2399 | พ.ศ. 2387 – 2399 | མཁས་གྲུབ་རྒྱ་མཚོ་ | mkhas grub rgya mtsho | Kächub Gyaco | Kedrub Gyatso | |
12. | ทะไลลามะ องค์ที่สิบสอง ชินแล กยาโช |
2400 – 2418 | ? | འཕྲིན་ལས་རྒྱ་མཚོ་ | ‘phrin las rgya mtsho | Chinlä Gyaco | Trinle Gyatso
Trinley Gyatso | |
13. | ทะไลลามะ องค์ที่สิบสาม ทุบแต็น กยาโช |
พ.ศ. 2419 – 2476 | พ.ศ. 2422 – 2476 | ཐུབ་བསྟན་རྒྱ་མཚོ་ | thub bstan rgya mtsho | Tubdän Gyaco | Thubtan Gyatso Thupten Gyatso | |
14. | ทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ แต็นจิน กยาโช |
พ.ศ. 2478 – ปัจจุบัน | พ.ศ. 2493 – ปัจจุบัน (อยู่นอกทิเบต) |
བསྟན་འཛིན་རྒྱ་མཚོ་ | bstan ‘dzin rgya mtsho | Dänzin Gyaco | Tenzin Gyatso |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (2016-09-06). "ไม่มีองค์ทะไลลามะองค์ที่ 15". มติชนสุดสัปดาห์. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
- ↑ "ภาพดาไลลามะในอิริยาบถส่วนพระองค์ที่หาชมได้ยาก". BBC. BBC. 2018-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 The title "Dalai Lama" was conferred posthumously to the first and second Dalai Lamas. The 9th Dalai Lama was officially enthroned but never reigned.