ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gogo2555 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ตามตัวอักษรสิ จะได้ไม่ต้องแก่งแย่งกัน
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
{{บน}}
{{บน}}
* '''กลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐบาล'''
* '''กลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐบาล'''
<!--เรียงตามตัวอักษรไทย-->
* [[มหาวิทยาลัยขอนแก่น]]
* [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
* [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
* [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
* [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
* [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]]
* [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]
* [[มหาวิทยาลัยขอนแก่น]]
* [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]]
* [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]]
* [[มหาวิทยาลัยนเรศวร]]
* [[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]]
* [[มหาวิทยาลัยทักษิณ]]
* [[มหาวิทยาลัยทักษิณ]]
* [[มหาวิทยาลัยพะเยา]]
* [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
* [[มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี]]
* [[มหาวิทยาลัยนเรศวร]]
* [[มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]]
* [[มหาวิทยาลัยบูรพา]]
* [[มหาวิทยาลัยบูรพา]]
* [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]
* [[มหาวิทยาลัยพะเยา]]
* [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]]
* [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]]
* [[มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]]
* [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
* [[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]]
* [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]]
* [[มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี]]
* '''กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน'''
* '''กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน'''
* [[มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี]]
* [[มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:21, 26 พฤษภาคม 2555

เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปภัมภ์ เป็นองค์การอิสระ ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2507 ซึ่งตราขึ้นโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นสภานายกพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ควบคุมกิจการทั้งปวงของสภา และยับยั้งมติของสภาด้วย กับทั้งมีประธานศาลฎีกา เป็นนายก ประธานศาลอุทธรณ์ เป็นอุปนายกคนที่ 1 และอัยการสูงสุด เป็นอุปนายกคนที่ 2

สภามีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์ และการประกอบอาชีพทางกฎหมาย รวมทั้งจัดหาทุนเพื่อการนั้น ตลอดจนส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริจัดตั้งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อประสงค์บำรุงการศึกษาวิชากฎหมายทั้งการรักษาความประพฤติของทนายความ ให้ตั้งอยู่ในสัจธรรม ให้สาธารณชนได้อาศัยทนายความซึ่งมีความสามารถและสมควรที่จะเชื่อถือได้ดียิ่งขึ้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาอภัยราชา เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และกรมหลวงสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ อธิบดีศาลฎีกา พิจารณาร่างข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา ทรงรับเนติบัณฑิตยสภาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2457 และถือเป็น "วันกำเนิดเนติบัณฑิตยสภา"

สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

เมื่อ พ.ศ. 2491 เนติบัณฑิตยสภาได้จัดตั้ง สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา มีหลักสูตรตามแบบอย่างของ "สภาการศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาประเทศอังกฤษ" และต้องตามมติของ "เนติบัณฑิตยสภาสากล" ซึ่งได้มีมติในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 ว่า การจัดการศึกษาวิชากฎหมายนั้นจำเป็นต้องให้มีการศึกษาภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอเสียก่อนที่จะอนุญาตเข้าปฏิบัติงานในวิชาชีพกฎหมาย

สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เริ่มเปิดการสอนและศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ผู้ที่สอบไล่ได้ตามหลักสูตร และเนติบัณฑิตยสภาได้ยอมรับเข้าเป็นสามัญสมาชิกแล้ว ให้เป็นเนติบัณฑิต (Barrister-at-Law) เรียกว่า เนติบัณฑิตไทย ใช้อักษรย่อ น.บ.ท.

การสมัครเข้าเป็นนักศึกษา

ผู้เป็นนักศึกษาในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาต้องเป็น

(1) ผู้สอบไล่ได้ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

(2) ผู้ที่ได้ศึกษาวิชานิติศาสตร์ในสถาบันอื่น ในหรือนอกประเทศไทย และสอบไล่ได้ตามมาตราฐานซึ่งคณะกรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เทียบให้ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะดังกล่าว ใน (1) ซึ่งในทางปฏิบัติ คณะกรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ได้เทียบระดับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับรองมาตราฐานการศึกษาแล้ว

สถาบันอุดมศึกษาที่ผ่านการรับรองจากเนติบัณฑิตยสภา

คณะกรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา อนุมัติสถาบันอุดมศึกษาที่สามารถสอบเนติบัณฑิตได้ ดังนี้[1]

...ข้อมูล เนติบัณฑิตยสภา ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

หลักสูตรการเรียนการสอน

  • ภาคเรียนที่หนึ่ง

กลุ่มวิชากฎหมายแพ่ง ได้แก่ วิชาทรัพย์-ที่ดิน l นิติกรรม-สัญญา l หนี้ l ละเมิด l ซื้อขาย-เช่าทรัพย์-เช่าซื้อ l ยืม-ค้ำประกัน-จำนอง-จำนำ l ตัวแทน-ประกันภัย-ตั๋วเงิน-บัญชีเดินสะพัด l หุ้นส่วน-บริษัท l ครอบครัว l มรดก l กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา l กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

การเรียนการสอนในกลุ่มวิชากฎหมายแพ่งนั้น จะใช้บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้งหมด แต่ในส่วนของวิชาละเมิด ได้มีการนำหลักความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาประกอบการเรียนการสอนด้วย

กลุ่มวิชากฎหมายอาญา ได้แก่ วิชากฎหมายอาญา l กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงาน l รัฐธรรมนูญ l กฎหมายปกครอง l กฎหมายภาษีอากร

ในส่วนของกฎหมายอาญานั้น จะมีการแบ่งออกไปเป็น 3 วิชา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59-106 1 วิชา 1-58,107-208 1 วิชา และ มาตรา 288-366 อีก 1วิชา

  • ภาคเรียนที่สอง

กลุ่มวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้แก่ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง l กฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ l ระบบศาลและพระธรรมนูญศาลยุติธรรม l

กลุ่มวิชากฎหมายวิธิพิจารณาอาญา ได้แก่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา l สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม l กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน l วิชาว่าความและการถามพยาน l การจัดทำเอกสารทางกฎหมาย

การจบหลักสูตร

ผู้ที่จะถือว่าจบหลักสูตรเป็นเนติบัณฑิตได้นั้น จะต้องสอบผ่านการสอบข้อเขียนทั้งสองภาค โดยในการสอบแต่ละภาคจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป และผ่านการสอบปากเปล่า ผู้ที่สามารถสอบผ่านภาคหนึ่งภาคใดได้ ไม่ต้องสอบข้อเขียนของภาคนั้นอีก แม้ว่าจะสอบข้อเขียนอีกภาคหนึ่งตก เมื่อสอบได้ทั้งสองภาคจึงมีสิทธิสอบปากเปล่า

การสอบปากเปล่า กรรมการผู้สอบจะวินิจฉัยเพียงว่า "สอบได้" หรือ "สอบตก" เท่านั้น ถ้าผู้สอบปากเปล่าผู้ใดสอบตก ผู้นั้นมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่ากับคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นเพื่อการนั้นในวันเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ถ้าผู้สอบปากเปล่าตกในการเรียนสมัยใด (หรือปีใด) ผู้นั้นมีสิทธิสอบแก้ตัวอีกสามครั้ง หากยังสอบไม่ผ่านอีกเป็นครั้งที่สาม ให้ถือว่าการสอบข้อเขียนทั้งสองภาคที่ได้ไว้แล้วนั้นเป็นอันยกเลิก

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง