ข้ามไปเนื้อหา

ตะวันออกกลาง

พิกัด: 29°N 41°E / 29°N 41°E / 29; 41
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

29°N 41°E / 29°N 41°E / 29; 41

ตะวันออกกลาง
Middle East
พื้นที่7,207,575 ตารางกิโลเมตร (2,782,860 ตารางไมล์)
ประชากร371 ล้านคน (2010)[1]
ประเทศ
ดินแดน
ภาษา
เขตเวลาUTC+02:00, UTC+03:00, UTC+03:30, UTC+04:00, UTC+04:30
เมืองใหญ่
แผนที่ตะวันออกกลางที่ตั้งอยู่ระหว่างแอฟริกาเหนือ ยุโรปใต้ เอเชียกลาง และเอเชียใต้
แผนที่ตะวันออกกลางตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน

ตะวันออกกลาง (อังกฤษ: Middle east; อาหรับ: الشرق الأوسط, อักษรโรมัน: ash-Sharq al-Awsat) เป็นภูมิภาคทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ประกอบด้วยคาบสมุทรอาหรับ เอเชียน้อย (ตุรกีฝั่งทวีปเอเชีย ยกเว้นจังหวัดฮาทัย), เทรซตะวันออก (ตุรกีฝั่งยุโรป), อียิปต์, อิหร่านกับลิแวนต์ (รวมอัชชามและไซปรัส), เมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก) และหมู่เกาะโซโคตรา (ส่วนหนึ่งของประเทศเยเมน) ศัพท์นี้เริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อแทนที่คำว่าตะวันออกใกล้ (ตรงข้ามกับตะวันออกไกล) ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ตะวันออกกลาง" ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับคำจำกัดความที่เปลี่ยนไป และบางคนมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ[2] หรือมีความเป็นยุโรปเป็นศูนย์กลางเกินไป[3] ภูมิภาคนี้ได้รวมดินแดนส่วนใหญ่รวมอยู่ในคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดของเอเชียตะวันตก (รวมอิหร่าน) แต่ไม่รวมคอเคซัสใต้ และรวมพื้นที่ทั้งหมดของอียิปต์ (ไม่ใช่เพียงภูมิภาคไซนาย) และตุรกี (ไม่ใช่เฉพาะส่วนเทรซตะวันออก)

ประเทศในตะวันออกกลางส่วนใหญ่ (13 จาก 18 ประเทศ) เป็นส่วนหนึ่งของโลกอาหรับ ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคนี้คืออียิปต์ ตุรกี และอิหร่าน ส่วนประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในตะวันออกกลาง ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสืบไปได้ถึงสมัยโบราณ โดยมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับมานับพันปี[4][5][6] ศาสนาหลักบางส่วนมีต้นกำเนิดในภูมิภาคนี้ เช่น ศาสนายูดาห์, คริสต์ และอิสลาม[7] ชาวอาหรับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักในภูมิภาคนี้[8] รองลงมาคือเติร์ก, เปอร์เซีย, เคิร์ด, อาเซอร์ไบจาน, คอปต์, ยิว, อีสซีเรีย, อิรักเชื้อสายเติร์กเมน, ยาซิดี และไซปรัสเชื้อสายกรีก

ตะวันออกกลางโดยทั่วไปมีสภาพภูมิอากาศที่ร้อน แห้งแล้ง โดยเฉพาะในบริเวณคาบสมุทรอาหรับและอียิปต์ แม่น้ำสายหลักที่เป็นชลประทานเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมมีจำกัด เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ในอียิปต์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสในเมโสโปเตเมีย และแอ่งของแม่น้ำจอร์แดนที่กระจายไปทั่วลิแวนต์ส่วนใหญ่ ภูมิภาคเหล่านี้มีชื่อเรียกแบบรวมว่า เขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ และรวมเข้าในสิ่งที่นักประวัติศาสตร์เรียกกันมานานว่าเป็นอู่อารยธรรม (ศัพท์ที่ปัจจุบันใช้ในหลายภูมิภาคของโลก) ในทางตรงกันข้าม ชายฝั่งลิแวนต์และตุรกีส่วนใหญ่มีสภาพภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียนที่ค่อนข้างอบอุ่น ซึ่งมีฤดูร้อนที่ที่แห้งแล้ง และฤดูหนาวที่หนาวเย็นและชื้นแฉะ ประเทศส่วนใหญ่ที่มีชายแดนติดกับอ่าวเปอร์เซียมีปิโตรเลียมสำรองจำนวนมาก โดยที่บรรดาพระมหากษัตริย์ในคาบสมุทรอาหรับได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการส่งออกน้ำมัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งและการพึ่งพาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมาก ทำให้ตะวันออกกลางเป็นทั้งภูมิภาคที่มีส่วนต่อการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างมาก และคาดว่าจะได้รับผลกระทบในทางลบอย่างรุนแรง

