เฮฟทาไลต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮฟทาไลต์
ηβοδαλο
Ebodalo
จักรวรรดิ: 440s–560[1]
ราชรัฐในโทคาริสถานและฮินดูกูชจนถึง ค.ศ. 710[2]
ตราประทับของจักรวรรดิเฮฟทาไลต์ รู้จักในชื่อ "Tamgha S2"[3][4]ของเฮฟทาไลต์
ตราประทับของจักรวรรดิเฮฟทาไลต์ รู้จักในชื่อ "Tamgha S2"[3][4]
จักรวรรดิเฮฟทาไลต์ ประมาณ ค.ศ. 500
จักรวรรดิเฮฟทาไลต์ ประมาณ ค.ศ. 500
สถานะจักรวรรดิชนร่อนเร่
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
ยุคประวัติศาสตร์ปลายสมัยโบราณ
• ก่อตั้ง
จักรวรรดิ: 440s
• สิ้นสุด
560[1]
ราชรัฐในโทคาริสถานและฮินดูกูชจนถึง ค.ศ. 710[2]
ก่อนหน้า
ถัดไป
คิดาไรต์
จักรวรรดิซาเซเนียน
คังจวี
ฮันแอลคอน
ฮันเนซัก
รัฐคากานเตอร์กิกที่หนึ่ง
จักรวรรดิซาเซเนียน
เติร์กชาฮิ
ซันบิล
ราชรัฐชากานิยัน

เฮฟทาไลต์ (อังกฤษ: Hephthalites, แบกเตรีย: ηβοδαλο; ถอดเป็นอักษรโรมัน: Ebodalo)[11] บางครั้งเรียก ฮันขาว (White Huns) หรือ หูณะขาว (White Hunas) เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเอเชียกลางช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5–8 ชาวเฮฟทาไลต์เป็นเผ่าหนึ่งของชนฮันอิหร่าน[12][13] รู้จักในกลุ่มภาษาอิหร่านว่า เซฟีดไคออน (Spet Xyon) และ เศวตหูณะ (Sveta-huna) ในภาษาสันสกฤต[14][15] ชาวเฮฟทาไลต์ก่อตั้งจักรวรรดิในปี ค.ศ. 450 หลังเอาชนะพวกคิดาไรต์ที่ปกครองเอเชียกลางและเอเชียใต้บางส่วนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4–5 ก่อนจะพ่ายแพ้ให้แก่พันธมิตรรัฐคากานเตอร์กิกที่หนึ่งจักรวรรดิซาเซเนียนในปี ค.ศ. 560[1][16] หลังจากนั้นพวกเขาก่อตั้งราชรัฐในโตคาริสถานภายใต้อำนาจของรัฐคากานเตอร์กิกตะวันตก (พื้นที่เหนือแม่น้ำออกซุส) และจักรวรรดิซาเซเนียน (พื้นที่ใต้แม่น้ำออกซุส) ก่อนจะถูกราชวงศ์โตคารายับกูยึดครองในปี ค.ศ. 625[16]

จักรวรรดิเฮฟทาไลต์ตั้งอยู่ในแบกเตรีย (ส่วนใหญ่ของอัฟกานิสถาน ตะวันตกเฉียงใต้ของทาจิกิสถานและตะวันออกเฉียงใต้ของอุซเบกิสถานปัจจุบัน)[17][18] แผ่ขยายอำนาจไปยังแอ่งทาริมทางตะวันออก ซอกเดียทางตะวันตกและทางใต้ผ่านอัฟกานิสถาน แต่พวกเขาไม่เคยข้ามผ่านเทือกเขาฮินดูกูชซึ่งในขณะนั้นยึดครองโดยชาวฮันแอลคอน จักรวรรดิเฮฟทาไลต์มีลักษณะเป็นสมาพันธรัฐเผ่าที่มีทั้งชุมชนร่อนเร่และแบบเมือง เป็นหนึ่งในสี่รัฐใหญ่ที่เรียกรวม ๆ ว่าไซโอไนต์ (Xionites) หรือชนหูณะ (Huna) อันประกอบไปด้วยคิดาไรต์ แอลคอน เฮฟทาไลต์และเนซัก มีการสันนิษฐานว่าชนหูณะมีความเกี่ยวข้องกับชาวฮันที่รุกรานยุโรปตะวันออกในช่วงเวลาเดียวกันแต่ยังไม่มีข้อสรุป[19]

ชาวเฮฟทาไลต์มีที่มั่นในโตคาริสถาน (ชื่อสมัยกลางตอนต้นของแบกเตรีย) บริเวณเนินทิศเหนือของเทือกเขาฮินดูกูช สันนิษฐานว่าเมืองหลวงอยู่ที่นครคูนดูซ ในปี ค.ศ. 479 ชาวเฮฟทาไลต์ยึดซอกเดียและผลักดันพวกคิดาไรต์ไปทางตะวันออก ต่อมาในปี ค.ศ. 493 พวกเขายึดซูงกาเรียและแอ่งทาริม ขณะที่ชาวฮันแอลคอนซึ่งเดิมเชื่อว่าเป็นกลุ่มย่อยของเฮฟทาไลต์ แต่ปัจจุบันคาดว่าเป็นคนละกลุ่ม[20][21][22] ขยายอำนาจเข้าไปทางเหนือของอินเดีย[23]

แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เฮฟทาไลต์มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย นักประวัติศาสตร์ยังไม่พบรายนามผู้ปกครองและไม่แน่ใจว่ากลุ่มนี้เรืองอำนาจได้อย่างไร รวมถึงภาษาเดิมที่พวกเขาใช้พูด ชาวเฮฟทาไลต์เรียกตนเองว่า "เอโบดาโล" (Ebodalo; ηβοδαλο, "เฮฟทัล") มักย่อว่า "เอบ" (Eb; ηβ) อันเป็นชื่อที่พวกเขาจารึกบนเหรียญด้วยอักษรแบกเตรีย[24][25][26][27] ยังไม่ทราบที่มาของชื่อเฮฟทาไลต์ แต่อาจมาจากคำภาษาซากา *Hitala แปลว่า "แข็งแกร่ง"[28] หรือภาษาซอกเดีย *Heβtalīt[29] หรือภาษาเปอร์เซียกลาง *haft āl หมายถึง "ชาวอารยัน[30] ทั้งเจ็ด"[31]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Benjamin, Craig (16 April 2015). The Cambridge World History: Volume 4, A World with States, Empires and Networks 1200 BCE–900 CE. Cambridge University Press. p. 484. ISBN 978-1-316-29830-5.
  2. Nicholson, Oliver (19 April 2018). The Oxford Dictionary of Late Antiquity (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 708. ISBN 978-0-19-256246-3.
  3. Alram et al. 2012–2013. exhibit: 10. Hephthalites In Bactria เก็บถาวร 29 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Alram 2008.
  5. 5.0 5.1 Bivar, A. D. H. "Hephthalites". Encyclopaedia Iranica. สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
  6. Southern, Mark R. V. (2005). Contagious Couplings: Transmission of Expressives in Yiddish Echo Phrases. Greenwood Publishing Group. p. 46. ISBN 9780275980870.
  7. "Chinese Travelers in Afghanistan". Abdul Hai Habibi. alamahabibi.com. 1969. สืบค้นเมื่อ August 9, 2012.
  8. Kurbanov 2010, p. [ต้องการเลขหน้า].
  9. Al-Hind, the Making of the Indo-Islamic World: Early medieval India. André Wink, p. 110. E. J. Brill.
  10. David Wilmshurst (2011). The Martyred Church: A History of the Church of the East. East and West Publishing. pp. 77–78.
  11. Dani, Litvinsky & Zamir Safi 1996, p. 177.
  12. Rezakhani, Khodadad (April 25, 2014). "Hephthalites". Iranologie.com. สืบค้นเมื่อ October 5, 2023.
  13. Schottky, Martin (2020-08-20), "HUNS", Encyclopaedia Iranica Online (ภาษาอังกฤษ), Brill, สืบค้นเมื่อ 2023-10-05
  14. Dignas, Beate; Winter, Engelbert (2007). Rome and Persia in Late Antiquity: Neighbours and Rivals. Cambridge University Press. p. 97. ISBN 978-0-521-84925-8.
  15. Goldsworthy, Adrian (2009). The Fall of the West: The Death Of The Roman Superpower. Orion. ISBN 978-0-297-85760-0.
  16. 16.0 16.1 Rezakhani 2017a, p. 208.
  17. Abdullaev, Kamoludin (2018-08-10). Historical Dictionary of Tajikistan (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. p. 71. ISBN 978-1-5381-0252-7.
  18. Chorshanbievich, Kholiyarov Tulkinjon (October 17, 2020). "SOME REVIEWS ABOUT THE NORTHERN BORDER OF BACTRIA". International Engineering Journal for Research & Development. 5 (CONGRESS): 5. doi:10.17605/OSF.IO/7F58D – โดยทาง www.iejrd.com.
  19. Heather 2010, p. 502; de la Vaissière 2015, p. 176.
  20. Rezakhani, Khodadad (2017). ReOrienting the Sasanians: East Iran in Late Antiquity (ภาษาอังกฤษ). Edinburgh University Press. pp. 105–124. ISBN 9781474400305.
  21. "Note 8: It is now clear that the Hephtalites were not part of those Huns who conquered the land south of the Hindu-Kush and Sind as well in the early 6th century. In fact, this latter Hunnic group was the one commonly known as Alkhon because of the inscriptions on their coins (Vondrovec, 2008)."
  22. Rezakhani, Khodadad (2021). "From the Kushans to the Western Turks". King of the Seven Climes (ภาษาอังกฤษ): 207.
  23. Maas 2015, p. 287
  24. Rezakhani 2017, p. 213.
  25. Rezakhani 2017, p. 217.
  26. Alram 2014, pp. 278–279.
  27. Whitfield, Susan (2018). Silk, Slaves, and Stupas: Material Culture of the Silk Road. University of California Press. p. 185. ISBN 978-0-520-95766-4.
  28. Bailey, H.W. (1979) Dictionary of Khotan Saka. Cambridge: Cambridge University Press. p. 482
  29. Gharib B. (1995) Sogdian dictionary. Tehran, Iran: Farhangan publications. p. xvi
  30. quote: "Sept Aryas". Tremblay X., "Pour une histoire de la Sérinde. Le manichéisme parmi les peuples et religions d’Asie Centrale d’après les sources primaires, Veröffentlichungen der Kommission für Iranistik, 28, Verlag der Österreichischen Akademieder Wissenschaften, Vienne 2001, 185; cited in Étienne de la Vaissière, "Theophylact's Turkish Exkurs Revisited" in De Samarcande à Istanbul: étapes orientales . Hommages à Pierre Chuvin II, Paris, CNRS Editions, 2015, p. 93-94 of pp. 91-102
  31. Kurbanov 2010, p. 27.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]