อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ดยุกแห่งเวลลิงตัน | |
---|---|
ดยุกแห่งเวลลิงตันในปี 1814 ภาพโดย ทอมัส ลอว์เรนซ์ | |
นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน 1834 – 10 ธันวาคม 1834 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 |
ก่อนหน้า | ไวเคานต์เมลเบิร์น |
ถัดไป | รอเบิร์ต พีล |
ดำรงตำแหน่ง 22 มกราคม 1828 – 16 พฤศจิกายน 1830 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าจอร์จที่ 4 พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 |
ก่อนหน้า | ไวเคานต์ก๊อดริช |
ถัดไป | เอิร์ลเกรย์ |
ผู้นำสภาขุนนาง | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กันยายน 1841 – 27 มิถุนายน 1846 | |
นายกรัฐมนตรี | รอเบิร์ต พีล |
ก่อนหน้า | ไวเคานต์เมลเบิร์น |
ถัดไป | มาร์ควิสแห่งแลนส์ดาวน์ |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน 1834 – 18 เมษายน 1835 | |
นายกรัฐมนตรี | เซอร์ รอเบิร์ต พีล |
ก่อนหน้า | ไวเคานต์เมลเบิร์น |
ถัดไป | ไวเคานต์เมลเบิร์น |
ดำรงตำแหน่ง 22 มกราคม 1828 – 22 พฤศจิกายน 1830 | |
ก่อนหน้า | ไวเคานต์โกดริช |
ถัดไป | เอิร์ลเกรย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน 1834 – 18 เมษายน 1835 | |
นายกรัฐมนตรี | เซอร์ รอเบิร์ต พีล |
ก่อนหน้า | ไวเคานต์พาลเมอร์สตัน |
ถัดไป | ไวเคานต์พาลเมอร์สตัน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 พฤศจิกายน 1834 – 15 ธันวาคม 1834 | |
ก่อนหน้า | ไวเคานน์ดันแคนนอน |
ถัดไป | เฮนรี กูลบูร์น |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามและอาณานิคม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 พฤศจิกายน 1834 – 9 ธันวาคม 1834 | |
ก่อนหน้า | ทอมัส สปริง ไรซ์ |
ถัดไป | เอิร์ลแห่งแอเบอร์ดีน |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด | |
ดำรงตำแหน่ง 1834–1852 | |
ก่อนหน้า | บารอนเกรนวิลล์ |
ถัดไป | เอิร์ลแห่งดาร์บีย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อาร์เธอร์ เวลสลีย์ 1 พฤษภาคม 1769 ดับลิน, ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ (ปัจจุบันคือประเทศไอร์แลนด์)[1] |
เสียชีวิต | 14 กันยายน ค.ศ. 1852 (83 ปี) ปราสาทวัลเมอร์, เคนต์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร |
ที่ไว้ศพ | อาสนวิหารนักบุญเปาโล, ลอนดอน |
ศาสนา | คริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ |
คู่สมรส | แคเธอริน พาเค็นแฮม |
บุตร | อาเธอร์ ชาลล์ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สหราชอาณาจักร |
สังกัด | กองทัพบริเตน |
ประจำการ | 1787–1852 |
ยศ | จอมพล |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการกองทัพบริเตน |
ผ่านศึก | สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง สงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่ สงครามอังกฤษ-มราฐาครั้งที่สอง สงครามนโปเลียน |
