เทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภออุทุมพรพิสัย
พื้นที่
 • ทั้งหมด15.0 ตร.กม. (5.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2554)
 • ทั้งหมด5,008 [1] คน
 • ความหนาแน่น334.00 คน/ตร.กม. (865.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05331004
ที่อยู่
สำนักงาน
หมู่ที่ 9 ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 33120
เว็บไซต์uthumphonphisai-local.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อุทุมพรพิสัย เป็นเทศบาลตำบลในอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ[2] เป็น 1 ในจำนวนเทศบาลตำบล 23 แห่งของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน

อาณาเขต[แก้]

ครอบคลุมบางส่วนของตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย โดยมีอาณาเขตในทิศทางต่างๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลสำโรง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ทิศใต้ ติดกับ ตำบลก้านเหลือง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลแต้ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติ[แก้]

เทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย เดิมมีฐานะเป็น "อบต.กำแพง" ได้เปลี่ยนแปลงและยกฐานะจากเทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งเทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย ให้เป็นเทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างการบริหารและปฏิบัติราชการ[แก้]

  • ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1 คน รองนายกเทศมนตรี 2 คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน และเลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน
  • ฝ่ายนิติบัญญัติ(ควบคุมฝ่ายบริหาร) ได้แก่ สภาเทศบาล และควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน รองประธานสภา 1 คน
  • การปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย ประกอบด้วยส่วนการบริหารคือ สำนักงานปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง และกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เขตการปกครอง[แก้]

เขตการปกครองภายในพื้นที่เทศบาลแบ่งออกเป็น 9 ชุมชน

เศรษฐกิจ[แก้]

หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล[แก้]

  • ประเภทพาณิชยกรรม : ร้านจำหน่ายของชำ ร้านค้าเสื้อผ้า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ปั้มน้ำมัน ร้านเสริมสวย ร้านจำหน่ายยานพาหนะ เทสโก้ โลตัส
  • ประเภทอุตสาหกรรม : โรงซ่อมสร้างเครื่องยนต์ โรงสีข้าว
  • ประเภทบริการธุรกรรมทางการเงิน : ธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐบาลและเอกชน (ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย)

โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค[แก้]

การขนส่ง[แก้]

  • ทางรถยนต์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี) เส้นทางดังกล่าวนี้เชื่อมระหว่างตัวจังหวัดศรีสะเกษกับเขตเทศบาลตำบลกำแพง(ตัวอำเภออุทุมพรพิสัย) โดยจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (ช่วงศรีสะเกษ-สุรินทร์)เป็นระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางให้บริการคือรถตู้ปรับอากาศสายศรีสะเกษ-สุรินทร์ และรถบัสสายศรีสะเกษ-อุทุมพรพิสัย

นอกจากนั้น ยังมีบริการรถยนต์โดยสารปรับอากาศจากต้นทางในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี หยุดรับส่งผู้โดยสารจากอำเภออุทุมพรพิสัย ปลายทางกรุงเทพมหานคร

  • ทางรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ(นครราชสีมา-อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-ศรีสะเกษ, กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี)มีบริการรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วนและรถด่วนพิเศษ หยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารที่สถานีรถไฟอุทุมพรพิสัย ในเขตเทศบาลตำบลกำแพง

โครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ[แก้]

  • ชุมสายโทรศัพท์และโทรคมนาคม 1 แห่ง (ชุมสายโทรศัพท์และโทรคมนาคมอุทุมพรพิสัย)
  • ที่ทำการไปรษณีย์ 1 แห่ง (ไปรษณีย์ไทย อุทุมพรพิสัย)
  • พลังงานไฟฟ้า ได้รับบริการจากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภออุทุมพรพิสัย
  • การประปาและแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้รับบริการน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค อำเภออุทุมพรพิสัย

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp
  2. ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]