สำนักงานสอบสวนกลาง
สำนักงานสอบสวนกลาง | |
---|---|
ตราโล่เจ้าหน้าที่พิเศษสำนักงาน | |
ธงสำนักงาน | |
อักษรย่อ | FBI |
คำขวัญ | เที่ยงตรง กล้าหาญ ซื่อสัตย์ |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 26 กรกฎาคม 1908สำนักงานสอบสวน) | (ในฐานะ
เจ้าหน้าที่ | 35,104 คน[1] (31 ตุลาคม ค.ศ. 2014) |
งบประมาณรายปี | 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปีงบประมาณ 2562)[2] |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
หน่วยงานรัฐบาลกลาง | สหรัฐอเมริกา |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | สหรัฐอเมริกา |
ลักษณะทั่วไป | |
สำนักงานใหญ่ | อาคารเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ |
38°53′43″N 77°01′30″W / 38.8952°N 77.0251°W | |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
เว็บไซต์ | |
fbi |
สำนักงานสอบสวนกลาง[3] ย่อว่า เอฟบีไอ (อังกฤษ: Federal Bureau of Investigation: FBI) เป็นหน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในของสหรัฐ และเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับกลางของสหรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ภายในเขตอำนาจของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ทั้งเป็นสมาชิกของประชาคมข่าวกรองสหรัฐ รายงานตรงต่อทั้งอัยการสูงสุดสหรัฐและผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ[4] อนึ่ง เอฟบีไอยังเป็นองค์การหลักของสหรัฐในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม โดยมีเขตอำนาจเหนือการละเมิดกฎหมายในกลุ่มอาชญากรรมกลางกว่า 200 กลุ่ม[5][6]
แม้ว่าหน้าที่หลายอย่างของเอฟบีไอจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ กิจกรรมของเอฟบีไอในการสนับสนุนงานด้านความมั่นคงแห่งชาตินั้นเทียบได้กับบทบาทของหน่วยงานเอ็มไอไฟฟ์ (MI5) ของบริเตน และเอฟเอสบี (FSB) ของรัสเซีย แต่ไม่เหมือนกับสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) เพราะซีไอเอไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และเน้นการรวบรวมข่าวกรองจากต่างประเทศ ขณะที่เอฟบีไอเป็นหน่วยงานภายในประเทศ โดยมีสำนักงานภาคสนาม (field office) 56 แห่งในนครหลักทั่วสหรัฐ ทั้งสำนักงานประจำ (resident office) อีก 400 แห่งในนครเล็กและท้องที่อื่นทั่วประเทศ ที่สำนักงานภาคสนาม เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจะทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติไปพร้อมกันด้วย[7][8]
แม้จะเน้นเรื่องภายในประเทศ เอฟบีไอก็ยังมีเขตบริการระหว่างประเทศ (international footprint) ที่สำคัญอยู่หนึ่งเขต ทำหน้าที่บริหารสำนักงานนิติกรทูต (Legal Attache office) 60 แห่ง กับสำนักงานย่อย (sub-office) อีก 15 แห่ง ซึ่งอยู่ในสถานทูตและกงสุลสหรัฐทั่วโลก สำนักงานต่างแดนเหล่านี้มีขึ้นเพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการด้านความมั่นคงในต่างประเทศเป็นหลัก และโดยปรกติแล้วจะไม่ปฏิบัติการฝ่ายเดียวภายในประเทศที่ตั้งสำนักงาน[9] อนึ่ง เอฟบีไอยังสามารถดำเนินกิจกรรมลับในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติในบางครั้ง[10] ในทำนองเดียวกับที่ซีไอเอมีหน้าที่จำกัดในประเทศ กิจกรรมดังกล่าวโดยทั่วไปแล้วต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน
เอฟบีไอก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2451 ในฐานะ สำนักงานสอบสวน ซึ่งย่อว่าบีโอไอ หรือบีไอ และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสอบสวนกลาง ย่อว่า เอฟบีไอ ใน พ.ศ. 2478 สำนักงานใหญ่เอฟบีไออยู่ที่อาคารเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ในวอชิงตัน ดี.ซี.
