อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะเลคซันดร์ที่ 1
พระสาทิสลักษณ์โดย
จอร์จ ดอว์ ป. 1825–26
จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง
ครองราชย์23 มีนาคม 1801 – 19 พฤศจิกายน 1825
ราชาภิเษก27 กันยายน 1801[a]
ก่อนหน้าจักรพรรดิปัฟเวลที่ 1
ถัดไปจักรพรรดินีโคไลที่ 1
พระราชสมภพ23 ธันวาคม ค.ศ. 1777(1777-12-23)
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, จักรวรรดิรัสเซีย
สวรรคต19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1825(1825-11-19) (47 ปี)
ตาเกนรอค, จักรวรรดิรัสเซีย
ฝังพระศพ13 มีนาคม 1826
มหาวิหารปีเตอร์และพอล
คู่อภิเษกเยลีซาเวตา อะเลคเซยีฟนา (ลูอีเซอแห่งบาเดิน) (สมรส 1793)
พระราชบุตรนีโคไล ลูกาซ (นอกกฎหมาย)
พระนามเต็ม
อะเลคซันดร์ ปัฟโลวิช โรมานอฟ
ราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ
พระราชบิดาจักรพรรดิปัฟเวลที่ 1 แห่งรัสเซีย
พระราชมารดามารีเยีย เฟโอโดรอฟนา (โซฟี โดโรเทอาแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค)
ศาสนารัสเซียออร์ทอดอกซ์
ลายพระอภิไธย

จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 หรือพระนามเต็มคือ อะเลคซันดร์ ปัฟโลวิช (รัสเซีย: Александр Павлович 23 ธันวาคม [ตามปฎิทินเก่า: 12 ธันวาคม] ค.ศ. 1777 – 1 ธันวาคม [ตามปฎิทินเก่า: 19 พฤศจิกายน] ค.ศ. 1825) เป็นจักรพรรดิแห่งรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1825 และเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์องค์แรกที่เป็นชาวรัสเซีย ระหว่างค.ศ. 1815 ถึง 1825 และยังทรงเป็นแกรนด์ดยุกแห่งฟินแลนด์ชาวรัสเซียองค์แรกเช่นกัน นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นบิดาอุปถัมภ์ของเจ้าหญิงอเล็กซันดรินา วิกตอเรีย แห่งเคนต์ (ภายหลังคือสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย)

ซาร์อะเลคซันดร์ที่ 1 เสด็จพระราชสมภพในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เป็นโอรสของแกรนด์ดยุกพอล เปโตรวิช (ภายหลังคือจักรพรรดิพอลที่ 1) และขึ้นครองราชบังลังก์รัสเซียภายหลังที่พระบิดาถูกปลงพระชนม์ พระองค์ปกครองรัสเซียในช่วงที่ยุโรปเกิดสงครามใหญ่ คือสงครามนโปเลียน แม้พระองค์เป็นคนหัวเสรีแต่ก็ทรงใช้นโยบายการปกครองแบบรวมศูนย์ ในปีแรกของรัชสมัย พระองค์ทรงริเริ่มการปฏิรูปขนานเล็กในสังคม และไม่กี่ปีต่อมาก็มีการปฏิรูปสังคมขนานใหญ่ ทรงปฏิรูปการศึกษาให้มีความเป็นเสรี และแม้ว่าทรงให้คำมั่นที่จะปฏิรูปรัฐธรรมนูญและการปฏิรูประบอบทาสอย่างเด็ดขาด แต่ประเด็นนี้ก็ไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม

พระองค์เข้าร่วมกับพันธมิตรต่อต้านนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสที่มีสหราชอาณาจักรเป็นแกนนำ โดยในปี 1805 ได้เข้าร่วมกับสหราชอาณาจักรในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม จนกระทั่งพบความพ่ายแพ้ใหญ่หลวงในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ก็ทำให้พระองค์หันมาผูกมิตรกับนโปเลียน หลังจากนั้น รัสเซียก็หันไปทำการรบย่อยทางทะเลกับสหราชอาณาจักรระหว่างปี 1807 ถึง 1812 อย่างไรก็ตาม พระองค์กับนโปเลียนก็มีความขัดแย้งกันเสมอในเรื่องเกี่ยวกับโปแลนด์ ความขัดแย้งนี้ทำให้พันธมิตรรัสเซีย-ฝรั่งเศสพังทลายลงในปี 1810 และทำให้นโปเลียนยกทัพเข้ารุกรานรัสเซียในปี 1812 ซึ่งนำความพินาศย่อยยับมาสู่กองทัพของนโปเลียน นอกจากนี้ ยังทรงยึดครองดินแดนได้อีกมายมาย อาทิ บางส่วนของจอร์เจีย, ดาจีสถานในปัจจุบัน และยังแย่งชิงอาเซอร์ไบจานมาจากเปอร์เซีย

