ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bact (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Bact (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ=รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475|สำหรับ=รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 27 มิถุนายน 2475|ดูที่=พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475}}

{{กล่องข้อมูล กฎหมาย
{{กล่องข้อมูล กฎหมาย
| ชื่อเต็ม = รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
| ชื่อเต็ม = รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:18, 20 มิถุนายน 2563

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราสภาผู้แทนราษฎร
ผู้ลงนามสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี พระปกเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม
วันลงนาม10 ธันวาคม 2475
ผู้ลงนามรับรองพระยามโนปกรณนิติธาดา
(ประธานคณะกรรมการราษฎร)
วันลงนามรับรอง10 ธันวาคม 2475
วันประกาศ10 ธันวาคม 2475
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๙/หน้า ๕๒๙/๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕)
วันเริ่มใช้10 ธันวาคม 2475
ท้องที่ใช้ไทย ราชอาณาจักรสยาม
การร่าง
ชื่อร่างร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
ผู้ยกร่างสภาผู้แทนราษฎร
การแก้ไขเพิ่มเติม
การยกเลิก
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 แทน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ต่อจากพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน

มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ 3 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2482 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมีพลตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ไปด้วย

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล ซึ่งเสนอโดยขุนบุรัสการกิตติคดี (เหมือน บุรัสการ) ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี โดยการสนับสนุนของรัฐบาล ซึ่งมีนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อันมีผลให้บทเฉพาะกาลซึ่งควรจะต้องสิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม 2485 เป็นอย่างช้า ยืดเวลาออกไปอีก 10 ปี แก่นแท้ของการเสนอยึดบทเฉพาะกาลก็คือ การคงอยู่ต่อไปอีกของสมาชิกประเภทที่ 2 อันมาจากการแต่งตั้ง

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้สามารถขยายเวลาอยู่ในตำแหน่งผู้แทนราษฎรออกไปอีกคราวละ 2 ปี

อ้างอิง