จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ้านทรายทอง เป็นนวนิยายอมตะเรื่องหนึ่งของวงการวรรณกรรมไทย เขียนโดย ก.สุรางคนางค์ (กัณหา เคียงศิริ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2529) นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียง ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารรายปักษ์ชื่อ "ปิยมิตร" ประมาณปี พ.ศ. 2493 เคยเป็น ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ ได้รับความนิยมสูงตลอดมา
สวลี ผกาพันธุ์ มีชื่อเสียงจากบทสาวน้อยถักผมเปีย พจมาน สว่างวงศ์ คนแรกในวงการแสดง จากละครเวทีของคณะอัศวินการละคร ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ที่ ศาลาเฉลิมไทย พ.ศ. 2494 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ปัจจุบันบริษัทบีเคพีนำภาพยนตร์เวอร์ชันจารุณี สุขสวัสดิ์, พอเจตน์ แก่นเพชร ที่เคยฉายเมื่อ พ.ศ. 2523 ซึ่งทำรายได้ประมาณ 20 ล้านบาท มารีมาสเตอร์ใหม่ภายใต้โปรเจกต์ The Legend Collection
เนื่อเรื่องเดิมจบที่พจมานแต่งงานกับชายกลาง ต่อมาผู้ประพันธ์ ได้แต่งเพิ่มภาคต่อหลังการแสดงละครเวที ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง และได้นำมาแสดงทางไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ต่อมาจึงรวมทั้งสองภาคเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวถึง "พจมาน พินิจนันท์" ก้าวเข้ามาอยู่ในบ้านทรายทอง ตามคำสั่งเสียสุดท้ายของพ่อเพื่อเรียนต่อในกรุงเทพฯ เธอถูกกลั่นแกล้งสารพัดโดย หม่อมแม่และหญิงเล็ก ด้วยกลัวว่าพจมานจะพรากบ้านหลังนี้ไปครอง แต่ในที่สุดเธอก็สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งหลายได้สำเร็จด้วยการช่วยเหลือจาก หญิงใหญ่ และชายกลาง รวมทั้ง ชายเล็ก ผู้พิการที่รักเธอเหมือนพี่สาว
พจมาน เด็กสาวผู้มีความหยิ่งในศักดิ์ศรีและชาติกำเนิดของตน แม้จะเป็นเพียงสามัญชนคนธรรมดาก็ตาม เธอจำเป็นต้องจากบ้านสวนเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือต่อ ตามความประสงค์ของบิดาที่เขียนสั่งไว้ก่อนเสียชีวิต ให้พจมานไปอาศัยอยู่กับครอบครัวหม่อมพรรณราย ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพ่อที่บ้านทรายทอง เธอถูกกลั่นแกล้งตั้งแต่เข้ามาอยู่ โดยมีหม่อมแม่และคุณหญิงเล็กน้องสาวของชายกลาง รวมถึงคนรับใช้ทุกคนในบ้านคอยแกล้งเธอ ชายกลางสงสาร และให้คุณหญิงใหญ่พี่สาวคนโตคอยช่วยเหลือ และพจมานก็คอยดูแลเอาใจใส่น้องชายคนเล็กของชายกลางที่เป็นง่อย เธอแสดงให้เห็นว่าเธอเป็นคนที่เข้มแข็งอดทนมีจิตใจที่ดีงาม จนสามารถเอาชนะใจของชายกลาง และอีกหลาย ๆ คน จนเป็นผลสำเร็จ จนทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกันในที่สุด
พจมาน แต่งงานกับชายกลาง ที่บ้านทรายทอง หม่อมพรรณรายมางานอย่างเสียมิได้ น้องสาวของพจมาน พจนีย์ก็มาเรียกร้องสิทธิ์จะอาศัยอยู่ด้วย เมื่อทั้งสองกลับจากฮันนีมูน ก็พบกับปัญหาต่าง ๆ นานา ทั้งไสวแม่บ้านและพจนีย์กับเด็กบุญเรือน ที่มักจะนำเรื่องภายในบ้านไปกระจายข่าว ทำให้เกิดเรื่องขัดแย้งกันเสมอ สามีเก่าของพจนีย์ก็มาขอเงินไปรักษาตัว จนไสวเอาไปรายงานหม่อมพรรณราย ทั้งพจนีย์และคนอื่น ๆ ก็กล่าวหาพจมานในทางเสื่อมเสีย หญิงเล็กก็แต่งงานกับนายบุญเติมเศรษฐีซึ่งมีประวัติไม่ดีนัก เมื่อน้องชายป่วยและเสียชีวิตในที่สุด พจมานเสียใจมากและเหน็ดเหนื่อยกับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน จึงขอไปอยู่กับแม่ที่ต่างจังหวัดสักระยะ จนพจนีย์ไปพบจดหมายของสามีตนจึงเข้าใจพี่สาวและประกาศให้ทุกคนรู้ หม่อมพรรณรายเมื่อสูญเสียชายน้อย และรู้ว่ากำลังจะมีหลาน ก็ลดทิฏฐิลงหญิงใหญ่บอกชายกลางว่าเขากำลังจะมีลูก ชายกลางดีใจมาก รีบไปรับพจมานและบอกพจมานว่าความดีที่เพียรพยายามทำนั้น ในที่สุดทุกคนก็ยอมรับพจมานจึงกลับสู่บ้านทรายทอง และพบกับความเข้าใจของทุกคน