งบประมาณ ภารกิจ และลำดับความสำคัญ
[แก้]ในปีงบประมาณ 2562 งบประมาณรวมของสำนักงานมีประมาณ 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เป้าหมายหลักของเอฟบีไอคือปกป้องและป้องกันสหรัฐ ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายอาญาของสหรัฐ และเพื่อสร้างเสริมความเป็นผู้นำและการบริการความยุติธรรมทางอาญาให้แก่ รัฐบาลกลาง รัฐ เทศบาล และหน่วยงานนานาชาติ
สำดับความสำคัญสูงสุดในปัจจุบันของสำนักงานสอบสวนกลาง มีดังนี้:[11]
- ปกป้องสหรัฐจากการโจมตีของผู้ก่อการร้าย
- ปกป้องสหรัฐจากการโจรกรรมและการปฏิบัติการณ์ข่าวกรองของต่างประเทศ
- ปกป้องสหรัฐจากการโจมตีทางไซเบอร์และอาชญากรรมทางเทคโนโลยีระดับสูง
- ต่อสู้กับการทุจริตของเอกชนในทุกระดับ
- ปกป้องสิทธิมนุษยชน
- ต่อสู้กับองค์กรอาชญกรรมระดับชาติ/ข้ามชาติ
- ต่อสู้กับอาชญากรรมคอปกขาวขนาดใหญ่
- ต่อสู้กับอาชญากรรมรุนแรงที่สำคัญ
- สนับสนุนรัฐบาลกลาง รัฐ ท้องถิ่น และนานาประเทศ
- พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้งาน เพื่อให้ทำภารกิจที่ระบุไว้ข้างต้นประสบความสำเร็จ
ประวัติ
[แก้]ภูมิหลัง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2439 สำนักงานการระบุตัวอาชญากรแห่งชาติ (อังกฤษ: National Burau of Criminal Identification; NCBI) ได้ถูกก่อตั้งขี้น ซึ่งมีหน้าที่ให้ข้อมูลเพื่อระบุตัวอาชญากรที่เป็นที่รู้จักแก่หน่วยงานทั่วประเทศ จนกระทั่งมีการลอบสังหารประธานาธิบดี วิลเลียม แมกคินลีย์ ในปี พ.ศ. 2444 ก็ทำให้พวกเขารู้โดยทันทีว่าอเมริกาอยู่ภายใต้การคุกคามจากผู้นิยมอณาธิปไตย แม้กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงแรงงานสหรัฐจะได้จัดเก็บข้อมูลของผู้นิยมอณาธิปไตยมาเป็นปีแล้ว แต่ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ต้องการอำนาจมากกว่าเดิมในการสังเกตการณ์พวกเขา
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้รับหน้าที่ให้ดูแลกฎระเบียบการค้าระหว่างรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 แม้จะขาดแคลนบุคลากรก็ตาม ทำให้เกิดมีความพยายามเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากร จนกระทั่งมีเรื่องอื้อฉาวการโกงที่ดินใน รัฐออริกอน ประธานาธิบดีโรสเวลต์ได้สั่งให้อัยการสูงสุดชาร์ลส์ โบนาปาร์ต จัดตั้งหน่วยงานราชการด้านการสืบสวนอย่างอิสระซึ่งจะรายงานต่ออัยการสูงสุดเท่านั้น
อัยการสูงสุดโบนาปาร์ตได้ยืมมือจากหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงหน่วยราชการลับ (อังกฤษ: U.S. Secret Service; USSS) ในเรื่องกำลังพลหรือก็คือพนักงานสืบสวนนั่นเอง ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 รัฐสภาสหรัฐห้ามไม่ให้กระทรวงยุติธรรมใช้บุคลากรจากกระทรวงการคลัง โดยอ้างว่าพวกเขาเกรงว่าหน่วยงานใหม่จะกลายเป็นกรมตำรวจลับ อีกครั้งจากการชี้แนะของประธานาธิบดีโรสเวลต์ อัยการสูงสุดโบนาปาร์ตได้ย้ายไปจัดตั้งสำนักงานสอบสวนอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายหลังก็ได้มีเจ้าหน้าพิเศษ (อังกฤษ: Special Agents) เป็นของตนเอง
การก่อตั้งสำนักงานสอบสวน