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า "ตะวันออกกลาง" (Middle East) ในภาษาอังกฤษ น่าจะมีต้นกำเนิดในคริสต์ทศวรรษ 1850 ที่สำนักงานอินเดียของบริติช[9] อย่างไรก็ตาม ศัพท์กลายเป็นรู้จักอย่างแพร่หลายเมื่อนักยุทธศาสตร์ทางเรืออเมริกัน Alfred Thayer Mahan ใช้คำนี้ใน ค.ศ. 1902[10] เพื่อ "กำหนดพื้นที่ระหว่างอาระเบียกับอินเดีย"[11][12] ในช่วงที่จักรวรรดิบริติชและรัสเซียกำลังแย่งชิงอิทธิพลกันในเอเชียกลาง การแข่งขันนี้จะกลายเป็นที่รู้จักในฐานะ เดอะเกรตเกม Mahan ไม่เพียงตระหนักถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังตระหนักถึงอ่าวเปอร์เซีย ศูนย์กลางของบริเวณนี้ด้วย[13][14] เขาระบุพื้นที่รอบอ่าวเปอร์เซียเป็นตะวันออกลาง และกล่าวว่าเป็นหลัง หลังจากคลองสุเอซของอียิปต์ บริเวณนี้เป็นเส้นทางที่สำคัญที่สุดในการควบคุมสำหรับอังกฤษ เพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียรุกคืบเข้ามายังบริติชราช[15]

ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องปกติที่จะอ้างถึงพื้นที่ที่มีศูนย์กลางรอบตุรกีและชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็น "ตะวันออกใกล้" ส่วน "ตะวันออกไกล" มีจุดศูนย์กลางที่จีน[16] จากนั้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ทางอังกฤษได้จัดตั้งกองบัญชาการตะวันออกกลางที่มีศูนย์บัญชาการในไคโรสำหรับกองทัพในภูมิภาคนี้ หลังจากนั้น ศัพท์ "ตะวันออกกลาง" ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรปและสหรัฐ โดยมีการจัดตั้งสถาบันตะวันออกกลางที่วอชิงตัน ดี.ซี. ใน ค.ศ. 1946 และในการใช้อื่น ๆ จำนวนมาก[17]

ในขณะที่ศัพท์ที่ไม่ได้อิงยุโรปเป็นศูนย์กลางอย่าง "เอเชียตะวันตกเฉียงใต้" หรือ "Swasia" มีการใช้งานอย่างประปราย การรวมประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นประเทศในทวีปแอฟริกาไว้ในคำนิยาม ทำให้มีการตั้งคำถามถึงประโยชน์ของการใช้งานคำดังกล่าว[18]

การใช้งานและข้อวิจารณ์

[แก้]
ภาพยนตร์สหรัฐเกี่ยวกับตะวันออกกลางใน ค.ศ. 1957

รายละเอียดคำว่า กลาง (Middle) ยังนำไปสู่ความสับสนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคำจำกัดความ โดยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คำว่า "ตะวันออกใกล้" ในภาษาอังกฤษสื่อถึงบอลข่านและจักรวรรดิออตโตมัน ส่วน "ตะวันออกกลาง" สื่อถึงคอเคซัส, เปอร์เซีย และดินแดนอาหรับ[19] และบางครั้งอาจรวมอัฟกานิสถาน, อินเดีย และประเทศอื่น ๆ[20] ในทางตรงกันข้าม ศัพท์ "ตะวันออกไกล" สื่อถึงประเทศในเอเชียตะวันออก (เช่น จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลี)[21][22]

การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมานในปี ค.ศ. 1918 จึงไม่มีการใช้คำว่า "ตะวันออกใกล้" กันอีก ในขณะที่คำว่า "ตะวันออกกลาง" นั้น ก็นำไปใช้หมายถึงประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกอาหรับ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่าตะวันออกใกล้ก็ยังใช้กันอยู่ในหมู่นักวิชาการบางสาขาที่เคร่งครัดหลักการ เช่น ด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์โบราณ ซึ่งยังคงอธิบายพื้นที่ที่ควรระบุเป็นตะวันออกกลางว่าเป็น "ตะวันออกใกล้" ทั้งนี้เนื่องจากนักวิชาการเหล่านั้นจะไม่ใช้คำว่า "ตะวันออกกลาง" ในสาขาวิชาของตน[ต้องการอ้างอิง]