ความดีความชอบในการมีส่วนร่วมโค่นล้มนโปเลียน ทำให้รัสเซียได้ดินแดนในฟินแลนด์และโปแลนด์บางส่วนมา และพระองค์ยังได้จัดตั้งพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อหยุดยั้งกระแสการปฏิวัติในทวีปยุโรปซึ่งพระองค์มองว่าเป็นภัยคุกคามที่ชั่วร้ายต่อระบอบกษัตริย์ชาวคริสต์อันชอบธรรม ในช่วงครึ่งหลังของรัชกาล อะเลคซันดร์เริ่มกลายเป็นจักรพรรดิผู้บ้าอำนาจ ก่อให้เกิดกลุ่มต่อต้านพระองค์มากมาย และพระองค์เองก็มีจิตหวาดระแวงต่อแผนลับเพื่อโค่นล้มพระองค์ ส่งผลให้การปฏิรูปหลายอย่างที่พระองค์ทำเอาไว้ก่อนหน้าเป็นอันยุติ พระองค์สั่งปิดโรงเรียนที่มีครูต่างชาติ การศึกษามีความยึดโยงกับศาสนามากขึ้น เช่นเดียวกับระบบการปกครองที่ดูโน้มเอียงสู่แบบเก่า

อะเลคซันดร์ที่ 1 สวรรคตจากไข้รากสาดใหญ่เมื่อปี 1825 ขณะเดินทางประพาสภาคใต้ของรัสเซีย และเนื่องจากพระองค์ไม่มีทายาท ส่งผลให้แกรนด์ดยุกคอนสแตนติน ปาฟโลวิช พระอนุชาองค์ใหญ่ซึ่งประทับอยู่ในโปแลนด์ กลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐาน ในการนี้ แกรนด์ดยุกนีโคลัส พระอนุชาองค์เล็ก เป็นผู้ออกคำประกาศในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กให้แกรนด์ดยุกคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ แต่เมื่อคำประกาศเดินทางถึงโปแลนด์ แกรนด์ดยุกคอนสแตนตินกลับปฏิเสธราชสมบัติ ส่งผลให้ราชสมบัติตกสู่แกรนด์ดยุกนีโคลัส

หมายเหตุ[แก้]

  1. [ตามปฎิทินเก่า: 15 กันยายน]

อ้างอิง[แก้]

  • Avery, Peter; Fisher, William Bayne; Hambly, Gavin; Melville, Charles (1991). The Cambridge history of Iran: From Nadir Shah to the Islamic Republic. Cambridge University Press. p. 332. ISBN 978-0-521-20095-0.
  • Baddeley, John F. (1908). The Russian Conquest of the Caucasus. London: Longmans, Green and Company. p. 67.
  • Berlin, A. (1768). "Table 23". Genealogie ascendante jusqu'au quatrieme degre inclusivement de tous les Rois et Princes de maisons souveraines de l'Europe actuellement vivans [Genealogy up to the fourth degree inclusive of all the Kings and Princes of sovereign houses of Europe currently living] (ภาษาฝรั่งเศส). Bourdeaux: Frederic Guillaume Birnstiel. p. 23.
  • Chapman, Tim (2001). Imperial Russia, 1801–1905 (illustrated, reprint ed.). Routledge. p. 29. ISBN 978-0-415-23110-7.


ก่อนหน้า อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ถัดไป
จักรพรรดิพอลที่ 1
จักรพรรดิแห่งรัสเซีย
(24 มีนาคม ค.ศ. 1801 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1825)
แกรนด์ดยุกคอนสตันติน
(โต้แย้ง)