จอมพล อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (อังกฤษ: Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) เป็นทหารและรัฐบุรุษ และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายทางการทหารและการเมืองของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขาสามารถมีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี 1815 ซึ่งทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพอังกฤษ และมีสมญานามว่า ดยุกเหล็ก ทั้งนี้ ในปี 2002 ชื่อของเขาอยู่ในอันดับ 15 ของชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ
เกิดที่ดับลินในไอร์แลนด์ เริ่มจากการเป็นร้อยตรีในกองทัพอังกฤษในปี 1787 โดยประจำการในไอร์แลนด์ในฐานะทหารคนสนิทผู้แทนพระองค์ประจำไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาสามัญชน (สภาล่าง) ของไอร์แลนด์ และดำรงยศเป็นพันเอกในปี 1796 โดยเข้าร่วมราชการสงครามในเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง และในอินเดียในช่วงสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่ และจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงประจำศรีรังคปัฏนาและไมซอร์ในปี 1799 และต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพลตรีภายหลังชัยชนะเหนือจักรวรรดิมราฐาในปี 1803
เวลสลีย์เป็นผู้บัญชาการศึกคาบสมุทรในสงครามนโปเลียน และได้รับการเลื่อนขึ้นขึ้นเป็นจอมพลภายหลังสามารถนำกองทัพพันธมิตรมีชัยเหนือฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วิกตอเรียในปี 1813 ซึ่งตามมาด้วยการเนรเทศนโปเลียนในปีต่อมา เวลสลีย์เข้ารับตำแหน่งเป็นราชทูตประจำฝรั่งเศส และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุก ต่อมาระหว่างสมัยร้อยวันในปี 1815 กองทัพพันธมิตรของเขาร่วมกับกองทัพปรัสเซียที่นำโดยพลโทบลือเชอร์ มีชัยเหนือนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ชีวิตทหารของเขานั้นเป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง จากรายงานราชการสงคราม ตลอดชีวิตทหารของเขาได้ผ่านศึกสงครามมากว่า 60 ครั้ง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการปรับตัวและใช้กลยุทธ์ในการตั้งรับข้าศึกจนสามารถมีชัยนับครั้งไม่ถ้วนเหนือข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ในขณะที่ตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บน้อยมาก เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาฝ่ายตั้งรับตลอดกาล กลยุทธ์และแผนการรบของเขาจำนวนมากถูกนำไปสอนในวิทยาลัยการทหารชั้นนำของโลก
ภายหลังออกจากราชการทหาร เขาก็กลับคืนสู่งานการเมือง โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัยโดยสังกัดพรรคทอรี ระหว่างปี 1828 ถึง 1830 และอีกครั้งเป็นช่วงเวลาไม่ถึงเดือนในปี 1834 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้นำในสภาขุนนาง จนกระทั่งเกษียณอายุแต่ยังคงเป็นผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม
ประวัติ
[แก้]วัยเยาว์และการศึกษา
[แก้]อาเธอร์เกิดในตระกูลชนชั้นสูงครึ่งอังกฤษ-ไอร์แลนด์ ในราชอาณาจักรไอร์แลนด์ เป็นบุตรชายคนที่สามในบรรดาบุตรชายห้าคนของ เอิร์ลที่ 1 แห่งมอร์นิงตัน กับภริยานามว่าแอนน์ ซึ่งเป็นบุตรีของไวเคานต์แดนแกนนอนที่ 1 ชีวประวัติของเขามักจะอ้างอิงจากหลักฐานหนังสือพิมพ์เก่า ซึ่งระบุไว้ว่าเขาเกิดในวันที่ 1 พฤษภาคม 1769[2] ซึ่งเป็นวันที่เข้ารับศีลล้างบาป[3] แต่ไม่ได้ระบุถึงสถานที่เกิดที่แน่นนอน แต่เชื่อว่าเขาน่าจะเกิดที่ทาวเฮาส์ของครอบครัวในกรุงดับลิน