[แก้]สำนักงานสอบสวนก่อตั้งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 อัยการสูงสุดโบนาปร์ตได้ใช้กองทุนค่าใช้จ่ายของกระทรวงยุติธรรมจ้างคน 34 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์บางคนของหน่วยราชการลับ เพื่อทำงานในหน่วยงานสืบสวนสอบสวนแห่งใหม่ อธิบดีของที่นี้คนแรก (ปัจจุบันรู้จักในนามผู้อำนวยการ) คือ สแตนลีย์ ฟินช์ อัยการสูงสุดโบนาปาร์ตได้แจ้งต่อรัฐสภาสหรัฐเกี่ยวกับการกระทำเหล่านี้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2451
หน้าที่แรกอย่างเป็นทางการของสำนักงานคือทำการสำรวจย่านค้าประเวณี เพื่อเตรียมตัวในการบังคับใช้รัฐบัญญัติแมนน์ (อังกฤษ: Mann Act) ที่ได้ลงมติผ่านร่างกฎหมายไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2453 และในปี พ.ศ. 2475 สำนักงานได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานสอบสวนแห่งสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: United States Bureau of Investigation)
การก่อตั้งสำนักงานสอบสวนกลาง
[แก้]ในปีต่อมา พ.ศ. 2476 สำนักงานสอบสวนก็ได้ถูกรวมเข้ากับสำนักงานสิ่งของต้องห้าม (อังกฤษ: Bureau of Prohibition) และได้ชื่อใหม่ว่าแผนกสอบสวนย่อว่า ดีโอไอ (อังกฤษ: Division of Investigation; DOI) ก่อนจะมาเป็นหน่วยงานราชการอิสระภายใต้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐในปี พ.ศ. 2478 และในปีเดียวกันชื่อก็ได้ถูกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการโดยเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์กลายเป็นชื่อเดียวกันกับปัจจุบันคือ สำนักงานสอบสวนกลาง (อังกฤษ: Federal Bureau of Investigation; FBI)
เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ในฐานะผู้อำนวยการเอฟบีไอ
[แก้]เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ รับราชการเป็นผู้อำนวยการเอฟบีไอตั้งแต่ปี 2467 ถึง 2515 รวมทั้งหมด 48 ปีรวมกันทั้งบีโอไอ ดีโอไอ และเอฟบีไอ เขามีส่วนรับผิดชอบที่สำคัญต่อการก่อตั้ง แล็บวิจัยการตรวจจับอาชญากรรมทางวิทยาศาสตร์ หรือ แล็บวิจัยเอฟบีไอ (อังกฤษ: FBI Laboratory) ซึ่งได้เปิดอย่างเป็นทางการในปี 2475 โดยเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของเขาเพื่อเพิมความเป็นมืออาชีพในการสืบสวนโดยรัฐบาล ฮูเวอร์ได้มีส่วนเกี่ยงข้องอย่างเป็นจริงเป็นจังต่อคดีใหญ่ๆและโครงกานส่วนมากที่เอฟบีไอรับผิดชอบในขณะที่เขาดำรงตำแหน่ง แต่จากรายละเอียดข้างล่างนี้ เขาเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการถกเถียงกันมากมายในเรื่องดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเอฟบีไอ โดยเฉพาะในช่วงปีหลัง ๆ หลังจากการเสียชีวิตของฮูเวอร์ รัฐสภาสหรัฐได้ผ่านกฎหมายซึ่งได้จำกัดเวลาดำรงตำแหน่งของผอ.เอฟบีไอในอนาคตเป็น 10 ปี
การสืบสวนคดีฆาตกรรมในช่วงแรกเริ่มของหน่วยงานใหม่นั้นรวมถึง คดีฆาตกรรมโอเซจอินเดียนด้วย (อังกฤษ: Osage Indian murders) ในช่วงสงครามอาชญากรรมตั้งแต่ปี 2473 เจ้าหน้าที่เอฟบีไอจับกุมและวิสามัญอาชญากรฉาวโฉ่ได้เป็นจำนวนมาก ทั้งจากคดีลักพาตัว โจรกรรม และฆาตกรรมจากทั่วทั้งประเทศ โดยรวมถึง จอห์น ดิลลิงเจอร์ ด้วย
อีกกิจกรรมหนึ่งในช่วงทศวรรษแรกคือการมีบทบาทชี้ขาดในการลดขอบเขตและอิทธิพลของคูคลักซ์แคลน นอกจากนี้จากการทำงานของเอดวิน อาเธอร์ตัน บีโอไอกล่าวอ้างว่าพวกเขาได้รับความสำเร็จในการจับกุมกองกำลังทั้งหมดของคณะปฏิวัติแนวคิดใหม่ชาวเม็กซิโก ภายใต้การนำของนายพลเอนรีเก เอสตราดาตอนกลางช่วงปี 2463 ตะวันออกของซานดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
ฮูเวอร์เริ่มใช้การดักฟังโทรศัพท์ในปี 2463 ระหว่างการใช้กฎสิ่งของต้องห้าม (อังกฤษ: Prohibition) เพื่อการจับกลุ่มผู้ลักลอบค้าของเถื่อน ในคดีออล์มสเตด วี ยูไนเต็ด สเตทปี 2470 (อังกฤษ: Olmstead v. United States) ซึ่งผู้ลักลอบค้าของเถื่อนได้ถูกจับได้ผ่านการดักฟังโทรศัพท์ ศาลสูงสุดสหรัฐกล่าวว่าการดักฟังของเอฟบีไอจะไม่ละเมิดมาตรา 4 (อังกฤษ: Fourth Amendment) ในเรื่องการตรวจค้นและการตวจยึดอย่างผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อ เอฟบีไอไม่ได้เข้าไปในบ้านของใครดดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อให้สำเร็จการดักฟังโทรศัพท์ หลังจากได้ยกเลิกการใช้กฎสิ่งของต้องห้าม รัฐสภาสหรัฐได้ผ่านรัฐบัญญัติการสื่อสารปี 2477 (อังกฤษ: Communications Act of 2477) ซึ่งระบุให้การดักฟังโทรศัพท์อย่างไม่ได้รับการยินยอมนั้นผิดกฎหมาย แต่อนุญาตให้มีการดักฟังได้ ในคดีนาร์ดัน วี ยูไนเต็ด สเตทปี 2482 (อังกฤษ: Nardone v. United States) ศาลกล่าวว่าจากกฎหมายปี 2477 หลักฐานที่เอฟบีไอได้มาจากการดักฟังโทรศัพท์ไม่สามารถจะยอมรับได้ในชั้นศาล หลังจากคดีแคทซ์ วี ยูไนเต็ด สเตทปี 2510 (อังกฤษ: Katz v. United State) ได้กลับคดีปี 2470 ที่ได้อนุญาตให้มีการดักฟังได้ รัฐสภาสหรัฐได้ผ่านรัฐบัญญัติควบคุมอาชญากรรมรวมเรื่อง (อังกฤษ: Omnibus Crime Control Act) ซึ่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สาธารณะทำการดักฟังโทรศัพท์ระหว่างสืบสวนได้ หากพวกเขาได้รับหมายศาลมาก่อน
ความมั่นคงแห่งชาติ
[แก้]เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 2483 ถึงช่วงปี 2513 สำนักงานได้สืบสวนหลาย ๆ คดีเกี่ยวกับการจารกรรมต่อสหรัฐและชาติพันธมิตร เจ้าหน้าที่นาซี 8 คนซึ่งได้วางแผนวินาศกรรมต่อเป้าหมายอเมริกาได้ถูกจับและอีก 6 คนถูกประหาร (คดี Ex parte Quirin) ภายใต้คำพิพากษาของพวกเขา และเช่นกัน ณ เวลาขณะนั้น ความพยายามแกะรหัสร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรซึ่งเรียกว่า โปรเจกต์วีโนนา (อังกฤษ: Venona Project) ซึ่งเอฟบีไอได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก สามารถแกะรหัสการสื่อสารด้านข่าวกรองและการทูตโซเวียตได้ ทำให้รัฐบาลสหรัฐและบริเตนอ่านการสื่อสารของโซเวียตได้ ความพยายามนี้เป็นตัวพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของชาวอเมริกาที่ทำงานในสหรัฐด้านข่าวกรองโซเวียต ฮูเวอร์เองทำหน้าที่บริหารโปรเจกต์นี้แต่เขาเพิกเฉยต่อการแจ้งให้สำนักข่าวกรองกลางหรือซีไอเอทราบจนกระทั่งปี 2495 คดีที่มีชื่อเสียงอีกคดีนึงคือ การจับกุมสายลับโซเวียตชื่อ รูดอล์ฟ เอเบล ในปี 2500 จากการค้นพบสายลับโซเวียตปฏิบัติการในสหรัฐทำให้ฮูเวอร์สามารถทำตามแนวคิดที่มีมาอย่างยาวนานของเขากับภัยคุกคามที่เขาได้รับมาจากฝ่ายซ้าย ตั้งแต่ผู้จัดตั้งสหภาพพรรคคอมมิวนิสต์สหรัฐอเมริกาไปจนถึงพวกเสรีนิยมชาวอเมริกา
การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น
[แก้]ในปี 2482 สำนักงานเริ่มรวบรวมรายขื่อการคุมขัง (อังกฤษ: Custodial Detention List) ซึ่งมีรายชื่อคนที่จะถูกนำไปคุมขังในสถานการณ์สงครามกับชาติอักษะ ชื่อส่วนใหญ่ในรายชื่อเป็นของผู้นำชุมชนอิสเซ เพราะการสืบสวนของเอฟบีไอสร้างมาจากรายชื่อของสำนักงานข่าวกรองกองทัพเรือที่มีอยู่ ซึ่งจะเน้นไปที่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นในฮาวายและชายฝั่งตะวันตก แต่พลเมืองชาวเยอรมันและอิตาลีหลาย ๆ คนก็มีชื่ออยู่ในรายชื่อลับเช่นกัน โรเบร์ต ชีเวอรส์หัวหน้าสำนักงานโฮโนลูลูได้รับอนุญาตจากฮูเวอร์ให้เริ่มการจับกุมคนที่อยู่ในรายชื่อได้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2484 ในขณะที่ระเบิดยังคงตกลงใส่ท่าเพิร์ล การตรวจค้นบ้านและการจับกุมอย่างล้นหลาม (ส่วนมากกระทำโดยไม่มีหมายศาล) เริ่มต้นขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังการโจมตีและในหลายอาทิตย์ต่อมา ชาวอิสเซมากกว่า 5500 คนถูกคุมตัวโดยเอฟบีไอ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2485 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน โรสเวลต์ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหารที่ 9066 (อังกฤษ: Executive Order 9066) ซึ่งได้มอบอำนาจในการขับไล่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นออกจากชายฝั่งตะวันตก ผู้อำนวยการเอฟบีไอฮูเวอร์ได้ต่อต้านการคุมขังและการขับไล่จำนวนมากที่จะตามมาจากข้อบังคับใช้เกี่ยวกับชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นภายใต้คำสั่งบริหารที่ 9066 แต่โรสเวลต์ก็เอาชนะได้ เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับคำสั่งยกเว้นที่ตามมา แต่ในบางกรณีซึ่งชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบทางทหารใหม่ เจ้าหน้าที่เอฟบีไอก็จัดการจับกุมด้วยตัวเอง สำนักงานทำการสังเกตการณ์ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงสงคราม ทำการตรวจสอบภูมิหลังผู้ขอตั้งถิ่นฐานนอกค่ายและการเข้ามาในค่าย (ส่วนใหญ่โดยไม่มีการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางการของกองบังคับการย้ายถิ่นฐานระหว่างสงคราม) และทำการฝึกสายข่าวเพื่อการจับตาพวกต่อต้านและพวกสร้างปัญหา หลังจากสงคราม เอฟบีไอได้รับมอบหมายให้ปกป้องชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่กลับมาจากการโจมตีของชุมชนผิวขาวที่ไม่เป็นมิตร
องค์กร
[แก้]โครงสร้างองค์กร
[แก้]สำนักงานสอบสวนกลางแบ่งออกเป็นสาขาการทำงาน และสำนักงานผู้อำนวยการซึ่งประกอบด้วยสำนักงานบริหารส่วนมาก ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารมีหน้าที่จัดการสาขาต่างๆ แต่ละสาขาก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นสำนักงานและแผนกอีกทีซึ่งมีผู้ช่วยผู้อำนวยการเป็นหัวหน้า โดยที่แผนกต่างๆยังสามารถแบ่งออกเป็นสาขาย่อย ซึ่งมีรองผู้ช่วยผู้อำนวยการเป็นหัวหน้า ในสาขาย่อยพวกนี้ก็สามารถแบ่งออกเป็นฝ่ายได้อีก โดยมีหัวหน้าฝ่ายเป็นหัวหน้าซึ่งเป็นตำแหน่งที่คล้ายกับเจ้าหน้าที่พิเศษรักษาการ สาขา 4 สาขารายงายต่อรองผู้อำนวยการ ในขณะที่อีก 2 สาขารายงานต่อผู้อำนวยการช่วยว่าการ สาขาการทำงานของสำนักงานสอบสวนกลาง มีดังนี้:
