ข้ามไปเนื้อหา

สแตนลีย์ บอลดวิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอิร์ลบอลดวินแห่งบิวดลีย์
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
7 มิถุนายน 1935 – 28 พฤษภาคม 1937
กษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 5
พระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8
พระเจ้าจอร์จที่ 6
ก่อนหน้าแรมเซย์ แมคโดนัล
ถัดไปเนวิล เชมเบอร์ลิน
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤศจิกายน 1924 – 5 มิถุนายน 1929
กษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 5
ก่อนหน้าแรมเซย์ แมคโดนัล
ถัดไปแรมเซย์ แมคโดนัล
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤษภาคม 1923 – 16 มกราคม 1924
กษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 5
ก่อนหน้าแอนดริว บอนาร์ ลอว์
ถัดไปแรมเซย์ แมคโดนัล
หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤษภาคม 1923 – 28 พฤษภาคม 1937
ก่อนหน้าแอนดริว บอนาร์ ลอว์
ถัดไปเนวิล เชมเบอร์ลิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 สิงหาคม ค.ศ. 1867(1867-08-03)
บิวดลีย์ สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต14 ธันวาคม ค.ศ. 1947(1947-12-14) (80 ปี)
สตูร์พอร์ทออนเซเวิร์น สหราชอาณาจักร
ศาสนาคริสตจักรแห่งอังกฤษ
พรรคการเมืองอนุรักษนิยม
ลายมือชื่อCursive signature in ink

สแตนลีย์ บอลดวิน เอิร์ลบอลดวินแห่งบิวดลีย์ (อังกฤษ: Stanley Baldwin, 1st Earl Baldwin of Bewdley) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษจากพรรคอนุรักษนิยม เขาทำงานในรัฐบาลอังกฤษคาบเกี่ยวในช่วงเวลาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงสามครั้ง และเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งในสามรัชกาล (พระเจ้าจอร์จที่ 5, พระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 และ พระเจ้าจอร์จที่ 6)

เขาเข้าเป็นสมาชิกสภาสามัญชนในค.ศ. 1908 ในฐานะผู้แทนราษฎรจากบิวดลีย์ ซึ่งบิดาของเขา อัลเฟรด บอลด์วิลด์ ก็เป็นอดีตผู้แทนจากเมืองนี้เช่นเดียวกันตั้งแต่ค.ศ. 1892 หลังบิดาถึงแก่กรรมในปีค.ศ. 1908 เขาก็ได้รับการเสนอชื่อจากสมาคมพรรคอนุรักษนิยมในท้องถิ่นให้เข้ารับเลือกตั้งต่อจากบิดา เขาทำงานทางการเมืองไปกระทั่งเกษียณตัวเองในปีค.ศ. 1937 หลังเกษียณตนเองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เอิร์ลบอลดวินแห่งบิวดลีย์

บอลดวินได้มีโอกาสเป็นรัฐมนตรีคลังในรัฐบาลของเดวิด ลอยด์ จอร์จ แต่ในปีค.ศ. 1922 เขาเป็นแกนนำในการผลักดันให้สมาชิกพรรคฯ เลิกการสนับสนุนลอยด์ จอร์จ ซึ่งต่อมาเขาได้เป็นรัฐมนตรีคลังในรัฐบาลของแอนดริว บอนาร์ ลอว์ จนกระทั่งลอว์ได้ลาออกเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพในเดือนพฤษภาคม 1923 บอลดวินก็ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมต่อจากลอว์ อย่างไรก็ตาม จากข้อขัดแย้งภายในพรรคเรื่องประเด็นภาษีศุลกากร ก็ทำให้บอลดวินเสียเสียงข้างมากในสภาไป และทำให้แรมเซย์ แมคโดนัลจากพรรคแรงงานสามารถจัดตั้งรัฐบาลจากเสียงข้างน้อยได้ ในช่วงทศวรรษจากนี้ บอลดวินและแมคโดนัลถือเป็นสองคู่แข่งทางการเมืองในระดับประเทศ

อ้างอิง

[แก้]
  • Ball, Stuart. "Baldwin, Stanley, first Earl Baldwin of Bewdley (1867–1947)", Oxford Dictionary of National Biography 2004; online edn, Jan 2011 doi:10.1093/ref:odnb/30550 a short scholarly biography
  • Ball, Stuart. Baldwin & the Conservative Party: The Crisis of 1929-1931 (1988) 266pp
  • Bassett, Reginald/ "Telling the truth to the people: the myth of the Baldwin 'confession'," Cambridge Journal, II (1948), pp. 84–95.
  • Cowling, Maurice. The Impact of Labour. 1920–1924. The Beginnings of Modern British Politics (Cambridge University Press, 1971).
  • Cowling, Maurice. The Impact of Hitler. British Politics and British Policy, 1933–1940 (U of Chicago Press, 1977).
  • Dunbabin, J. P. D. "British Rearmament in the 1930s: a Chronology and Review." Historical Journal 18#3 (1975): 587-609. Argues Baldwin rearmed enough to save Britain while it stood alone in 1940-41. Delays in rearmament were caused by slow decision-making. not by any political scheme to insure Baldwin's return to office in 1935.
  • Hyde, H. Montgomery. Baldwin: The Unexpected Prime Minister (1973); 616pp; Jenkins calls it the best biography
  • Jenkins, Roy. Baldwin (1987), Scholarly biography.