พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤตใน ค.ศ. 1959
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
ครองราชย์2 มีนาคม ค.ศ. 1955 – 3 เมษายน ค.ศ. 1960
ราชาภิเษก5 มีนาคม ค.ศ. 1955
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
(ครองราชย์ครั้งแรก)
ถัดไปพระนโรดม สีหนุ
ในฐานะประมุขแห่งรัฐกัมพูชา
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ6 มีนาคม ค.ศ. 1896(1896-03-06)
พนมเปญ กุมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส
สวรรคต3 เมษายน ค.ศ. 1960(1960-04-03) (64 ปี)
พระราชวังเขมรินทร์ พนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
คู่อภิเษกพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิริวัฒนา (อภิเษก 1920 ตัวพระองค์สวรรคต 1960)
พระราชบุตรพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระองค์เจ้านโรดม วิชรา
สมเด็จกรมขุนนโรดม สิริวุธ
พระองค์เจ้านโรดม ปรียาโสภณ
พระนามเต็ม
พระบาทสมเด็จพระนโรดม​สุรามฤต วิสุทธมหาขัตติยวงศ์ วิสิษฐ​หริพงศ์ คุณาดิเรก​ธรรมจริโยดม บรมบพิตร พระเจ้าพระราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นเจ้าชีวิตอยู่หัว
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
(สายราชสกุลนโรดม)
พระราชบิดาสมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส
พระราชมารดาพระองค์เจ้านโรดม พงางาม
ศาสนาพุทธ

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต (เขมร: នរោត្តម សុរាម្រិត, Nôroŭttâm Sŏréamrĭt; 6 มีนาคม ค.ศ. 1896 – 3 เมษายน ค.ศ. 1960) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 113 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชายุคใหม่พระองค์ที่ 4 นับตั้งแต่กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

พระราชประวัติ[แก้]

พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชายุคใหม่
สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 1)
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 2)
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต ทรงมีพระนามโดยพิสดารว่า พระบาทสมเด็จพระนโรดม​สุรามฤต วิสุทธมหาขัตติยวงศ์ วิสิษฐ​หริพงศ์ คุณาดิเรก​ธรรมจริโยดม บรมบพิตร พระเจ้าพระราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นเจ้าชีวิตอยู่หัว [1] เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2439 มีพระนามเดิมคือ นักองมจะ (หม่อมเจ้า) นโรดม สุรามฤต[2] พระโอรสของสมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส (ค.ศ. 1872 - 1945) กับพระองค์เจ้านโรดม พงางาม (ค.ศ. 1874 - 1944)[3] เป็นพระภาติยะ (ลูกพี่ชาย) [4] และพระชามาดา (ลูกเขย) ของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กษัตริย์แห่งกัมพูชาสมัยใหม่พระองค์ที่ 3

ทรงอภิเษกสมรสกับพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิริวัฒนา พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2463 มีพระราชโอรสองค์สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาสมัยใหม่พระองค์ที่ 4

เหตุการณ์ในรัชสมัย[แก้]

วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
พระพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชอาณาจักรกัมพูชา สมัยสังคมราษฎรนิยม (ภาษาเขมร ตอนที่ 1) ที่ยูทูบ}
พระพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชอาณาจักรกัมพูชา สมัยสังคมราษฎรนิยม (ภาษาเขมร ตอนที่ 2) ที่ยูทูบ}
พระพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชอาณาจักรกัมพูชา สมัยสังคมราษฎรนิยม (ภาษาเขมร ตอนที่ 3) ที่ยูทูบ}

หลังกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2496 สมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ได้สละราชสมบัติเพื่อลงเล่นการเมืองและสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (ภายใต้สังกัดพรรคสังคมราษฎร์นิยมของพระองค์เอง) ทำให้กัมพูชาเข้าสู่ยุคการปกครองโดยสังคมราษฎรนิยมในที่สุด พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤตจึงทรงได้รับอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมี่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2498 และทรงอยู่ในราชสมบัติตราบจนเสด็จสวรรคตเมี่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2503 ภายหลังการเสด็จสวรรคต ทรงได้รับการถวายพระนามว่า "พระมหากาญจนโกศ"

ในระหว่างที่พระองค์ทรงครองราชย์นั้นราชอาณาจักรกัมพูชามีปัญหาคดีปราสาทพระวิหารกับไทย ทำให้พระองค์ได้ทรงตรัสบริภาษประเทศไทยให้พระสีหนุทรงฟังหลายครั้ง

อนึ่ง ก่อนพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต จะทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง "นครราช" เป็นเพลงชาติของกัมพูชา ร่วมกับครูเพลงชาวฝรั่งเศสอีก 2 คน[5][6] เพลงนครราชนี้ได้รับทำนองที่คล้ายกับเพลงชาติญี่ปุ่น "คิมิงะโยะ" และได้รับการบรรเลงในโอกาสสำคัญ 2 ครั้งได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจนถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระองค์

พระบรมราชานุสรณ์[แก้]

รางวัลและเครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศ[แก้]

ลาว พ.ศ. 2498 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว
 สหภาพโซเวียต พ.ศ. 2499 เครื่องอิสริยาภรณ์ซูโวรอฟ ชั้นที่ 1
 เช็กเกีย พ.ศ. 2499 เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว ชั้นที่ 1
 ฝรั่งเศส ไม่ทราบปี เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นประถมาภรณ์
 ไทย ไม่ทราบปี เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ฝ่ายหน้า)
 ญี่ปุ่น ไม่ทราบปี เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ชั้นสังวาลย์
เวียดนาม ไม่ทราบปี เครื่องราชอิสริยาภรณ์มังกรแห่งอันนัม ชั้นประถมาภรณ์
รัฐเวียดนาม ไม่ทราบปี เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นประถมาภรณ์
 พม่า ไม่ทราบปี เครื่องอิสริยาภรณ์สิริสุธรรมะ ชั้นอัคคมหาสิริสุธัมมะ

พระราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ព្រះ​នរោត្តម​សុរាម្រិត វិសុទ្ធ​មហា​ខត្តិ​វង្ស វិសិដ្ឋ​ហរិ​ពង្ស គុណាតិរេក​ធម្មចរិយោត្តម បរម​បពិត្រ ព្រះ​ចៅ​ព្រះ​រាជ​អាណាចក្រ​កម្ពុជា ជា​ម្ចាស់​ជីវិត​លើ​ត្បូង។ (ถอดเป็นอักษรไทยว่า พฺระ​บาท​สมฺเตจพฺระ​นโรตฺตม​สุรามฺริต วิสุทฺธ​มหา​ขตฺติ​วงฺส วิสิฎฺฐ​หริ​พงฺส คุณาติเรก​ธมฺมจริโยตฺตม บรม​บพิตฺร พฺระ​เจา​พฺระ​ราช​อาณาจกฺร​กมฺพุชา ชา​มฺจาส̍​ชีวิต​เลิ​ตฺบูงฯ)
  2. ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 75
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  4. สมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส เป็นพระราชโอรสของ พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร (นักองค์ราชาวดี) กษัตริย์องค์ที่ 2 กับเจ้าจอมเอี่ยมบุษบา (สกุลเดิม อภัยวงศ์) ทำให้สมเด็จพระนโรดทสุรามฤตทรงเป็นพระญาติชั้นเดียวกันกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 ของสยาม โดยทั้งสองพระองค์มีคุณทวดคนเดียวกัน คือ พระสุพรรณพิศาล (กอง อภัยวงศ์) , ส่วนพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เป็นพระราชโอรสของ พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์) กษัตริย์องค์ที่ 3 ซึ่งเป็นพระอนุชา
  5. ธิบดี บัวคำศรี. ความเป็นมาของบท "โนกอร์เรียช" เพลงชาติเขมร : การศึกษาเบื้องต้น ใน วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 2 (1 ม.ค.-เม.ย. 2549).
  6. ศานติ ภักดีคำ. เพลงชาติกัมพูชา ความแตกต่างทางการเมือง ในจุดร่วมแห่งอดีตที่รุ่งเรืองของ "พระนคร เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 25 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2547
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
(ทรงสละราชสมบัติ)

พระมหากษัตริย์กัมพูชา
(ราชสกุลนโรดม)

(3 มีนาคม พ.ศ. 2498 - 3 เมษายน พ.ศ. 2503)
พระนโรดม สีหนุ
ในฐานะประมุขแห่งรัฐ