ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคารกรุงศรีอยุธยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ CHACHAWAN INTRARAM KRUNGSANTHIA (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 2405:9800:B970:28E9:FDCE:7633:5ABC:2797
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
{{ข้อมูลบริษัท
| ชื่อ = ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
| โลโก้ = krungsri-logo.png
| ประเภท = [[บริษัท|บริษัทมหาชน]] {{SET|BAY}}
| รูปแบบ = ธนาคารพาณิชย์
| ก่อตั้ง = 27 มกราคม พ.ศ. 2488 ({{Age|1945|1|27}} ปี)
| ที่ตั้ง = เลขที่ 1222 [[ถนนพระรามที่ 3]]<br/>แขวงบางโพงพาง [[เขตยานนาวา]]<br/>[[กรุงเทพมหานคร]]
| จำนวนที่ตั้ง = {{bulleted list
| บริการทางการเงินตามปกติ<br/>620 สาขา
| บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์<br/>37 สาขา
}}
| บุคลากรหลัก = {{bulleted list
| [[เซอิจิโระ อาคิตะ]]<br/><small>[[กรรมการผู้จัดการใหญ่]]<br/>และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร</small>
| [[การุณ กิตติสถาพร]]<br/><small>ประธานกรรมการ</small>
}}
| บริการ = สถาบันการเงิน
| owner = [[ธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ]]
| รายได้ = {{รายได้ กำไร}} 111,839.72 ล้านบาท <small>(2559)</small> <ref>http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=BAY&language=th&country=TH</ref>
| เงินได้สุทธิ = {{รายได้ กำไร}} 21,404.03 ล้านบาท <small>(2559)</small> <ref>http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=BAY&language=th&country=TH</ref>
| สินทรัพย์ = {{รายได้ กำไร}} 1,883,188.20 ล้านบาท <small>(2559)</small> <ref>http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=BAY&language=th&country=TH</ref>
| จำนวนพนักงาน = 20,756 คน <small>(2557) (รวมทั้งเครือ)</small>
| คำขวัญ = เรื่องเงิน เรื่องง่าย
| เว็บไซต์ = [http://www.krungsri.com www.krungsri.com]
| intl =
}}

'''ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ''' ({{lang-en|Bank of Ayudhya Public Company Limited}} ชื่อย่อ: BAY)<ref>[http://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=BAY&language=en&country=US สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย</ref> เป็น[[ธนาคารของประเทศไทย]] ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2488 มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกที่[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] ซึ่งเป็นอาณาจักรเก่าในประเทศไทย เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ต่อจากนั้นได้ก่อตั้งสำนักงานใน[[กรุงเทพมหานคร]] ณ [[ถนนราชวงศ์]] และย้ายสำนักงานใหญ่มาตั้งอยู่ที่[[ถนนอนุวงศ์]] และ[[ถนนลำพูนไชย]]ในปี พ.ศ. 2491 และ พ.ศ. 2493 ตามลำดับ

วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ธนาคารได้รับตรา[[ครุฑ]]มาประดิษฐาน ณ ธนาคาร ในปีเดียวกันได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่[[ถนนเพลินจิต]] ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ธนาคารได้จดทะเบียนใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2536 ธนาคารได้แปรสภาพเป็น[[บริษัทจำกัดมหาชน]]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่[[ถนนพระรามที่ 3]] เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 และใช้สำนักงานที่ถนนพระรามที่ 3 มาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 จีอี แคปปิตอล ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเพื่อรายย่อยชั้นนำของโลกได้บรรลุข้อตกลงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยปัจจุบัน จีอี แคปปิตอล และกลุ่มรัตนรักษ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารในสัดส่วนร้อยละ 33 และร้อยละ 25 ตามลำดับ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 กลุ่มจีอีประกาศขายหุ้นที่ถืออยู่ในกรุงศรีร้อยละ 7.60 โดยเป็นการขายในตลาดหลักทรัพย์แบบเจาะจง ส่งผลให้กลุ่มจีอี แคปปิตอลมีสัดส่วนการถือหุ้นเหลือร้อยละ 25.33

วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 [[ธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ]] จำกัด (The Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ, Ltd: BTMU) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่มีผู้ถือหุ้น 100% คือกลุ่มมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (Mitsubishi UFJFinancial Group:MUFG) กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงินมากที่สุดในโลก ได้เป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับกลุ่มรัตนรักษ์แทนที่กลุ่มจีอี

ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศประจำปี 2560<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/235/38.PDF</ref>ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2560

== ขอบข่ายการบริการ ==
== ขอบข่ายการบริการ ==



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:57, 11 เมษายน 2563

ขอบข่ายการบริการ

  • เครือข่ายสาขาภายในประเทศ จำนวน 657 แห่ง

(เครือข่ายสาขาภายในประเทศ 657 แห่ง เป็นสาขาที่ให้บริการทางการเงินในรูปแบบปกติ 620 สาขาและสาขาที่ให้บริการเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 37 สาขา)

  • เครือข่ายสาขาต่างประเทศ จำนวน 3 แห่ง
  • สำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวน 90 บูธ
  • เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ จำนวน 5,311 เครื่อง
  • ศูนย์ธุรกิจกรุงศรี จำนวน 55 แห่ง
  • ศูนย์บริการ Krungsri Exclusive จำนวน 19 แห่ง
  • ศูนย์บริการกรุงศรีเฟิร์สชอยส์ 98 สาขา + 14,346 ตัวแทนจำหน่าย
  • กรุงศรี ออโต้ 7,064 ผู้จำหน่ายรถยนต์
  • สาขาซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด 357 แห่ง
ณ มิถุนายน พ.ศ. 2558

เหตุการณ์สำคัญ

  • เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2550 จีอี มันนี่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเพื่อรายย่อยชั้นนำของโลกได้บรรลุข้อตกลงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจและความเชื่อมั่นในธนาคารฯ โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับการผสานความสามารถทางธุรกิจของสององค์กร เพื่อให้ธนาคารฯ เป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจรชั้นนำของประเทศไทย
  • 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ธนาคารฯ เข้าซื้อกิจการบริษัท จีอี แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) (GECAL) เสร็จสมบูรณ์ โดย ณ วันโอนกิจการ GECAL มีสินทรัพย์รวม 78,010 ล้านบาท และเงินให้สินเชื่อสุทธิรวม 75,283 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้พอร์ตสินเชื่อของธนาคารฯ เติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 17 ณ วันโอนกิจการ และต่อมา GECAL เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) (AYCAL)
  • 8 เมษายน พ.ศ. 2552 ธนาคารฯ ดำเนินการเข้าซื้อหุ้นธนาคาร เอไอจี เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) (AIGRB) และบริษัท เอไอจี คาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (AIGCC) เสร็จสมบูรณ์ ในราคารวม 1,605 ล้านบาท โดยทำให้ธนาคารฯ มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นประมาณ 32,800 ล้านบาท มีฐานสินเชื่อเพิ่มขึ้น 21,900 ล้านบาท เงินฝากเพิ่มขึ้น 18,600 ล้านบาท และมีจำนวนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นประมาณ 222,000 บัตร
  • 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ธนาคารฯ เข้าซื้อกิจการบริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิสเซส จำกัด (CFGS) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ จำกัด เสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ CFGS เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการไมโครไฟแนนซ์โดยเฉพาะสินเชื่อที่ใช้ทะเบียนรถเป็นหลักประกัน มีเครือข่ายสาขากว่า 163 แห่งทั่วประเทศ และเป็นที่รู้จักกันดีในนาม "เงินติดล้อ"
  • 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ธนาคารฯ เข้าซื้อธุรกิจการเงินเพื่อผู้บริโภคของจีอี แคปปิตอล ในประเทศไทย เสร็จสมบูรณ์ การเข้าซื้อครั้งนี้ทำให้ธุรกิจการเงินเพื่อลูกค้ารายย่อยของธนาคารกรุงศรีอยุธยาเติบโตเร็วขึ้น และทำให้สัดส่วนสินเชื่อรายย่อยของธนาคารเพิ่มขึ้นจาก 36% เป็น 42% ของสินเชื่อรวม และจะส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของธนาคารเพิ่มขึ้น ด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และความหลากหลายยิ่งขึ้นในบริการหลักของธุรกิจการเงินเพื่อลูกค้ารายย่อยของธนาคาร การผนวกธุรกิจของจีอี มันนี่ ประเทศไทย เข้ากับธนาคาร ทำให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยากลายเป็นผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวนบัตรหมุนเวียนในระบบมากกว่า 3 ล้านใบ และให้บริการลูกค้ากว่า 8 ล้านราย
  • ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ธนาคารกรุงศรีอยุธยารับโอนธุรกิจลูกค้ารายย่อยของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (HSBC) ซึ่งประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัย และธุรกิจเงินฝาก มูลค่าของสินทรัพย์สุทธิประมาณ 3.6 พันล้านบาท ส่งผลให้สินทรัพย์ของกรุงศรีเพิ่มขึ้นจำนวน 17.5 พันล้านบาทหรือเติบโตร้อยละ 1.8 และทำให้สัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นจากระดับ ร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 46 ของสินเชื่อรวม
  • 5 มกราคม พ.ศ. 2558 ธนาคารประสบความสำเร็จในการดำเนินการควบรวมกิจการของธนาคารและบีทีเอ็มยู (BTMU) สาขากรุงเทพฯ ตามนโยบายสถาบีนการเงิน 1 รูปแบบของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ กรุงศรีได้จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,281,618,026 หุ้นให้แก่บีทีเอ็มยูเพื่อแลกกับการควบรวมกิจการของบีทีเอ็มยูสาขากรุงเทพฯ
  • 22 เมษายน 2558 กรุงศรีเปิดสำนักงานผู้แทน ณ เมืองย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยมุ่งสนับสนุนลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และลูกค้าธุรกิจ SME ของกรุงศรี เพื่อแสวงหาโอกาสด้านการค้าและการลงทุนในเมียนมาร์
  • 13 กันยายน 2559 กรุงศรีเข้าซื้อ Hattha Kakser Limited ธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ชั้นนำในกัมพูชา เข้าเป็นบริษัทย่อยของธนาคารการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จครั้งสำคัญของกลยุทธ์การขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศและโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของกรุงศรีในธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยและไมโครไฟแนนซ์
  • 27 มีนาคม 2560 กรุงศรีจัดตั้งบริษัทย่อยใหม่ชื่อ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ประกอบธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) ภายใต้ขอบเขตและหลักเกณฑ์การกำกับธุรกิจเงินร่วมลงทุน ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้
  • 27 กันยายน 2560 กรุงศรีได้รับการคัดเลือกจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Bank: D-SIB) โดยประเมินจากขนาดสินทรัพย์ ความเชื่อมโยงและบทบาทของกรุงศรีที่มีต่อเสถียรภาพและพัฒนาการของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย

บริษัทในเครือและบริษัทที่เกี่ยวข้อง

ชื่อบริษัท ธนาคารถือหุ้น %
บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
บริษัท อยุธยาคาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด (AYCS) * 99.99%
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด (AYCAP) 99.99%
บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด (GCS) 99.99%
บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด (KCC) 99.99%
บริษัท เทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด (TCS) 50.00%
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และเช่าซื้อ
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) (AYCAL) 99.99%
บริษัท กรุงศรี บริการเช่าสินเชื่อ จำกัด (KLS) 70.00%
ไมโครไฟแนนซ์
บริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด (CFGS) 99.99%
บริการติดตามทวงถามหนี้
บริษัท โทเทิล เซอร์วิสเซส โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (TSS) 99.99%
จัดการกองทุน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (KSAM) 76.59%
บริหารสินทรัพย์
บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงศรีอยุธยา จำกัด (KAMC) 99.99%
หลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) 98.71%
ซื้อสิทธิเรียกรัองลูกหนี้
บริษัทกรุงศรี แฟ็กเตอริง จำกัด (KSF) 99.99%
ลีสซิ่ง
บริษัท อยุธยา ดีเวลลอปเม้นท์ ลีสซิ่ง จำกัด (ADLC) 99.99%
สนับสนุน
บริษัท สยามเรียลตี้แอนด์เซอร์วิส จำกัด (SRS) 99.99%
นายหน้าประกันชีวิต
บริษัท กรุงศรี ไลฟ์ แอสชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด (KLAB) 99.99%
บริษัท เทสโก้ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด (TLAB) 50.00%
นายหน้าประกันวินาศภัย
บริษัท กรุงศรี เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด (KGIB) 99.99%
บริษัท เทสโก้ เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด (TGIB) 50.00%
* บริษัทอยู่ระหว่างชำระบัญชีเพื่อเลิกบริการ

รางวัล

ปี พ.ศ. 2556 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รางวัล "Advertising Campaign of the Year" จาก Asian Banking and Finance Awards ประจำปี 2013 ซึ่งมอบให้กับการรณรงค์โฆษณาเงินฝาก ออมทรัพย์มีแต่ได้ ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ผลิตภัณฑ์เงินฝากดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างสูง ธนาคารสามารถระดมเงินได้ถึง 112,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน
ปี พ.ศ. 2556 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รางวัล "Online Banking Initiative of the Year" จาก Asian Banking and Finance Awards 2013 ซึ่งมอบให้กับ Krungsri Mobile Application
ปี พ.ศ. 2556 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา "รางวัลสุดยอดองค์กรที่น่าทำงานแห่งปี 2556" (2013 Gallup Great Workplace Award) จาก Gallup บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ในฐานะที่ธนาคารให้ความสำคัญกับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยกรุงศรีเป็นองค์กรเดียวจากไทยที่ได้รับรางวัลดังกล่าวในปี พ.ศ. 2556 จากทั้งหมด 32 องค์กรชั้นนำทั่วโลก
ปี พ.ศ. 2556 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รางวัล "the Best CFO Award (Investor Relations)" จาก Corporate Governance Asia นิตยสารด้านการกำกับดูแลกิจการที่ได้รับการยอมรับในเอเชีย โดยรางวัลดังกล่าวเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสามารถและผลงานในฐานะที่นางเจนิส แวน เอ็กเคอเรน เป็นประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงินของธนาคาร
ปี พ.ศ. 2556 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รางวัล "BPA (Banking & Payments Asia) Trailblazer Award 2013" ประเภท Product Excellence in Payment Innovation ในฐานะที่กรุงศรีได้พัฒนาเทคโนโลยีการชำระเงินกรุงศรี ควิก เพย์ ออกสู่ตลาดเป็นรายแรก ซึ่งสามารถเปลี่ยนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตให้เป็นจุดชำระเงินทุกที่ทุกเวลา (Mobile Point of Sale – mPOS) โดยรางวัลดังกล่าวมอบให้กับสถาบันการเงินที่มีความโดดเด่นในการขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมทั้งในด้านผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน
ปี พ.ศ. 2556 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รางวัล "Excellence in Mobile Banking" จากงาน Financial Insights Innovation Award 2013 ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบัน IDC Financial Insights ในฐานะที่ Krungsri Mobile Application เป็นแอปพลิเคชันในรูปแบบที่ครอบคลุมการใช้งานทุกประเภท ทั้งในด้านรูปแบบชีวิตและด้านบริการทางการเงินจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของกรุงศรีกรุ๊ป
ปี พ.ศ. 2556 กรุงศรี ออโต้ รางวัล Thailand Most Admired Brand 2013 จากนิตยสาร BrandAge
ปี พ.ศ. 2555 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รางวัล "The Corporate Governance Asia Annual Recognition Awards" จากนิตยสาร Corporate Governance Asia ในฐานะองค์กรที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับภูมิภาคเอเชีย
ปี พ.ศ. 2554–2555 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา "รางวัลรายงานบรรษัทภิบาลดีเยี่ยม" (Top Corporate Governance Report) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2 ปีติดต่อกัน ในฐานะบริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้านรายงานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการ
ปี พ.ศ. 2555 ซีเอฟจี เซอร์วิส รางวัล "Bank of the Year Award – Financial Inclusion 2012 Award" จากนิตยสาร The Banker ในฐานะที่ เงินติดล้อ มีความเป็นเลิศด้านการพัฒนากลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างต่อเนื่อง
ปี พ.ศ. 2555 ซีเอฟจี เซอร์วิส รางวัล "2012 Brand Conqueror" จากนิตยสาร BrandAge ในฐานะที่ เงินติดล้อ เป็นชื่อธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่น และมีการกำหนดกลยุทธ์การตลาดและสื่อสารการตลาดได้อย่างยอดเยี่ยม
ปี พ.ศ. 2554–2555 กรุงศรี ออโต้ รางวัล "Superbrands Thailand" ถึง 2 ปีติดต่อกันในฐานะที่มีความโดดเด่นในเรื่องของคุณภาพของชื่อธุรกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อธุรกิจกับผู้บริโภค และบุคลิกของธุรกิจ

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ข้อมูล ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562[1]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 MUFG BANK,LTD. BAY ACCOUNT 5,655,332,146 76.88%
2 บริษัท สตรองโฮลด์ แอสเซ็ทส์ จำกัด 166,536,980 2.26%
3 บริษัท ทุนมหาโชค จำกัด 166,478,940 2.26%
4 บริษัท จี แอล แอสเซทส์ จำกัด 166,414,640 2.26%
5 บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด 166,151,114 2.26%

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น