คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 6
คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา 3 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 แห่งราชอาณาจักรสยาม | |
พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2480 | |
![]() | |
วันแต่งตั้ง | 22 กันยายน 2477 |
วันสิ้นสุด | 9 สิงหาคม 2480 (2 ปี 322 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
ประมุขแห่งรัฐ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
หัวหน้าคณะรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) |
ประวัติ | |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 5 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 7 |
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 (22 กันยายน 2477 - 9 สิงหาคม 2480)
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 22 กันยายน 2477 กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้ลงนาม และนายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 22 กันยายน 2477 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
รายชื่อคณะรัฐมนตรี[แก้]
การแถลงนโยบายของรัฐบาล[แก้]
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2477 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกันเป็นเอกฉันท์
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี[แก้]
คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่นาย เลียง ไชยกาล ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับการขายที่ดินของพระคลังข้างที่ให้แก่บุคคลบางคน และต่อจากนั้นนาย ไต๋ ปาณิกบุตร ผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ก็ได้เสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้อภิปรายกันจนหมดเวลา และได้เลื่อนไปอภิปรายในวันต่อไป แต่นายกรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 เพื่อให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายได้สอบสวนตามความชอบธรรมและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็ขอลาออกด้วย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ (นายพันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์)