- สาขาข่าวกรอง
- สาขาความมั่นคงแห่งชาติ
- สาขาอาชญากรรม, ไซเบอร์, ตอบโต้, และบริการ
- สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สาขาสารสนเทศและเทคโนโลยี
- สาขาทรัพยากรมนุษย์
สำนักงานผู้อำนวยการทำหน้าที่เป็นส่วนบริหารกลางของเอฟบีไอ อำนวยงานด้านการสนับสนุนบุคลากร (เช่น การจัดการอาคารและการเงิน) ให้กับสาขาการทำงาน 5 สาขาและแผนกภาคสนามต่างๆ สำนักงานได้รับการจัดการโดยผู้อำนวยการช่วยว่าการ ผู้ซึ่งดูแลการทำงานของทั้งสาขาทรัพยากรมนุษย์และสาขาสารสนเทศและเทคโนโลยี
- สำนักงานผู้อำนวยการ
- สำนักงานประจำผู้อำนวยการ
- สำนักงานรองผู้อำนวยการ
- สำนักงานผู้อำนวยการช่วยว่าการ
- สำนักงานกิจการรัฐสภาสหรัฐ
- สำนักงานกิจการโอกาสในการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน
- สำนักงานหัวหน้าที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
- สำนักงานความซื่อสัตย์และการปฏิบัติตาม
- สำนักงานผู้ตรวจการ
- สำนักงานจรรยาบรรณวิชาชีพ
- สำนักงานกิจการสาธารณะ
- แผนกตรวจราชการ
- แผนกบริการอาคารสถานที่และการเงิน
- แผนกแผนงานทรัพยากร
- แผนกการจัดการสารสนเทศ
- สำนักงานหัวหน้าเจ้าหน้าที่สารสนเทศ
โครงสร้างตำแหน่ง
[แก้]ต่อไปนี้เป็นโครงสร้างตำแหน่งของสำนักงานสอบสวนกลางโดยสมบูรณ์:[12]
- เจ้าหน้าที่ภาคสนาม
- เจ้าหน้าที่ฝึกงาน
- เจ้าหน้าที่พิเศษ
- เจ้าหน้าที่พิเศษอาวุโส
- เจ้าหน้าที่พิเศษกำกับดูแล
- ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พิเศษรักษาการ
- เจ้าหน้าที่พิเศษรักษาการ
- ฝ่ายการจัดการ
- รองผู้ช่วยผู้อำนวยการ
- ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
- ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารช่วยว่าการ
- ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร
- รองผู้อำนวยการช่วยว่าการ
- รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่
- หัวหน้าเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาด้านกฎหมายพิเศษแก่ผู้อำนวยการ
- รองผู้อำนวยการ
- ผู้อำนวยการ
ดูเพิ่ม
[แก้]- หน่วยความมั่นคง (MI5)
- คณะกรรมการสอบสวนแห่งรัสเซีย (Sledkom)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Quick Facts". Federal Bureau of Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-06. สืบค้นเมื่อ 2014-12-17.
- ↑ "Mission & Priorities". Federal Bureau of Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2019. สืบค้นเมื่อ 29 July 2019.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 29 มีนาคม 2552).
- ↑ "Our Strength Lies in Who We Are". intelligence.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2014. สืบค้นเมื่อ August 4, 2014.
- ↑ "How does the FBI differ from the Drug Enforcement Administration (DEA) and the Bureau of Alcohol, Tobacco, Firearms and Explosives (ATF)?". Federal Bureau of Investigation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-11-02.
- ↑ "Federal Bureau of Investigation – Quick Facts". Federal Bureau of Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17.
