เดวิด ลอยด์ จอร์จ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอิร์ลลอยด์-จอร์จแห่งดไวฟอร์
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม 1916 – 19 ตุลาคม 1922
กษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 5
ก่อนหน้าเฮอร์เบิร์ท เฮนรี แอสควิธ
ถัดไปโบนาร์ ลอว์
หัวหน้าพรรคเสรีนิยม
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม 1926 – 4 พฤศจิกายน 1931
นายกรัฐมนตรีแรมเซย์ แมคโดนัล
สแตนลีย์ บอลดวิน
ก่อนหน้าเฮอร์เบิร์ท เฮนรี แอสควิธ
ถัดไปเฮอร์เบิร์ต แซมมูเอล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มกราคม ค.ศ. 1863 ( 1863 -01-17)
ชอร์ลตัน-ออน-เมดล็อก แมนเชสเตอร์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต26 มีนาคม ค.ศ. 1945(1945-03-26) (82 ปี)
ทีนิววีด ลานีสตัมดวี แคร์นาฟอนเชอร์ เวลส์ สหราชอาณาจักร
เชื้อชาติเวลส์
ศาสนาไม่มีศาสนา
พรรคการเมืองเสรีพรรค
(1890–1916 &1924–45)
เสรีพรรคแห่งชาติ (1922–1923)
วิชาชีพทนายความและนักการเมือง
ลายมือชื่อCursive signature in ink

เดวิด ลอยด์ จอร์จ เอิร์ลลอยด์-จอร์จแห่งดไวฟอร์ (อังกฤษ: David Lloyd George, Earl Lloyd-George of Dwyfor; 17 มกราคม พ.ศ. 2406 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2488) คือนักการเมืองจากพรรคเสรีนิยมและรัฐบุรุษของสหราชอาณาจักร เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านการกล่าวสุนทรพจน์ เข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกในฐานะสมาชิกสภาสามัญชนจากพรรคเสรีนิยม ในปี พ.ศ. 2433 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 - 2457 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในปี พ.ศ. 2458 จนในที่สุดได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2459 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2465

แม้นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรหลายคนจะเคยเป็นทนายว่าความ (barristers) มาก่อน แต่นับมาถึงปัจจุบัน เดวิด ลอยด์ จอร์จ คือทนายที่ปรึกษากฎหมาย (solicitor) เพียงคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร[1] และเป็นชาวเวลส์เพียงคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนี้ด้วย[2] ทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวที่ใช้ภาษาเวลส์เป็นภาษาแม่และภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง[3] เดวิด ลอยด์ จอร์จ ได้รับการลงคะแนนให้เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดอันดับที่สาม สำรวจโดยบริษัทวิจัยการตลาดโมรี (MORI) จากนักวิชาการ 139 คน และในปี พ.ศ. 2545 ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับจากการสำรวจประชาชนทั่วสหราชอาณาจักร[4][5]

การทำงานหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[แก้]

เดวิด ลอยด์ จอร์จ ได้สนับสนุนการเรียกเก็บค่าปฏิกรสงครามจากเยอรมนี แต่ในขอบเขตที่น้อยกว่าข้อเสนอของฝรั่งเศส เนื่องจากเขารู้ดีว่าถ้าหากทำตามข้อเสนอของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสก็อาจจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจในยุโรปตอนกลาง และความสมดุลอันบอบบางก็จะถูกทำลาย นอกจากนี้เขายังกังวลกับข้อเสนอของวูดโรว์ วิลสัน สำหรับอำนาจปกครองตัวเอง เช่นเดียวกับฝรั่งเศส เขาต้องการรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตน โดยสภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกสองแห่ง ซึงได้มีส่วนในการรบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน เดวิด ลอยด์ จอร์จก็เป็นผู้นำอีกคนหนึ่งซึ่งสนับสนุนการปิดล้อมทางทะเลกับเยอรมนีและสนธิสัญญาลับ

ยังมีคำกล่าวบ่อยๆ ว่าลอยด์ จอร์จเดินทางสายกลางระหว่างข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันและข้อเสนอพยาบาทของคลูมองโซ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของเขานั้นเป็นข้อเสนอที่แสนบอบบางกว่าที่ปรากฏในตอนแรก มหาชนชาวอังกฤษต้องการให้เกิดการลงโทษเยอรมนีให้หนักเหมือนกับข้อเสนอของฝรั่งเศส เพื่อให้รับผิดชอบต่อผลของสงครามที่เกิดขึ้น และได้สัญญาไว้เช่นสนธิสัญญาการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2461 ซึ่งลอยด์ จอร์จได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นยังมีการบีบคั้นจากพรรคอนุรักษนิยม ในความต้องการแบบเดียวกันกับชาวอังกฤษ เพื่อปกปักรักษาจักรวรรดิอังกฤษ ต่อมา แรงกดดันของมหาชนชาวอังกฤษได้สนับสนุนให้มีการลดขนาดของจักรวรรดิเยอรมัน ลอยด์ จอร์จจึงจัดการให้เพิ่มการชำระค่าปฏิกรสงครามโดยรวมและส่วนแบ่งของอังกฤษ โดยให้เหตุผลว่าใช้เป็นค่าตอบแทนแก่หญิงม่าย เด็กกำพร้า ชายทุพพลภาพ ชายที่ตกงานจำนวนมหาศาลเนื่องจากสงครามโลก

อย่างไรก็ตาม ลอยด์ จอร์จนั้นก็ได้เฝ้าระวังปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากเยอรมนีที่ขมขื่นจากสงคราม และเขารู้สึกว่าสนธิสัญญาที่ลดความรุนแรงลงซึ่งมิได้ก่อให้เกิดความพยาบาทน่าจะเป็นผลที่ดียิ่งกว่าและเป็นการดำรงไว้ซึ่งสันติภาพที่ยาวนาน อีกหนึ่งปัจจัยนั้นคือเยอรมนีนั้นเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองของอังกฤษ และการจำกัดเศรษฐกิจของเยอรมนีย่อมไม่ส่งผลดีต่ออังกฤษ นอกจากนั้นเขาและคลูมองโซได้รู้จักสภาพของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนั้นจะทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจทางทหารของโลกในอนาคตอีกด้วย หลังจากนั้น ข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันก็ไม่สามารถได้รับคำเยาะเย้ยหรือถูกหัวเราะใส่จากอังกฤษและฝรั่งเศสถ้าพวกเขายังต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาอยู่ นี่ช่วยให้เข้าใจว่าทำไมสันนิบาตชาติเกี่ยวกับแนวคิดหลักของวิลสันซึ่งตั้งอยู่บนสันติภาพที่โอบอ้อมอารีนั้นได้ถูกเล่นงานโดยอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อวิลสันได้เดินทางมาถึงสถานที่จัดการประชุม ยิ่งกว่านั้น อังกฤษต้องการที่จะรักษา "ความสมดุลของอำนาจ" - โดยไม่ให้ทประเทศใดก็ตามในยุโรปเสนอข้อตกลงไว้มากมายกว่าประเทศอื่น ๆ และถ้าข้อเสนอของฝรั่งเศสได้ถูกนำไปใช้ นอกจากเยอรมนีจะกลายเป็นคนพิการแล้ว ฝรั่งเศสก็จะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจแทนที่อังกฤษอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. A. J. P. Taylor, "Lloyd George, Rise and Fall" (1961)
  2. Although, in Parliament, Prime Minister James Callaghan represented a district in Wales (Cardiff), Callaghan was English by birth and language.
  3. Harnden, Toby (2011). "Dead Men Risen: The Welsh Guards and the Real Story of Britain's War in Afghanistan". p. 11. Quercus, 2011
  4. "Rating British Prime Ministers". Ipsos MORI. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  5. "100 great Britons – A complete list". Daily Mail. 21 August 2002.