อาเธอร์ใช้ชีวิตในวัยเด็กส่วนใหญ่ของเขาอยู่ที่บ้านสองหลังของครอบครัว หลังแรกคือบ้านขนาดใหญ่ในดับลิน และอีกหลังคือปราสาทแดนแกนทางตะวันตกเฉียงเหนือของดับลิน[4] บิดาของเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี 1781 ซึ่งริชาร์ด ผู้เป็นพี่ชายคนโตของเขาก็เป็นผู้สืบต่อตำแหน่งเอิร์ลแห่งมอร์นิงตัน[5]
เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนโบสถ์ขณะอาศัยอยู่ที่แดนแกน และสถาบันมิสเตอร์ไวนต์ขณะอาศัยอยู่ที่ดับลิน และโรงเรียนบราวน์ขณะอาศัยอยู่ในลอนดอน แล้วจึงเข้าเรียนในวิทยาลัยอีตันระหว่างปี 1781 ถึง 1784[5] ความโดดเดี่ยวของเขาทำให้เขาเกลียดที่นี่มาก เขามักจะพูดว่า "ชนะศึกวอเตอร์ลูที่ลานกีฬาของอีตัน" ทั้งๆที่อีตันไม่มีลานกีฬา ในปี 1785 จากการที่เขาไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการเรียนที่อีตัน ประกอบกับครอบครัวเริ่มมีปัญหาขัดสนเงินทองภายหลังการอสัญกรรมของบิดา ทำให้เขาและมารดาต้องย้ายไปอาศัยอยู่ที่บรัสเซลส์ในเบลเยียม[6] แม้อายุจะย่างเข้ายี่สิบแล้ว แต่เขาก็แสดงความเด่นประกายออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่มารดาของเขาก็ตระหนักถึงความเกียจคร้านในตัวเขา เธอเคยกว่าวว่า "ชั้นไม่รู้ว่าควรจะทำยังไงกับอาเธอร์เจ้าลูกชายจอมเทอะทะของฉันดี"[6]
ในปีต่อมา อาเธอร์เข้าศึกษาที่ราชวิทยาลัยการทรงตัวในเมืองอ็องเฌของฝรั่งเศส เขาเริ่มแสดงออกถึงความก้าวหน้า และกลายเป็นนักขี่ม้าที่ดี และยังได้เรียนภาษาฝรั่งเศสซึ่งภายหลังได้เป็นประโยชน์ต่อเขาอย่างมาก[7] และจึงกลับไปยังอังกฤษในปลายปี 1786 ซึ่งพัฒนาการของเขาทำให้มารดาของเขาประหลาดใจอย่างมาก[8]
ราชการทหาร
[แก้]เนื่องด้วยเงินทองครอบครัวค่อนข้างยังขัดสน ด้วยคำแนะนำของมารดา พี่ชายของเขาได้ไปร้องขอกับสหาย คือ ดยุกแห่งรัทแลนด์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้แทนพระองค์ประจำไอร์แลนด์ ให้รับเวลสลีย์เข้าประจำการในกองทัพ[8] ไม่นานหลังจากนั้นในวันที่ 7 มีนาคม 1787 เวลสลีย์ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทหารที่ตำแหน่งร้อยตรี ในกองร้อยเดินเท้าที่ 73 [9][10] และในเดินตุลาคม ด้วยความช่วยเหลือจากทางพี่ชาย เวลสลีย์ก็ได้ขึ้นเป็นนายทหารคนสนิท (Aide-de-camp) ของลอร์ดบักกิงแฮม ผู้แทนพระองค์คนใหม่ ด้วยค่าตอบแทน 10 ชิลลิงต่อวัน (หนึ่งเท่าของค่าตอบแทนร้อยตรี)[9] ต่อมาเขาถูกโอนชื่อไปอยู่ในกองร้อยที่ 76 ที่ตั้งขึ้นใหม่ในไอร์แลนด์ และในวันคริสต์มาสของปี 1787 นั้นเองเขาก็ได้เลื่อนยศเป็นร้อยโท[9] ด้วยตำแหน่งนายทหารคนสนิทนี้ งานส่วนใหญ่ของเขาจึงเปรียบเสมือนผู้ช่วยและเลขาของผู้แทนพระองค์ฯ ซึ่งในไอร์แลนด์นี้เองเวลสลีย์ชื่นชอบการพนันมาก และมักจะเป็นหนี้เป็นสินคนอื่นอยู่เสมอ
มกราคม 1788 เขาถูกโอนชื่อไปอยู่ในกองร้อยเดินเท้าที่ 44 และไม่นานต่อมาถูกโอนชื่อไปอยู่ในกองร้อยมังกรที่ 12 ในเจ้าชายแห่งเวลส์[11] หลังจากนี้เป็นช่วงเวลาที่เขาเริ่มเข้าไปมีบทบาททางการเมือง และในปี 1789 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาจากเขตทริมในสภาสามัญชนไอร์แลนด์[12]ในช่วงนี้เขายังคงรับราชการอยู่ในปราสาทดับสินโดยที่มีสิทธิ์ออกเสียงในสภาไอร์แลนด์ เมื่อเขาหมดวาระในสภาในปี 1791 เขาได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก และถูกโอนชื่อไปประจำการในกองร้อยเดินเท้าที่ 56[12][13][14] และในเดือนตุลาคมโอนไปกองร้อยมังกรที่ 18
เกียรติยศ
[แก้]ยศทหาร
[แก้]- ร้อยตรี – มีนาคม 1787
- ร้อยโท – ธันวาคม 1787
- ร้อยเอก – มิถุนายน 1791
- พันตรี – เมษายน 1793
- พันโท – กันยายน 1793
- พันเอก – พฤษภาคม 1796
- พลตรี – เมษษยน 1802
- พลโท – เมษายน 1808
- จอมพล – มิถุนายน 1813
ยศขุนนาง
[แก้]- บารอนโดรู บารอนแห่งเวลสลีย์ในเคานตีซัมเมอร์เซต – 26 สิงหาคม 1809
- ไวเคานต์เวลลิงตัน ไวเคานต์แห่งทาลาเวราและแห่งเวลลิงตันในเคานตีซัมเมอร์เซต – 26 สิงหาคม 1809
- เอิร์ลแห่งเวลลิงตัน – 28 กุมภาพันธ์ 1812
- มาควิสแห่งเวลลิงตัน – 18 สิงหาคม 1812
- มาควิสโดรู – 3 พฤษภาคม 1814
- ดยุกแห่งเวลลิงตัน – 3 พฤษภาคม 1814
บรรดาศักดิ์ต่างประเทศ
[แก้]- ดยุกแห่งวีโตเรีย ในโปรตุเกส – 1812
- มาควิสแห่งตอร์เรส เวดราส ในโปรตุเกส – 1812
- เคานต์แห่งวีเมริโอ ในโปรตุเกส – 1811
- ดยุกแห่งซีอูดา โรดริโก ในสเปน – 1812
- เจ้าชายแห่งวอเตอร์ลู ในสวิตเซอร์แลนด์ – 1815
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wellesley (2008). p. 16.
- ↑ Though 29 April is quoted as most likely by Ernest Marsh Lloyd, writing in the Dictionary of National Biography (ภาษาอังกฤษ). London: Smith, Elder & Co. 1885–1900.
{{cite encyclopedia}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Guedalla (1997). p. 480. His baptismal font was donated to St. Nahi's Church in Dundrum, Dublin, in 1914.
- ↑ Holmes (2002). pp. 6–7.
- ↑ 5.0 5.1 Holmes (2002). p. 8.
- ↑ 6.0 6.1 Holmes (2002). p. 9.
- ↑ Holmes (2002). pp. 19–20.
- ↑ 8.0 8.1 Holmes (2002). p. 20.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Holmes (2002). p. 21.
- ↑ แม่แบบ:LondonGazette
- ↑ แม่แบบ:LondonGazette
- ↑ 12.0 12.1 Holmes (2002). p. 24.
- ↑ "Regimental Archives". Duke of Wellington's Regiment (West Riding). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-27. สืบค้นเมื่อ 10 March 2012.
- ↑ แม่แบบ:LondonGazette
ดูเพิ่ม
[แก้]- บทความที่รวมแม่แบบ Cite DNB
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2312
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2395
- อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน
- นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสหราชอาณาจักร
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร
- บุคคลในสงครามนโปเลียนชาวอังกฤษ
- ทหารในสงครามนโปเลียน
- ผู้นำในสงครามนโปเลียน
- ดยุกแห่งเวลลิงตัน
- จอมพลชาวสหราชอาณาจักร
- นักการทหารชาวอังกฤษ
- ชาวอังกฤษเชื้อสายไอริช
- บุคคลจากดับลิน
- บุคคลจากวิทยาลัยอีตัน
- เสียชีวิตจากโรคทางประสาทวิทยา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์