บ้านทรายทองถูกนำมาเผยแพร่ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2494 โดยสร้างเป็นละครเวทีของคณะอัศวินการละคร นำแสดงโดย ฉลอง สิมะเสถียร, สวลี ผกาพันธุ์, กัณฑรีย์ นาคประภา หลังจากนั้นคุณก.สุรางคนางค์ได้แต่งภาคต่อของบ้านทรายทองในชื่อพจมาน สว่างวงศ์ ก็ได้มีการนำมาดัดแปลงแสดงโดยพจนีย์ โปร่งมณี จากนั้นบ้านทรายทองถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์16มม. นำแสดงโดย ชนะ ศรีอุบล, เรวดี ศิริวิไล, ประภาพรรณ นาคทอง ต่อมาสวลี ผกาพันธุ์ นำเรื่องนี้มาแสดงที่ช่อง 4 บางขุนพรหม อีกครั้งเมื่อปีพ.ศ. 2501 โดยเธอแสดงเป็นพจมานเหมือนเดิม อีก10ปีถัดมา กัณฑรีย์ นาคประภา ได้หยิบละครเรื่องนี้มาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกครั้ง นำแสดงโดย อรัญญา นามวงศ์ และ ฉลอง สิมะเสถียร และเธอก็แสดงเป็นหญิงเล็กอีกครั้ง ต่อมาคุณอรวรรณ โปร่งมณี นำมาทำเป็นละครที่ช่อง 9 คุณศันสนีย์ สมานวรวงศ์ เป็นพจมาน ส่วนชายกลางเปลี่ยนจากคุณฉลองเป็นคุณสมภพ เบญจาธิกุล จากนั้นรุจน์ รณภพ นำมาทำเป็นภาพยนตร์ 35 มม. นำแสดงโดย พอเจตน์ แก่นเพชรและจารุณี สุขสวัสดิ์ บ้านทรายทองถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกครั้งที่ช่อง 7 นำแสดงโดยมนฤดี ยมาภัยและศรัณยู วงษ์กระจ่าง ถัดมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์นำแสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์และรินลณี ศรีเพ็ญ จากนั้นอีก 15 ปีบ้านทรายทองถูกนำมาสร้างอีกครั้ง นำแสดงโดยวีรภาพ สุภาพไพบูลย์ และพีชญา วัฒนามนตรี
|
---|
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554) | |
---|
ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555) | |
---|
ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556) | |
---|
ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557) | |
---|
ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558) | |
---|
ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559) | |
---|
ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560) | พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๖๙ (พ.ศ. 2469) • การเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นของคณะทูตไทยในการไปเจรจาตกลง การเรียกร้องดินแดนคืนจากรัฐบาล อินโด-จีน ของฝรั่งเศส ถึงกรุงเทพพระมหานคร (พ.ศ. 2484) • ทะเลรัก (พ.ศ. 2496) • พิธีเปิดป้าย พรรคเสรีมนังคศิลา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ (พ.ศ. 2499) • ไทยไดมารู (พ.ศ. 2507) • ศึกบางระจัน (พ.ศ. 2509) • กองพันจงอางศึก [พ.ศ. 2510] • ชุมแพ (พ.ศ. 2519) • เพลงรักเพื่อเธอ (พ.ศ. 2521) • บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523) • หลวงตา (พ.ศ. 2523) • มือปืน (พ.ศ. 2526) • ข้างหลังภาพ (พ.ศ. 2528) • ฉลุย (พ.ศ. 2531) • เกรซแลนด์ GRACELAND (พ.ศ. 2549) |
---|
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561) | |
---|
ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562) | |
---|
ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563) | |
---|
ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564) | |
---|
ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) | กิจการในกระทรวงพาณิชย์ แล คมนาคม THE ACTIVITIES OF THE MINISTRY OF COMMERCE AND COMMUNICATIONS [2470 - 2472] • [ตัดหัวต่อหัว] [2470 - 2473] • ดรรชนีนาง (2496) • [งานอภิเษกพระสังฆราชมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต] (2496) • [การประกวดการจัดบ้านและบริเวณ] (2497) • [จอมพลสฤษดิ์ไปอเมริกา] (2501) • เด็กกับหมี The Children and the Bear (2502) • มันมากับความมืด (2514) • แหวนทองเหลือง (2516) • เทพธิดาบาร์ 21 (2521) • ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533) • October Sonata รักที่รอคอย (2552) |
---|
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566) | |
---|
ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567) | Compte-rendu de Mission Archéologique…au SIAM ~ NOV-DEC 1929 ~ (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม พฤศจิกายนถึงธันวาคม 2472) (2472) • WEDDING TRIP TO BANGKOK 1938-1939 (2481-2482) • PRINCE PARIBATRA OF SIAM (2491) • [สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย] (2492) • สามพราน (2503) • น้อยไจยา (2509) • บ๊าย..บาย ไทยแลนด์ (ไม่ปรากฏวันออกฉาย) • คนกราบหมา (2540 / ฉบับ Director’s Cut 2567) • Birth of Seanéma (2547) • กระเบนราหู (2562) |
---|
|