คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 21

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีแปลก 3
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 21 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2492
Field Marshal Plaek Phibunsongkhram.jpg
วันแต่งตั้ง 15 เมษายน​ 2491
วันสิ้นสุด 25 มิถุนายน​ 2492
(1 ปี 71 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หัวหน้าคณะรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ประวัติ
ก่อนหน้า คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 20
ถัดไป คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 22

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 21 ของไทย (8 เมษายน พ.ศ. 2491 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492)

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย กรมขุนชัยนาทนเรนทร พระองค์เจ้าอลงกฎ พระองค์เจ้าธานีนิวัต และ นายพลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส เป็นผู้ลงนามในประกาศ (พระยามานวราชเสวี ไม่ได้ลงนาม)

กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานคณะอภิรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 21 ของไทย[แก้]

ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2491 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

  1. พลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  2. พลเรือตรี หลวงสินธาวณัติก์ (เหล่ว ทีปะนาวิน) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  3. พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  4. พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพพงษ์ เทวกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  5. นายพจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  6. พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  7. พันเอก หม่อมสนิทวงศ์เสนี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  8. นาวาเอก หลวงประสิทธิ์จักรการ (พ้วน โหตรภวานนท์) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  9. พระยาพนานุจร (เปล่ง สาครบุตร) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  10. พันเอก น้อม เกตุนุติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  11. พันเอก พระยาศรีพิชัยสงคราม (เจริญ จันฉาย) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  12. พระยามไหสวรรย์ (กวย สมบัติศิริ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  13. จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  14. พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  15. นายเลียง ไชยกาล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  16. พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  17. พลโทมังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  18. นาวาอากาศเอก หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร เป็นรัฐมนตรี
  19. นายกิจจา วัฒนสินธุ์ เป็นรัฐมนตรี
  20. นายเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นรัฐมนตรี
  21. นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นรัฐมนตรี
  22. นายปฐม โพธิ์แก้ว เป็นรัฐมนตรี
  23. นายฟื้น สุพรรณสาร เป็นรัฐมนตรี
  24. นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรี
  25. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรี
  26. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรี

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 21 ของไทย[แก้]

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายและรัฐสภาได้อภิปรายนโยบายของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2491 และได้ให้ความไว้วางใจด้วยคะแนนเสียง 70 ต่อ 26 ไม่ออกเสียง 73 คน ในวันเดียวกันคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2491 เล่ม 65 ตอน 22 หน้า 1609

การปรับปรุงคณะรัฐมนตรี[แก้]

คณะรัฐมนตรีมีการแต่งตั้งเปลี่ยนแปลง คือ

  • วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491
    • พระยามไหสวรรย์ (กวย สมบัติศิริ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
    • พลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แทน
  • วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 นาวาเอก หลวงประสิทธิ์จักรการ (พ้วน โหตรภวานนท์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491
    • พระยาโทณวนิกมนตรี (วิสุทธิ โทณะวณิก) พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    • พระยาพนานุจร (เปล่ง สาครบุตร) พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
    • พันเอก พระยาศรีพิชัยสงคราม (เจริญ จันฉาย) พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
    • นายเจ๊ะ อับดุลลา หลังปูเต๊ะ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี
    • หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    • พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
    • พลโท พระยาเทพหัสดิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
    • พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ
    • หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 21 ของไทย[แก้]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับถาวร) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 คณะรัฐมนตรีนี้ได้รักษาการไปจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นวันตั้งนายกรัฐมนตรีใหม่ตามรัฐธรรมนูญใหม่

อ้างอิง[แก้]