สถานีรถไฟจิตรลดา
สถานีรถไฟจิตรลดา | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีรถไฟชั้นพิเศษ | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ชื่ออื่น | สถานีรถไฟหลวงจิตรลดา | ||||||||||||||||
ที่ตั้ง | สวนจิตรลดา ถนนสวรรคโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||
พิกัด | 13°45′59″N 100°31′28″E / 13.76648°N 100.52452°E | ||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ระดับชานชาลา | ชั้นพิเศษ (เขตพระราชฐาน) | ||||||||||||||||
รูปแบบสถาปัตยกรรม | อาคารก่ออิฐฉาบปูนชั้นเดียว | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
สถานะ | ใช้เฉพาะราชวงศ์ | ||||||||||||||||
รหัสสถานี | 1003 (จล.) | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | พ.ศ. 2442 | ||||||||||||||||
สร้างใหม่ | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2462 | ||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ | |||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟจิตรลดา หรือ สถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา เป็นสถานีที่สร้างขึ้น สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อมีการเสด็จฯ ทางรถไฟ[1] อีกทั้งได้เคยใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะในบางโอกาส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสวนจิตรลดา ถนนสวรรคโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของทางรถไฟ
ถัดไปทางเหนือสถานีมีที่หยุดรถไฟโรงพยาบาลรามาธิบดี สำหรับผู้โดยสารรถไฟชานเมือง
ประวัติ
[แก้]สถานีรถไฟจิตรลดา เป็นสถานีสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวุงศ์เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานที่ประทับไปยังสถานีต่างๆ โดยสถานีรถไฟจิตรลดาในปัจจุบันนั้นสร้างขึ้นมาแทนสถานีรถไฟหลวง (สามเสน) ที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2442 ตั้งอยู่ริมคลองสามเสนฝั่งทางใต้ โดยกรมรถไฟได้สร้างสถานีรถไฟสวนจิตรลดาบนพื้นที่ใหม่ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต และอยู่ทางด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟหลวง (สามเสน)
อาคารสถานีรถไฟจิตรลดาได้รับการออกแบบโดยนายมารีโอ ตามัญโญ (Mr. Mario Tamagno) สถาปนิกชาวอิตาลี เริ่มการออกแบบใน พ.ศ. 2458 ก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 และมีพิธีเปิดใช้อาคารอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2462
สำหรับอาคารสถานีรถไฟหลวง (สามเสน) กรมรถไฟได้รื้อและได้นำโครงสร้างและส่วนประกอบของหลังคาคลุมชานชาลาไปปลูกที่สถานีรถไฟปากน้ำโพจนกระทั่งถูกวาตภัยพัดเสียหายเมื่อ พ.ศ. 2532 ส่วนอาคารสถานีทรงปั้นหยาได้นำไปปลูกเป็นห้องสมุดในบริเวณกรมรถไฟหลังจากนั้นได้ถูกทำลายไปพร้อมกับการทิ้งระเบิดในย่านสถานีกรุงเทพในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา[2]
สถาปัตยกรรม
[แก้]สถานีรถไฟหลวง (สามเสน)
[แก้]อาคารเป็นไม้ผังพื้นอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ส่วนอาคารสถานีทรงปั้นหยา
- ส่วนชานชาลา และคลังคาคลุมชานชลา
ซึ่งแต่ละส่วนมีหลังคาคลุมของตนเอง
สถานีรถไฟจิตรลดา
[แก้]อาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวผังพื้นอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาว แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ
- มุขทางเข้าเป็นมุขยื่นตรงกึ่งกลางอาคารสำหรับเทียบรถยนต์พระที่นั่ง
- โถงมุขกลาง อาคารเป็นโถงโล่งภายในและโถงพักคอยติดกับชานชาลา โดยผนังอาคารด้านที่หันหน้าสู่ถนนสวรรคโลกเป็นผนังก่อทึบ ส่วนด้านที่หันไปทางรางรถไฟเปิดโล่งตลอดแนวขนานไปกับรางรถไฟ
- หลังคามุขทางเข้า และโถงพักคอยเป็นหลังคาคอนกรีตแบนมีชายคายื่นคลุมรอบอาคาร ส่วนหลังคาเหนือโถงมุขกลางเป็นหลังคาโดมมีช่องหน้าต่างสำหรับให้แสงส่องเข้าไปที่โถงด้านล่าง ภายในโถงมุขกลางมีเพดานเป็นโดมอีกชั้นหนึ่งโดยมีการเขียนลวดลายตกแต่งสวยงาม[2]
วโรกาสที่ใช้
[แก้]แม้ว่าปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จพระราชดำเนินโดยทางคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ทางถนน หรือทางอากาศ เป็นหลัก ไม่มีการเสด็จโดยขบวนรถไฟมากเหมือนอย่างในอดีต แต่สถานีนี้ยังคงมีโอกาสใช้งานสนองพระราชกรณียกิจหลายครั้ง เช่น
- การเสด็จพระดำเนินของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530 และไปทรงเปิดห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ที่หลังสถานีรถไฟท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2535
- การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ ไปทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระมหากษัตริย์ในอดีต ในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2531[3]
- เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จโดยรถไฟพระที่นั่งขบวนพิเศษ 945 ออกจากสถานีรถไฟจิตรลดา เวลา 11.30 น.ทรงนำคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ไปทัศนศึกษาที่ จ.กาญจนบุรี ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์, สะพานข้ามแม่น้ำแคว, สุสานทหารสัมพันธมิตร,ศูนย์สงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี, ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี, โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเก่า และอุทยานแห่งชาติไทรโยค ในระหว่างวันที่ 16 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558
สำหรับพระราชอาคันตุกะที่ได้รับการต้อนรับที่สถานีรถไฟจิตรลดา เช่น สมเด็จพระนโรดม สีหนุแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา, สมเด็จพระเจ้าเฟรดดริคที่ 9 แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก และ ซูการ์โน ประธานาธิบดีประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2487, 12 มกราคม พ.ศ. 2502 และ 16 เมษายน พ.ศ. 2504 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสามครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินต้อนรับพระราชอาคันตุกะด้วยพระองค์เอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "คำถวายชัยมงคล สำหรับเมืองนครลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
- ↑ 2.0 2.1 การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟในฐานะมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย (2014). "อาคารสถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา" (PDF). rotfaithai.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก พระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบัน หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับกาญจนาภิเษก