ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hamleamsrijan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Hamleamsrijan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล อาจารย์
{{กล่องข้อมูล นักดนตรี
| ชื่อ =
| ชื่อ =
| color =
| color =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:55, 2 ธันวาคม 2559

วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์
ไฟล์:Wiroj tangwanit.jpg
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์
เกิด29 มกราคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
ที่เกิดอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
อาชีพอาจารย์
ช่วงปีพ.ศ. 2516-ปัจจุบัน

วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า อาจารย์วิโรจน์ เป็นคนไทยเชื้อสายจีนแซ่ตั้ง จบการมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดราชาธิวาสจบการศึกษามหาวิทยาลัยจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เอกประวัติศาสตร์) ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้นเคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวกับขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 6 ตุลา เมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นนักศึกษา 1 ใน 2 คนที่แสดงละครล้อการเมืองที่ต่อมาถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (อีก 1 คนนั้นคือ อภินันท์ บัวหภักดี) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ต่อมา

หลังจากเหตุการณ์นี้ได้ถูกจองจำในเรือนจำถึง 2 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2521 จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษออกมาสู่อิสรภาพ จากนั้นจึงเดินทางไปภาคใต้ หาเลี้ยงชีพด้วยการร้องเพลงในสถานบันเทิงต่าง ๆ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2526 จะเดินทางไปศึกษาปริญญาโทด้านภาษาจีนต่อที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยใช้เวลาศึกษาอยู่นาน 5 ปี[1]

หลังจากนั้นแล้ว ได้เป็นวิทยากรและอาจารย์พิเศษบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับจีนหรือภูมิปัญญาจีน ตามสถานศึกษาต่าง ๆ จนมาถึงปัจจุบัน[2]

เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางครั้งแรกจากการเป็นพิธีกรภาคสนามจากรายการ ตามไปดู ทางช่อง 9

ชีวิตส่วนตัว เป็นบุคคลสาธารณะอีกหนึ่งคนในสังคมไทยที่ยอมรับว่าตัวเองเป็นกะเทย

นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นนักแสดงในบทประกอบจากภาพยนตร์และละครเรื่องต่าง ๆ อาทิ หงส์เหนือมังกร พ.ศ. 2543, สุริโยไท พ.ศ. 2544,มังกรเดียวดาย (ภาคต่อหงส์เหนือมังกร) พ.ศ. 2547, หมวยอินเตอร์ พ.ศ. 2551, มงกุฎดอกส้ม พ.ศ. 2554, หงส์เหนือมังกร พ.ศ. 2559 และในการถ่ายทอดพิธีเปิดและพิธีปิดโอลิมปิก 2008 ที่ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) เป็นผู้ถ่ายทอดสัญญาณในประเทศไทย ก็รับหน้าที่ผู้บรรยายร่วมด้วย

งานการเมือง

ในเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-พ.ศ. 2551 ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2551 เป็นผู้กำกับการแสดง "งิ้วธรรมศาสตร์" ที่เป็นการแสดงงิ้วล้อการเมืองระหว่างการชุมนุม ซึ่งเป็นที่ฮือฮาและกล่าวขานถึงอีกด้วย[3]

เคยเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง เพราะได้รับการเลือกมาป็นลำดับที่ 27 ได้คะแนน 11,438 คะแนน[4]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 9[5] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[6]

เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทยแห่งแรกที่ทำงานเรื่องความหลากหลายทางเพศ

อ้างอิง