เจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าจอมมารดาศิลา
เกิดไม่ปรากฏ
เสียชีวิตไม่ปรากฏ
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บุตร
บุพการี
  • ไม่ทราบนาม (บิดา)
  • ขรัวยายฟักทอง (มารดา)

เจ้าจอมมารดาศิลา เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ประวัติ[แก้]

เจ้าจอมมารดาศิลาเกิดในสมัยกรุงธนบุรี เป็นธิดาของขรัวยายฟักทอง ซึ่งเป็นราชินิกุลบางช้าง (ราชินิกุลอันเป็นพระญาติวงศ์ในสมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 2)

ขรัวยายฟักทองมารดาของเจ้าจอมมารดาศิลานั้นเป็นธิดาของขุนสนิทภิรมย์ กับท่านยายเชียง ซึ่งขุนสนิทภิรมย์นั้นเป็นบุตรชายท่านยายเจ้ามุก ส่วนท่านยายเชียงนั้นเป็นธิดาของท่านตาเจ้าแทน

ท่านตาเจ้าแทนและท่านยายเจ้ามุกเป็นพี่ยาและพี่นางของพระชนกทอง ณ บางช้าง พระชนกของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 1)

เจ้าจอมมารดาศิลาจึงเป็นพระญาติสนิทของสมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

เจ้าจอมมารดาศิลารับราชการเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร

ท่านเป็นต้นตำรับเพลงร้องแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเล่ากันต่อๆมาว่า เวลาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครต่าง ๆ โดยมี กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรส (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ท่านสุนทรภู่ ฯลฯ เป็นผู้ร่วมงานกวีนิพนธ์นั้น เมื่อแต่งเป็นกลอนเสร็จก็จะมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าจอมมารดาศิลา เป็นผู้บรรจุเพลงขับร้องถวายเป็นการทดลองก่อน ในขณะเดียวกันก็โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระฉายขนาดใหญ่ขึ้น แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพนมวัน พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลาทรงประดิษฐ์ท่ารำไปพร้อมกัน โดยทรงรำอยู่หน้าพระฉาย หากเพลงและกระบวนรำเข้ากันดีแล้ว ก็โปรด ฯ ให้บันทึกไว้นับเป็นแบบอย่างการแต่งบทละครที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งเริ่มต้นในรัชกาลที่ ๒ ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า เจ้าจอมมารดาศิลา ได้เรียนการขับร้องมาจากครูท่านใด แต่เมื่อทราบว่าเป็นชาวบางช้าง อันเป็นเมืองแห่งนักดนตรีแล้วก็เชื่อได้ว่า คงจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในเพลงการมาตามแนวของบรรพบุรุษอย่างแน่นอน ศิษย์ของท่านคือ หม่อมศิลา และหม่อมเปรม ในพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ ทางขับร้องของเจ้าจอมมารดาศิลาตกทอดผ่านหม่อมศิลาผู้เป็นหลานสะใภ้ของท่านลงมายังนักร้องทุกคนในวังบ้านหม้อ อันได้แก่ หม่อมเจริญ หม่อมมาลัย หม่อมจันทร์ หม่อมคร้าม ฯลฯ ซึ่งเป็นหม่อมของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้ากรมมหรสพในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเหลนของคุณจอมมารดานั่นเอง

เจ้าจอมมารดาศิลาถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ 3

พระราชบุตร[แก้]

มีพระราชโอรส 3 พระองค์ พระราชธิดา 2 พระองค์ ตามลำดับพระชนมายุคือ

อ้างอิง[แก้]

  • หอสมุดและดลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล Card Screen [1]
  • รายงานการวิจัย เรื่องคีตศิลปินไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ หน้า 14 [2] เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • บทความ เวียงวัง ตอนที่ 60 : คำนำหน้าพระนาม [3]