ศรุต วิจิตรานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรุต วิจิตรานนท์
ชื่อเกิดวิทย์ วิจิตรานนท์
เกิด28 ตุลาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
ประเทศไทย
คู่สมรสชณัญพัชร์ วิจิตรานนท์
(2562 – ปัจจุบัน)
บุตร1 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • พิธีกร
  • นักดนตรี
ปีที่แสดงพ.ศ. 2534–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นยศพงษ์พญาโศก (2558) พรลิขิตริษยา (2559)
ออกพระเพทราชา (ทองคำ)บุพเพสันนิวาส (2561)
พระสุวรรณราชา (พัน)สายโลหิต (2561)
ชัชชัยโซ่เวรี (2563)
สมเด็จพระเพทราชาพรหมลิขิต (2566)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเบส
ช่วงปีพ.ศ. 2539−ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิค
สมาชิกของโซลอาฟเตอร์ซิกซ์

ศรุต วิจิตรานนท์ (เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2515) ชื่อเล่น บิ๊ก เป็นนักแสดง พิธีกร นักดนตรีชาวไทย และเป็นนักดนตรีวงโซลอาฟเตอร์ซิกซ์ สังกัดเบเกอรี่มิวสิค รับหน้าที่ตำแหน่งมือเบส[1]

ประวัติ[แก้]

ศรุตศึกษาที่ โรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา จากนั้นศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ได้เริ่มตั้งวงดนตรีตั้งแต่เรียนมัธยม และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแล้วย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เจอเพื่อนวงโซลอาฟเตอร์ซิกซ์ที่นี่จึงได้ก่อตั้งวงขึ้น[2] จนมีผลงานอัลบั้มแรกชุด Soul After Six ในปี พ.ศ. 2539 มีเพลงดังคือ "ก้อนหินละเมอ"[3] จากนั้นวงได้แยกย้ายกันนาน 6 ปี ก่อนจะกลับมารวมตัวกันในปี 2545 กับอัลบั้มชุด The Rhythm และมีอัลบั้มคัฟเวอร์ชุด Mellow Moods[4] ในปี 2561 ยังออกซิงเกิ้ล "ในฝัน" ซึ่งศรุตเป็นผู้ร้องเอง[5]

ศรุตก้าวสู่การแสดงโดยได้แสดงละครเรื่อง กุหลาบที่ไร้หนาม โดยเล่นเป็นพระรอง และมีผลงานแจ้งเกิดคือเรื่อง เก็บแผ่นดิน หลังจากนั้นก็มาเรื่อง เพลงผ้าฟ้าล้อมดาว แล้วก็มีเรื่อง แม้เลือกเกิดได้ จากนั้นได้แสดงเรื่อง บางระจัน รับบทเป็นนายทองแสงใหญ่[6] และมีผลงานออกมามากกว่า 35 เรื่อง แม้ละครเรื่องนั้นจะเป็นบทบาทสมทบ แต่ก็เป็นบทที่มีความโดดเด่นอยู่ไม่น้อย[7]

ในปี 2561 ได้รับบทเป็นพระเพทราชา ในละครอิงประวัติศาสตร์ บุพเพสันนิวาส ที่ต่อมาเริ่มมีคนสนใจในบทบาทนี้จนเป็นกระแส[7] และจากบทนี้ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 33 สาขาดาราสนับสนุนชายดีเด่น แต่พ่ายให้หลุยส์ สก๊อตจากละครเรื่องเดียวกัน[8][9] และได้รับรางวัลสยามดารา สตาร์ อวอร์ด 2018 สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม[10]

ด้านชีวิตส่วนตัว มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ สุภวิทย์ วิจิตรานนท์[11] ต่อมาในปี 2562 สมรสกับชณัญพัชร์[12]

ผลงาน[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ รับบทเป็น
2540 กุหลาบที่ไร้หนาม ช่อง 7
2541 หนึ่งใจของใบจักร ช่อง 5 ปาโมกข์
2542 เจ้าสาวของอานนท์ ตระกล สุทธากุล
2544 เก็บแผ่นดิน ช่อง 7 อองดี
แม้เลือกเกิดได้ ฝ้าย
สงครามดอกรัก ระพี
2546 สัญญาเมื่อสายัณห์ สุบรรเจิด
เมืองดาหลา อัซซาน
โซ่เสน่หา (รับเชิญ)
2547 เพลงผ้าฟ้าล้อมดาว สินฝ้าย
2548 เชลยบาป โฆษิต
2549 หลงเงาจันทร์ นพ.อานนท์
2550 เงื่อนริษยา จรัสพงศ์
สุภาพบุรุษชาวดิน สิทธิศักดิ์
ทะเลสาบนกกาเหว่า อังกูร
2551 เคหาสน์แสงจันทร์ โกศัลย์
ห้องสมุดสุดหรรษา นัท
2552 มงกุฎแสงจันทร์ ช่อง 3 ไมยาดิน
แม่หญิง ช่อง 7 เรวัต
2553 สูตรรักกับดักหัวใจ ก็อต
2554 เคหาสน์สีแดง ช่อง 3 ภาคินัย
ทาสรัก คุณหลวงอรรถ
เหนือมนุษย์ ช่อง 7 ดร.อมร เหมราช
2555 เก็บหอมออมรัก พิพัฒน์
แสบสลับขั้ว ปกรณ์
2556 เรือนเสน่หา ช่อง 5 หลวงวิทยาโอสถ (คุณหลวงไว)
คุณชายรัชชานนท์ ช่อง 3 เจ้าวีระวงศ์ / หม่อมหลวงวีระวงศ์ เทวพรหม
คุณชายรณพีร์ เจ้าวีระวงศ์ / หม่อมหลวงวีระวงศ์ เทวพรหม
สาปพระเพ็ง เจ้าแสงมิน
2557 คุ้มนางครวญ ช่อง 5 ครูบาสรี (อดีต) / มหาจรวย (ปัจจุบัน)
คมพยาบาท ช่อง 7 อุทัย อนุรักษ์ธานิน
พายุเทวดา มนต์
อนิลทิตา ช่อง 5 เจ้าพงศ์สุริยันต์
2558 บางระจัน ช่อง 3 นายทองแสงใหญ่
ดอกไม้ใต้เมฆ บูรพาสมิง
พญาโศก ช่อง 7 ยศพงษ์
บ้านทรายทอง
พจมาน สว่างวงศ์
เติม ธีระวณิช
2559 ระบำไฟ ช่อง 8 สิงคาร
ลิขิตริษยา ช่อง 7 พร
คงกระพันนารี ช่อง 3 แคล้ว (คำรบ)
สลักจิต ช่องวัน นายแพทย์ พิทย์ ภักดีบดินทร
2560 น้ำเซาะทราย ช่อง 7 ดร.พิมุข
พริ้ง คนเริงเมือง คุณพระจำรูญ
ลูกหลง ปราภพ ไพบูลย์พันธ์
สุดรักสุดดวงใจ นายแพทย์ไชยสิทธิ์ / หมอไชยสิทธิ์
2561 บุพเพสันนิวาส ช่อง 3 ออกพระเพทราชา (ทองคำ)
สกาวเดือน ช่อง 7 ทรงกริช
ริมฝั่งน้ำ ช่อง 3 พ.ต.ท. วีรกิจ สถิตย์หิรัญ (รับเชิญ)
สายโลหิต ช่อง 7 พระสุวรรณราชา (พัน)
พ่อตาปืนโต 2 หลานข้าใครอย่าแตะ ตะวัน
2562 ดอกคูนเสียงแคน จีเอ็มเอ็ม 25 พ.ต.อ. มังกร
พยัคฆ์ร้ายสาย(ส)ลับ ทรูโฟร์ยู ธงรบ
เขาวานให้หนูเป็นสายลับ ช่อง 3 เป็นหนึ่ง สุขเจริญ
2563 สะใภ้อิมพอร์ต ช่อง 7 วิชัย
ระบำเมฆ ช่อง 3 คิง / คีตา
รักแลกภพ ช่องวัน พระยาบรรณกิจโกศล
ฉลาดเกมส์โกง อาจารย์โสภณ
โซ่เวรี ช่อง 7 ชัชชัย สิริมันตรา
เพลิงนาง อมรินทร์ทีวี ศุภฤกษ์
2564 แก่นแก้ว ช่อง 3 เอกมนัส อาจหาญไชย (เอก) / วินิจ ภักดีพิสุทธิ์
2565 ซ่อนกลิ่น สมบูรณ์
บ่วงใบบุญ ช่อง 8 เกริก
ฟ้าเพียงดิน ช่องวัน บุญทอง
คือเธอ ช่อง 3 สรรเสริญ
บ่วงวิมาลา ช่อง 7 ชัชชัย สิริมันตรา
เข็มซ่อนปลาย พันกิจ อัศวธนกิจ
ลายกินรี ช่อง 3 ออกญายมราช
มัดหัวใจยัยซุปตาร์ ทัด (รับเชิญ)
2566 ที่สุดของหัวใจ ประวีร์ (รับเชิญ)
มณีพยาบาท ช่องวัน พระอาจารย์บุญ (ปัจจุบัน) / สุก (อดีต)
ใต้เงาตะวัน ช่อง 3 เกรียง เชิญอิสราชัย
บุษบาลุยไฟ ไทยพีบีเอส หลวงวิจิตรเจษฎา (ทองอยู่)
บุหงาส่าหรี ช่องวัน ป๋าเหวียง
สืบลับหมอระบาด ช่อง 3 นพดนัย ศรัณพิพัฒน์
ลมพัดผ่านดาว ช่อง 7 บดินทร์ (รับเชิญ)
พรหมลิขิต ช่อง 3 สมเด็จพระเพทราชา (รับเชิญ)
2567 รักท่วมทุ่ง นายพลเรืองเดช (รับเชิญ)
มือปราบมหาอุตม์ กำนันทรง (รับเชิญ)
เว้าวอนรัก การเวก (รับเชิญ)
ดวงใจเทวพรหม หม่อมราชวงศ์ปวรรุจ จุฑาเทพ (คุณชายรุจ)
เก็บแผ่นดิน ผู้พันละยี
น่านฟ้าชลาลัย
อีบัวกับไอ้ขวัญ
ก็รักมันปักใจ
ในวันที่ฝนพร่างพราย

ละครชุด[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ดนตรี[แก้]

ผลงานทั้งหมดร่วมกับวงโซลอาฟเตอร์ซิกซ์

อัลบั้ม[แก้]

อัลบั้มพิเศษ[แก้]

ซิงเกิล[แก้]

  • เวลา (ปี 2555)
  • คนละทางเดียวกัน (ปี 2556)
  • กลัว (ปี 2556)
  • ลำพัง (ปี 2559)
  • ในฝัน (2561)

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

พิธีกรรายการโทรทัศน์[แก้]

  • รายการ นาทีระทึก ช่องอมรินทร์ทีวี ทุกวันอังคาร เวลา 12.30 - 13.00 น. (เริ่มวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2562 - ปัจจุบัน)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ส่องภาพนอกจอ บิ๊ก ศรุต ผู้รับบท พระเพทราชา กับความแด๊ดดี้ในชีวิตจริง". กะปุก. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์ (27 กันยายน 2561). ""ไม่คาดหวังก็ไม่ผิดหวัง" บิ๊ก – ศรุต วิจิตรานนท์". กูดไลฟ์อัปเดต. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ""บิ๊ก ศรุต" กับบทบาทนักดนตรีวง Soul After six". พีพีทีวี. 26 พฤษภาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. """Soul After Six" วงดนตรีดัง ที่คนรู้จักผลงานแต่อาจไม่รู้จักหน้าตา!". สนุก.คอม. 11 กรกฎาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ""บิ๊ก ศรุต" เผยความรู้สึกหลังหวนจับไมค์ร้องเพลง "ในฝัน"". ดาราเดลี่. 8 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Star Retro : ล้วงลึกเส้นทางชีวิต บิ๊ก-ศรุต วิจิตรานนท์ อุปสรรคมีไว้ฝ่าฟัน". แนวหน้า. 4 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 "บิ๊ก ศรุต ออกพระเพทราชา หล่อรุ่นใหญ่ โดนใจทั้งดนตรี ทั้งการแสดงเลย". สุดสัปดาห์. 29 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "เปิดโผรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล "โทรทัศน์ทองคำ" ครั้งที่ 33 ปี 2561". สปริงนิวส์. 1 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ตามคาด "บุพเพสันนิวาส" คว้า 6 รางวัล "โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 33 "". ผู้จัดการออนไลน์. 16 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "สยามดารา สตาร์ อวอร์ด 2018". บีอีซีเวิลด์. 29 มิถุนายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-25. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "เผยโฉมชัด ๆ น้องปิ๊ก ลูกชาย บิ๊ก ศรุต ออกงานครั้งแรก แววหล่อไม่แพ้คุณพ่อเลย". กะปุก. 4 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ชื่นมื่น "บิ๊ก ศรุต" เข้าพิธีแต่งงานแล้วกับ "อุ้ม ชณัญพัชร์" เรียบหรูอบอุ่น". สนุก.คอม. 12 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. นคร โพธิ์ไพโรจน์. (2564, 1 พฤศจิกายน). ‘อโยธยา มหาละลวย’ : เรื่องเล่าจากตรอกของถนนหลักชื่อ ‘บุพเพสันนิวาส’. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]