Louay Khraish นักข่าว และ ฮะซัน ฮะนะฟี นักประวัติศาสตร์ วิจารณ์การใช้คำว่า ตะวันออกกลาง ว่าเป็นศัพท์ที่มีความเป็นยุโรปเป็นศุนย์กลางและอาณานิคม[2][3][23]

ถ้อยคำที่คล้ายคลึงกัน

[แก้]

คำที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ยังมีอีก เช่น "เอเชียตะวันตก (West Asia) " ซึ่งเป็นคำจำกัดความของตะวันออกกลางที่ใช้กันอยู่ในอินเดียทั้งในระดับราชการและสื่อต่าง ๆ "โลกอาหรับ (Arab world) " ซึ่งใช้กันในบางเรื่องนั้นก็ไม่รวมถึงประชาชนที่ไม่ใช่เชื้อสายอาหรับที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอาไว้ด้วย และ "ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ (Middle East-North Africa หรือ MENA) " ซึ่งบางครั้งใช้เพื่อรวมเขตพื้นที่จากโมร็อกโกไปจนถึงอิหร่าน ซึ่งเป็นคำที่นักการทูตของกลุ่มจี-8 ใช้ในการกล่าวถึง "ดินแดนตะวันออกกลางที่ยิ่งใหญ่ (Greater Middle East) " ซึ่งรวมประเทศต่าง ๆ ทั้ง ประเทศในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ (Arab League) ซึ่งรวมเอาบรรดาชาติสมาชิกจากแอฟริกาของกลุ่มทั้งหมดไว้ด้วย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ดูเพิ่มเติม: ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง

ตะวันออกกลาง ได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่าง ๆ และอารยะธรรมต่าง ๆ ของโลกเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา และปัจจุบันนี้ก็ยังคงความเป็นภูมิภาคที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดของโลก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีแหล่งสำรองน้ำมันดิบอยู่ใต้ดินจำนวนมหาศาล และยังเป็นแผ่นดินเกิดและศูนย์กลางทางจิตวิญญานของศาสนาสำคัญหลายศาสนา เช่น ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับและอิสราเอลเกิดขึ้นและดำรงอยู่ต่อมายาวนานอีกด้วย

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ดู ภูมิศาสตร์เอเชียตะวันตกเฉียงใต้และภูมิศาสตร์เอเชีย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Population 1971–2010 (pdf เก็บถาวร 6 มกราคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน p. 89) IEA (OECD/ World Bank) (original population ref OECD/ World Bank e.g. in IEA Key World Energy Statistics 2010 p. 57)
  2. 2.0 2.1 Khraish, Louay (16 July 2021). "Don't Call Me Middle Eastern". Raseef 22.
  3. 3.0 3.1 Hanafi, Hassan (1998). "The Middle East, in whose world? (Primary Reflections)". Oslo: Nordic Society for Middle Eastern Studies (The fourth Nordic conference on Middle Eastern Studies: The Middle East in globalizing world Oslo, 13–16 August 1998). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2006.
  4. Cairo, Michael F. The Gulf: The Bush Presidencies and the Middle East เก็บถาวร 22 ธันวาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University Press of Kentucky, 2012 ISBN 978-0-8131-3672-1 p xi.
  5. Government Printing Office. History of the Office of the Secretary of Defense: The formative years, 1947–1950 เก็บถาวร 22 ธันวาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ISBN 978-0-16-087640-0 p 177
  6. Kahana, Ephraim. Suwaed, Muhammad. Historical Dictionary of Middle Eastern Intelligence เก็บถาวร 23 ธันวาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Scarecrow Press, 13 April 2009 ISBN 978-0-8108-6302-6 p. xxxi.
  7. MacQueen, Benjamin (2013). An Introduction to Middle East Politics: Continuity, Change, Conflict and Co-operation. SAGE. p. 5. ISBN 9781446289761. The Middle East is the cradle of the three monotheistic faiths of Judaism, Christianity and Islam.
  8. Shoup, John A. (31 October 2011). Ethnic Groups of Africa and the Middle East: An Encyclopedia. ISBN 978-1-59884-362-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2016. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
  9. Beaumont, Blake & Wagstaff 1988, p. 16.
  10. Koppes, CR (1976). "Captain Mahan, General Gordon and the origin of the term "Middle East"". Middle East Studies. 12: 95–98. doi:10.1080/00263207608700307.
  11. Lewis, Bernard (1965). The Middle East and the West. p. 9.
  12. Fromkin, David (1989). A Peace to end all Peace. p. 224. ISBN 978-0-8050-0857-9.
  13. Melman, Billie (November 2002), Companion to Travel Writing, Collections Online, vol. 6 The Middle East/Arabia, Cambridge, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2011, สืบค้นเมื่อ 8 January 2006.
  14. Palmer, Michael A. Guardians of the Persian Gulf: A History of America's Expanding Role in the Persian Gulf, 1833–1992. New York: The Free Press, 1992. ISBN 0-02-923843-9 pp. 12–13.
  15. Laciner, Dr. Sedat. "Is There a Place Called 'the Middle East'? เก็บถาวร 2007-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Journal of Turkish Weekly, 2 June 2006. Retrieved 10 January 2007.
  16. Davison, Roderic H. (1960). "Where is the Middle East?". Foreign Affairs. 38 (4): 665–75. doi:10.2307/20029452. JSTOR 20029452. S2CID 157454140.
  17. Held, Colbert C. (2000). Middle East Patterns: Places, Peoples, and Politics. Westview Press. p. 7. ISBN 978-0-8133-8221-0.
  18. Culcasi, Karen (2010). "Constructing and naturalizing the Middle Easr". Geographical Review. 100 (4): 583–597. doi:10.1111/j.1931-0846.2010.00059.x. JSTOR 25741178. S2CID 154611116.
  19. "How the Middle East was invented". The Washington Post.
  20. "Where Is the Middle East? | Center for Middle East and Islamic Studies".
  21. Clyde, Paul Hibbert, and Burton F. Beers. The Far East: A History of Western Impacts and Eastern Responses, 1830-1975 (1975). online
  22. Norman, Henry. The Peoples and Politics of the Far East: Travels and studies in the British, French, Spanish and Portuguese colonies, Siberia, China, Japan, Korea, Siam and Malaya (1904) online
  23. Shohat, Ella. "Redrawing American Cartographies of Asia". City University of New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2007. สืบค้นเมื่อ 12 January 2007.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Adelson, Roger (1995). London and the Invention of the Middle East: Money, Power, and War, 1902–1922. Yale University Press. ISBN 978-0-300-06094-2.
  • Anderson, R; Seibert, R; Wagner, J. (2006). Politics and Change in the Middle East (8th ed.). Prentice-Hall.
  • Barzilai, Gad; Aharon, Klieman; Gil, Shidlo (1993). The Gulf Crisis and its Global Aftermath. Routledge. ISBN 978-0-415-08002-6.
  • Barzilai, Gad (1996). Wars, Internal Conflicts and Political Order. State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-2943-3.
  • Beaumont, Peter; Blake, Gerald H; Wagstaff, J. Malcolm (1988). The Middle East: A Geographical Study. David Fulton. ISBN 978-0-470-21040-6.
  • Bishku, Michael B. (2015). "Is the South Caucasus Region a Part of the Middle East?". Journal of Third World Studies. 32 (1): 83–102. JSTOR 45178576.
  • Cleveland, William L., and Martin Bunton. A History Of The Modern Middle East (6th ed. 2018 4th ed. online
  • Cressey, George B. (1960). Crossroads: Land and Life in Southwest Asia. Chicago, IL: J.B. Lippincott Co. xiv, 593 pp. ill. with maps and b&w photos.
  • Fischbach, ed. Michael R. Biographical encyclopedia of the modern Middle East and North Africa (Gale Group, 2008).
  • Freedman, Robert O. (1991). The Middle East from the Iran-Contra Affair to the Intifada, in series, Contemporary Issues in the Middle East. 1st ed. Syracuse, NY: Syracuse University Press. x, 441 pp. ISBN 0-8156-2502-2 pbk.
  • Goldschmidt, Arthur Jr (1999). A Concise History of the Middle East. Westview Press. ISBN 978-0-8133-0471-7.
  • Halpern, Manfred. Politics of Social Change: In the Middle East and North Africa (Princeton University Press, 2015).
  • Ismael, Jacqueline S., Tareq Y. Ismael, and Glenn Perry. Government and politics of the contemporary Middle East: Continuity and change (Routledge, 2015).
  • Lynch, Marc, ed. The Arab Uprisings Explained: New Contentious Politics in the Middle East (Columbia University Press, 2014). p. 352.
  • Palmer, Michael A. (1992). Guardians of the Persian Gulf: A History of America's Expanding Role in the Persian Gulf, 1833–1992. New York: The Free Press. ISBN 978-0-02-923843-1.
  • Reich, Bernard. Political leaders of the contemporary Middle East and North Africa: a biographical dictionary (Greenwood Publishing Group, 1990).
  • Vasiliev, Alexey. Russia’s Middle East Policy: From Lenin to Putin (Routledge, 2018).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]