- ↑ Statement Before the House Appropriations Committee, Subcommittee on Commerce, Justice, Science, and Related Agencies, Federal Bureau of Investigation, March 26, 2014
- ↑ FBI gets a broader role in coordinating domestic intelligence activities, Washington Post, June 19, 2012
- ↑ Overview of the Legal Attaché Program เก็บถาวร มีนาคม 13, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Federal Bureau of Investigation, Retrieved: March 25, 2015
- ↑ Spies Clash as FBI Joins CIA Overseas: Sources Talk of Communication Problem in Terrorism Role, Associated Press via NBC News, February 15, 2005
- ↑ "FBI- Quick Facts". Federal Bureau of Investigation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2015. สืบค้นเมื่อ 19 April 2015.
- ↑ "fbi.gov". fbi.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-03-03.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- HSI BOOK Government HSI Files
- Charles, Douglas M. (2007). J. Edgar Hoover and the Anti-interventionists: FBI Political Surveillance and the Rise of the Domestic Security State, 1939–1945. Columbus, Ohio: The Ohio State University Press. ISBN 978-0-8142-1061-1.
- Kessler, Ronald (1993). The FBI: Inside the World's Most Powerful Law Enforcement Agency. Pocket Books Publications. ISBN 978-0-671-78657-1.
- Powers, Richard Gid (1983). G-Men, Hoover's FBI in American Popular Culture. Southern Illinois University Press. ISBN 978-0-8093-1096-8.
- Sullivan, William (1979). The Bureau: My Thirty Years in Hoover's FBI. Norton. ISBN 978-0-393-01236-1.
- Theoharis, Athan G.; John Stuart Cox (1988). The Boss: J. Edgar Hoover and the Great American Inquisition. Temple University Press. ISBN 978-0-87722-532-4.
- Theoharis, Athan G.; Tony G. Poveda; Susan Rosenfeld; Richard Gid Powers (2000). The FBI: A Comprehensive Reference Guide. Checkmark Books. ISBN 978-0-8160-4228-9.
- Theoharis, Athan G. (2004). The FBI and American Democracy: A Brief Critical History. Kansas: University Press. ISBN 978-0-7006-1345-8.
- Thomas, William H., Jr. (2008). Unsafe for Democracy: World War I and the U.S. Justice Department's Covert Campaign to Suppress Dissent. Madison: University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-22890-3.
- Tonry, Michael (ed.) (2000). The Handbook of Crime & Punishment. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-514060-6.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Trahair, Richard C. S. (2004). Encyclopedia of Cold War Espionage, Spies, and Secret Operations. Ballentine: Greenwood Press. ISBN 978-0-313-31955-6.
- Vanderpool, Bill (August 22, 2011). "A History of FBI Handguns". American Rifleman. สืบค้นเมื่อ April 3, 2014.
- Weiner, Tim (2012). Enemies. A History of the FBI. Random House. ISBN 978-1-4000-6748-0.
- Williams, David (1981). "The Bureau of Investigation and its Critics, 1919–1921: the Origins of Federal Political Surveillance". Journal of American History. Organization of American Historians. 68 (3): 560–579. doi:10.2307/1901939. JSTOR 1901939.
- FBI — The Year in Review, Part 1 เก็บถาวร 2014-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Part 2 เก็บถาวร 2014-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2013)
- Church Committee Report, Vol. 6, "Federal Bureau of Investigation." 1975 congressional inquiry into American intelligence operations.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Federal Bureau of Investigation in the Federal Register
- FBI Disclosures under Freedom of Information Act
- Official FBI Recruiting
- Federal Bureau of Investigation from the Federation of American Scientists
- The FBI ... Past, Present & Future เก็บถาวร 2010-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from zpub.com
- The Vault, FBI electronic reading room (launched April 2011), contains over 3000 documents
- Federal Bureau of Investigation ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (archived ตุลาคม 22, 1996).
- ผลงานของ Federal Bureau of Investigation ที่โครงการกูเทินแบร์ค
- ผลงานเกี่ยวกับ/โดย สำนักงานสอบสวนกลาง ที่อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
- ผลงานโดย สำนักงานสอบสวนกลาง บนเว็บ LibriVox (หนังสือเสียง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ)