ภูมิศาสตร์เอเชีย
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | |
พื้นที่ | 44,579,000 ตร.กม. (อันดับที่ 1) |
---|---|
ประชากร | 4,164,252,000 คน (อันดับที่ 1) |
ความหนาแน่น | 87 คน/ตร.กม. (อันดับที่ 1) |
เดมะนิม | ชาวเอเชีย (Asian) |
ประเทศ | 48 ประเทศ |
ดินแดน | |
จำนวนรัฐที่ไม่ใช่สมาชิก UN | |
ภาษา | ดูที่ ภาษาในทวีปเอเชีย |
เขตเวลา | UTC+2 ถึง UTC+12 |
โดเมนระดับบนสุด | .asia |
ภูมิศาสตร์เอเชีย (อังกฤษ: Geography of Asia) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่างๆของทวีปเอเชียซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปของโลก ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาด 44,579,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน[1]
ลักษณะทางภูมิศาสตร์[แก้]
เขตแดน[แก้]
เขตแดนของเอเชียนั้นจะขึ้นอยู่ว่าการแบ่งเขตนั้นยึดตามหลักภูมิศาสตร์หรือยึดตามหลักอื่นๆเช่นถ้ายึดตามหลักวัฒนธรรมเอเชียตะวันตกและเอเชียกลางก็จะมีความคล้ายคลึงกับทวีปยุโรปมากกว่า หรือยกตัวอย่างในตะวันออกกลางที่มีประเทศอียิปต์รวมอยู่ด้วยนั้นก็จะไม่นับประเทศอียิปต์เข้ามารวมกับทวีปเอเชียถึงแม้จะเป็นประเทศตะวันออกกลางเหมือกันกับประเทศตะวันออกกลางอื่นๆอย่างประเทศอิรัก,ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นต้น
อาณาเขตที่ใช้ในการแบ่งทวีปเอเชียกับทวีปแอฟริกาคือคลองสุเอซและทะเลแดง ส่วนการแบ่งเขตทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียคือทางตะวันตกเฉียงเหนือนั้นจะใช้เทือกเขายูรัลในประเทศรัสเซียในการแบ่งเขต ส่วนในตะวันตกนั้นยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัดแต่ส่วนมากจะใช้แม่น้ำยูรัล,แม่น้ำเอ็มบา,ทะเลดำและทะเลแคสเปียนในการแบ่งเขต โดยจุดสิ้นสุดของทวีปเอเชียคือช่องแคบบอสพอรัสในประเทศตุรกี และส่วนที่แยกทวีปเอเชียออกจากทวีปอเมริกาเหนือคือช่องแคบเบริง
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียคือคาบสมุทรมลายู (เป็นจุดสิ้นสุดของเอเชียแผ่นดินใหญ่) และมีหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซียเป็นจุดสิ้นสุดอาณาเขตของทวีปเอเชียซึ่งรวมเกาะเล็กเกาะน้อยที่เป็นหมู่เกาะร้างของประเทศอินโดนีเซียด้วยแต่สำหรับเกาะนิวกินีนั้นถือว่าเป็นเกาะของทวีปออสเตรเลีย ถึงแม้ทวีปออสเตรเลียจะอยู่ใกล้กับทวีปเอเชียมากแต่ก็ถือว่าเป็นอีกทวีปนึงเนื่องจากทั้งสองทวีปนี้อยู่บนเปลือกโลกคนละแผ่นกัน[2]ส่วนหมู่เกาะของประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลียนั้นก็ถือว่าเป็นหมู่เกาะของโอเชียเนีย
ขนาดโดยรวม[แก้]
ขนาดของทวีปเอเชียที่มีการประเมินพื้นที่ด้วยเส้นขอบจินตนาการของสำนักข่าวเดอะนิวยอร์กไทมส์ได้ตีข่าวว่าทวีปเอเชียมีขนาด43,608,000ตารางกิโลเมตรหรือ16,837,000 ตารางไมล์[3] ส่วนChambers World Gazetteer ได้บอกว่ามีขนาด 44,000,000 km2 (17,000,000 sq mi),[4] และ Concise Columbia Encyclopedia ได้บอกว่ามีขนาด 44,390,000 km2 (17,140,000 sq mi).[5] ส่วน The 2011 Pearson's บอกว่ามีขนาด 44,030,000 km2 (17,000,000 sq mi).[6]แต่วิธีการหาค่าตัวเลขเฉลี่ยเหล่านี้ของสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์พวกนี้นั้นกลับไม่มีการออกมาเปิดเผย
พื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชียนั้นอยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมของเส้นพิกัดภูมิศาสตร์โดยมีพิกัดดังนี้[7]
เหนือสุดของเอเชียคือแหลมเชลยูสกิน พิกัดคือ 77° เหนือ 105°ตะวันออก
ใต้สุดของเอเชียอยู่ที่ แหลมมลายู พิกัดคือ 1° เหนือ 104°ตะวันออก
ตะวันออกสุดของเอเชียคือ แหลมเดจเนฟ พิกัดคือ 65° เหนือ 169° ตะวันตก
ตะวันตกสุดของเอเชียคือ แหลมบาบา พิกัดคือ 39°เหนิอ 26°ตะวันออก
ระยะทางคือกว้างประมาณ 8,560 กิโลเมตร (5,320 ไมล์) และยาว 9,600 กิโลเมตร (6,000 ไมล์) ตามหลัก Chambers , หรือ 8,700 กิโลเมตร (5,400 ไมล์) ยาว 9,700 กิโลเมตร (6,000 ไมล์) ตามหลัก Pearson's
- หมายเหตุ พื้นที่และอาณาเขตทั้งหมดนี้เป็นพิกัดของเอเชียแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมหมู่เกาะและประเทศอินโดนีเซีย)
ประเทศอินโดนีเซียนั้นมีหมู่เกาะนับพันเกาะทำให้ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้มากมายซึ่งลักษณะทางภูมิประเทศที่ใหล้กับทวีปออสเตรเลียเช่นนี้ทำให้มีคำถามมากมายว่าพื้นที่ของก้นสมุทรนั้นเป็นของทวีปเอเชียหรือทวีปออสเตรเลีย ทำให้ชายแดนออสเตรเลี-อินโดนีเซียยังอยู่ระหว่างการพิจารรา ปัจจุบันสนธิสัญญา พ.ศ. 2540 ยังไม่ได้ให้สัตยาบันจากทั้งสองฝ่าย และยังทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับสิทธิการประมงในน่านน้ำและสิทธิในแร่ในก้นทะเลอีกด้วย
มุมมองต่อเอเชีย[แก้]
มุมมองทางภูมิศาสตร์หรือแบบดั้งเดิม[แก้]
ชาวยุโรปในยุคกลางถือว่าเอเชียเป็นทวีปที่อยู่ในโลกเก่าซึ่งทวีปโลกเก่านั้นมีสามทวีปคือ ทวีปเอเชีย, ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาแนวความคิดของชาวยุโรปต่อทวีปเอเชียคือเป็นแหล่งที่มีวัฒนธรรมที่แปลกประหลาดเป็นแหล่งเครืองเทศและสมุนไพร่ เมื่อก่อนนั้นนักภูมิศาสตร์ยุคคลาสสิกนั้นคิดว่าทวีปนั้นมีความหมายว่าทั้ง3นั้นเป็นทวีปเดี่ยวกันซึ่งมีการเขียนลงแผนที่เล่มและสือสิ่งพิมพ์มากมาย ซึ่งได่มีการตีพิมพ์ลงนิตยสาร National Geographic และCIA World Factbook รวมไปถึง ดิกชันนารีของMerriam-Webster ด้วย
ต้นกำเนิด[แก้]


ระบบสามทวีปเป็นแนวคิดที่สร้างขึ้นในสมัยกรีซโบรานซึ่งเป็นยุคของการขยายอาณานิคมและการค้าทั่วไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและการเขียนเรื่องราวที่มีกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งการเขียนบันทึกเรื่องราวนั้นเป็นเรื่องสำคัญของนักภูมิศาสตร์ซึ่งต่อมาการเขียนเกี่ยวกับภูมิศาสตร์นั้นภูกห้ามเนื่องจากเหยุผลเพื่อป้องการแบ่งแยกดินแดนในสมันก่อนนั้นกรีกจะไม่ตอนรับคนจากทวีปเอเชียซักเท่าไหร่และเรียกคนที่มาจากเอเชียว่า "mainland ēpeiros" และกรีกก็มีดินแดนบนทวีปแอฟริกาตรงที่เป็นประเทศลิเบียในปัจจุบันซึ่งในสมัยนั้นจะเรียกว่าเกาะ"nēsoi" ส่วนเอเชียจะเรียกว่า"ēpeiros" เพราะยังไม่มีคำนิยามในคำว่า"ทวีป"[8] รากศัพท์ของคำว่า "ēpeir" มาจากกลุ่มภาษาอินโด - ยูโรเปียน ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับภาษาอังกฤษว่า "over" หรือแปลเป็นไทยว่า "มา" และความหมายของคำว่า "mainland ēpeiros" ซึ่งเป็นคำเรียกคนจากเอเชียนั้นแปลว่า"มาจากแผ่นดินใหญ่"[9] และคำว่า"ēpeiros"ในภาษาอาร์เมเนียนั้นหมายถึง "ชายฝั่ง" ส่วนในภาษาลาติน มันแปลเป็น "ทวีปดินแดน"
เรือส่วนใหญ่ในยุคโบราณนั้นไม่ได้ท่องออกไปในมหาสมุทรแต่จะแล่นไปแค่ชายฝั่งในบริเวณนั้นจึงทำให้มันเป็นเรื่องที่ไม่แปลกถ้าคนสมัยนั้นจะเรียกชายฝั่งบริเวณใกล้เคียงนั้นว่าทวีป จนกระทั่งเฮอรอโดทัสได้เริ่มสร้างแผ่นที่ในยุคโบราณขึ้นโดยมีการเรียกทวีปเอเชียว่า "bluffs" และ "shores" และมีการวาดแผนที่ซึ่งพอเป็นที่รู้จักโดยเริ่มจากเมือง Phasis ของอาณาจักร Colchis ซึ่งเป็นประเทศจอร์เจียในปัจจุบัน แล้วค่อยๆไล่ไปตามทะเลดำและก็ไล่ไปจนถึงอานาโตเลียไปถึงฟินิเชียและไปถึงทะเลPhoenicia (คือทะเลแดงร่วมกับอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย) ไปจนถึงอินเดีย (ซึ่งในสมัยนั้นอินเดียยังเป็นดินแดนที่ยังไม่มีคนรู้จัก)[10]
มุมมองธรณีวิทยา[แก้]
จากการศึกษาทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับแผ่นเปลือกโลกนั้นทำให้พบว่าอนุทวีปอินเดียนั้นถือว่าเป็นทวีปเนื่องจากอยู่ในแผ่นเปลือกโลกอินเดียซึ่งได้มาชนกับแผ่นยูเรเซียจนรวมกันกลายเป็นทวีปเอเชียโดยการชนในครั่งนี้ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยขึ้น[11]
ถ้าตามความหมายของแผ่นทวีปนั้นจะถือว่าทวีปยุโรปนั้นเป็นคาบสมุทรของทวีปเอเชียเนืองจากทั้งสองทวีปนี้อยู่ในแผ่นยูเรเซียและทวีปยุโรปก็ถูกทะเลล้อมทั้ง3ด้านซึ่งถือว่าเป็นคาบสมุทรทำให้เรียกยุโรปว่าเป็นคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย
ในการแบ่งทวีปนั้นถ้าแบ่งตามแผ่นเปลือกโลกนั้นยุโรปจะถือว่าเป็นทวีปเดียวกันกับทวีปเอเชียแต่อินเดียและอาหรับจะกลายเป็นทวีปใหม่เนืองจากอยู่กันคนละแผ่นเปลือกกับทวีปเอเชีย
มุมมองภูมิภาค[แก้]
นักภูมิศาสตร์หลายคนคิดว่าควรแบ่งทวีปเอเชียและทวีปยุโรปออกจากันด้วยสาเหตุทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และนั้นจึงทำให้มีการแยกเอเชียออกเป็บภูมิภาคต่างๆโดยใช้หลักเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์,วัฒนธรรม,และวิถีการดำเนินชีวิตในการแบ่งเพื่อจะได้สามารถวิเคาระห์ได้อย่างระเอียดไปตามภูมิภาคนั้นๆได้ดีขึ้น
มุมมองของชาติพันธุ์[แก้]
ในภาษายุโรปคำว่า "เอเชีย" โดยทั่วไปหมายถึงมรดกทางชาติพันธุ์มากกว่าพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน "เอเชีย" มักหมายถึงชาวเอเชียตะวันออกในขณะที่ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษเอเชียมักหมายถึงชาวเอเชียใต้
เอเชียแปซิฟิกโดยทั่วไปหมายถึงการรวมกันของเอเชียตะวันออกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะ]ในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือโอเชียเนีย ทวีปเอเชียจะประกอบด้วยแผ่นยูเรเซีย,อนุทวีปอินเดีย,คาบสมุทรอาหรับรวมทั้งแผ่นอเมริกาเหนือในเขตไซบีเรียอีกด้วย
ภูมิภาค[แก้]
ตั่งแต่ศควรรษที่18 ทวีปเอเชียได้แบ่งออกเป็นหลายภูมิภาคโดยการแบ่งภูมิภาคพวกนี้ยังไม่มีการกำหนดที่แน่ชัด
เอเชียมีภูมิภาคต่างๆดังนี้:
- เอเชียกลาง
- ประกอบไปด้วยประเทศต่างๆดังนี้
- เอเชียตะวันออก
- ประกอบไปด้วยประเทศต่างๆดังนี้[12]
จีน ยกเว้น มณฑลชิงไห่, เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และเขตปกครองตนเองทิเบต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อาจจัดให้อยู่ในเขตภูมิภาคเอเชียกลาง
ญี่ปุ่น
เกาหลีเหนือ
เกาหลีใต้
ไต้หวัน
มองโกเลีย
- เอเชียใต้มีชื่ออีกชื่อคืออนุทวีปอินเดีย+อัฟกานิสถาน
- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ประกอบไปด้วยประเทศต่างๆดังนี้;[14]
- เอเชียตะวันตก (หรือ ตะวันออกกลาง หรือ ตะวันออกกลาง +ประเทศอียิปต์)
- ประกอบไปด้วยประเทศต่างๆดังนี้;[15]
อาร์มีเนีย
อาเซอร์ไบจาน
บาห์เรน
จอร์เจีย
อิหร่าน
อิรัก
อิสราเอล
จอร์แดน
คูเวต
เลบานอน
โอมาน
กาตาร์
ซาอุดีอาระเบีย
ซีเรีย
ตุรกี
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เยเมน
- ฉนวนกาซา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเอเชีย[แก้]
จากการสำรวจในปี 2010ได้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับโลกระบุว่ามี 16 ประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมาก โดตใช้หลักจากสถิติการเปลียนแปลงทาวภูมิอากาศในช่วงปีที่ผ่านมาและดัชนีชี้วัดทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจำนวน 42 ตัวซึ่งทำให้พบว่าในอีก30ปีข้างหน้าประเทศในแถบบังกลาเทศ,อินเดีย,เวียดนาม,ไทย,ปากีสถานและศรีลังกาอยู่ใน 16 ประเทศที่มีความเสี่ยงสูง โดยยกตัวอย่างเช่นในเขตร้อนชื้นของอินเดียที่มีสภาพภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้งอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 0.4 ° C ระหว่าง 1901 และ 2003
การศึกษาในปี 2013 จากสถาบันวิจัยพืชระหว่างประเทศสำหรับเขตร้อนกึ่งแห้งแล้ง (ICRISAT) ได้ระบุว่าการทำเกษตรของประเทศในเอเชียก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศของโลก จึงได้มีข้อเสนอแนะคือการปรับปรุงการใช้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศในการวางแผนท้องถิ่นและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของบริการเช่นให้คำปรึกษาด้านการเกษตรเพื่อให้เกิดการกระจายความหลากหลายรายได้ของครัวเรือนในชนบทและเป็นแรงจูงใจให้กับเกษตรกรในการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อลดการบุกรุกป่าลดการใช้น้ำบาดาลและ ใช้พลังงานทดแทน[16]
ประเทศที่ UNSD กำหนดให้อยู่ในทวีปเอเชีย[แก้]
แผนกสถิติของสหประชาชาติได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆทั่วโลกรวมทั้งเอเชียและได้จัดทำมาตรฐานการจำแนกตามมาตรฐานสหประชาชาติ M49 ซึ่งกำหนดหมายเลขรหัสให้กับพื้นที่ทวีปพื้นที่และประเทศต่างๆตามวัตถุประสงค์ทางสถิติ[17] และประเทศและภูมิภาคที่มีการรวมกลุ่มกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสัมพันธ์ทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม[17] ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศเอเชียได้ระบุไว้ใน M49 รหัสของทวีปเอเชียคือ (142) และภูมิภาคที่ไม่ใช่ของทวีปเอเชียคือภูมิภาคเอเชียเหนือซึ่งมีรัสเซียประเทศเดียว
M49 เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บสถิติที่เป็นประโยชน์สำหรับ UNSD และเป็นสิ่งที่เอาไวใช้อ้างอิงที่ในการนำเสนอเกี่ยวๆกับสถิติมาตรฐานระดับโลก ถึงจะเป็นแผนกสถิติของสหประชาชาติแต่ข้อมูลนั้นก็อาจจะเป็นมาตรฐานที่ไม่แม่นยำหรือแน่นอน
ไม่มีประเทศใดใช้ M49 เป็นมาตรฐานบังคับ อย่างไรก็ตามมันสามารถแสดงเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ทางการเมืองของเอเชีย แต่ถึงอย่างนั้น M49 ได้รับการอัปเดตบ่อยๆเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์การเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์ต่างๆบนโลก
ปัญหาหนึ่งในการทำสถิติของเอเชียคือภูมิภาคเอเชียเหนือเนืองจากยังไม่มีรหัสภูมิภาคและยังไม่เป็นภูมิภาคที่เป็นทางการของรัสเซียเนืองจากถึงแม้จะมีการแบ่งอาณาเขตแล้วแต่รัสเซียยืนยันว่าประเทศตนเองอยู่ในทวีปยุโรป
แผนที่ภูมิรัฐศาสตร์[แก้]
แผนที่แสดงอาณาเขตของทวีปเอเชีย
ลองกดตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อดูประเทศในทวีปเอเชีย
ข้อมูลทางภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย[แก้]
บทนำ[แก้]
ประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชียนั้นคือประเทศที่มีดินแดนตั้งอยู่ในอาณาเขตของทวีปเอเชียที่มีการแบ่งอาณาเขตอย่างชักเจนแล้วแต่ถึงอย่างนั้นบางประเทศก็ไม่ได้อยู่ในทวีปเอเชียตามโครงการของ UNSD เช่นรัสเซียแต่เพื่อเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติของกองสถิติสหประชาชาติจึงได้นำสถิติประชากรของประเทศบางส่วนที่อยู่ในเอเชียมานับเป็นประชากรในทวีปเอเชียด้วย แต่ทั้งนี้ก็จะไม่นับรวมกับคาบสมุทรไซไนของประเทศอียิปต์เนื่องจากถึงจะอยู่ในเอเชียแต่ส่งนใหญ่ของอียิปต์อยู่ในแอฟริกาจึงไม่เหมือนในกรณีของรัสเซีย และหมู่เกาะในเอเชียตะวันตกและดินแดนนอกของเกาะคริสต์มาสและหมู่เกาะโคโคสที่ถึงจะมีความเกี่ยวข้องกับเอเชียแต่ก็ไม่เอามารวมกับสถิติของเอเชียตามหลักgeoscheme UNSD
ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานสากลที่กำหนดอาณาเขตของเอเชีย จึงใช่มุมมองแบบดั้งเดิมเป็นค่าประมาณในการแบ่งเขต เช่นการแบ่งเขตของอินโดนีเซียกับออสเตรเลียเป็นต้น
ในทวีปเอเชียมีประเทศข้ามทวีปค่อนข้างเยอะซึ่งส่วนใหญ่จะมีดินแดนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ข้ามไปอยู่ทวีปอื่นจึงทำให้ประเทศเหล่านี้ถือว่าอยู่ในทวีปเอเชีย[18] มีเพียงแค่ประเทศรัสเซียเท่านั้นที่ถือว่าอยู่ในทวีปยุโรป
Petrovsky คือแนวโน้มในการจัดตั้งหน่วยงานข้ามทวีป หรือหมายถึงหน่วยงานที่มีเขตแดนข้ามพรมแดนทวีปมากกว่าทั้งทวีป[19] แต่ถึงอย่างนั้นรวบรวมส่วนต่างๆของทวีปเอเชียนั้นค่อนข่างเป็นเรื่องที่ยาก[20]
ข้อมูลที่รวมอยู่ในตารางด้านล่างเป็นข้อมูลที่มาจาก CIA World Factbook ทั้งนี้ข้อมูลด้านล่างจะนับแค่ส่วนที่อยู่ในเอเชียเท่านั้นและประเทศบางประเทศก็ไม่ได้นำมาจัดอันดับด้วยจึงทำให้ไม่สามารถสรุปข้อมูลรวมของเอเชียได้อย่างแน่ชัด
ตาราง[แก้]
รหัส | ชื่อประเทศ/ดินแดน และธงชาติ |
ขนาดพื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) |
จำนวนประชากร | ความหนาแน่นประชากร (ต่อตารางกิโลเมตร) |
วัน | เมืองหลวง |
---|---|---|---|---|---|---|
143 | เอเชียกลาง | |||||
398 | ![]() |
2,724,927 | 16,536,000 | 6.1 | Jan 2011 | อัสตานา |
417 | ![]() |
199,951 | 5,587,443 | 27.9 | Jul 2011 | บิชเคก |
762 | ![]() |
143,100 | 7,627,200 | 53.3 | Jul 2011 | ดูชานเบ |
795 | ![]() |
488,100 | 4,997,503 | 10.2 | Jul 2011 | อาชกาบัต |
860 | ![]() |
447,400 | 28,128,600 | 62.9 | Jul 2011 | ทาชเคนต์ |
030 | เอเชียตะวันออก | |||||
156 | ![]() |
9,640,821 | 1,322,044,605 | 134.0 | ปักกิ่ง | |
344 | ![]() |
1,104 | 7,122,508 | 6,451.5 | Jul 2011 | — |
392 | ![]() |
377,947 | 127,920,000 | 338.5 | Jul 2011 | โตเกียว |
408 | ![]() |
120,540 | 23,479,095 | 184.4 | เปียงยาง | |
410 | ![]() |
98,480 | 49,232,844 | 490.7 | โซล | |
446 | ![]() |
25 | 460,823 | 18,473.3 | — | |
496 | ![]() |
1,565,000 | 2,996,082 | 1.7 | อูลานบาตาร์ | |
158 | ![]() |
35,980 | 22,920,946 | 626.7 | ไทเป | |
N/A | เอเชียเหนือ | |||||
643 | ![]() |
13,119,600 | 37,630,081 | 2.9 | มอสโก | |
035 | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |||||
096 | ![]() |
5,770 | 381,371 | 66.1 | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | |
104 | ![]() |
676,578 | 47,758,224 | 70.3 | เนปยีดอ | |
116 | ![]() |
181,035 | 13,388,910 | 74 | พนมเปญ | |
360 | ![]() |
1,919,440 | 230,512,000 | 120.1 | จาการ์ตา | |
418 | ![]() |
236,800 | 6,677,534 | 28.2 | เวียงจันทน์ | |
458 | ![]() |
329,847 | 27,780,000 | 84.2 | กัวลาลัมเปอร์ | |
608 | ![]() |
300,000 | 92,681,453 | 308.9 | มะนิลา | |
702 | ![]() |
704 | 4,608,167 | 6,545.7 | สิงคโปร์ | |
764 | ![]() |
514,000 | 65,493,298 | 127.4 | กรุงเทพมหานคร | |
626 | ![]() |
15,007 | 1,108,777 | 73.8 | ดิลี | |
704 | ![]() |
331,690 | 86,116,559 | 259.6 | ฮานอย | |
034 | เอเชียใต้ | |||||
004 | ![]() |
647,500 | 32,738,775 | 42.9 | คาบูล | |
050 | ![]() |
147,570 | 153,546,901 | 1040.5 | ธากา | |
064 | ![]() |
38,394 | 682,321 | 17.8 | ทิมพู | |
356 | ![]() |
3,287,263 | 1,147,995,226 | 349.2 | นิวเดลี | |
462 | ![]() |
300 | 379,174 | 1,263.3 | มาเล | |
524 | ![]() |
147,181 | 29,519,114 | 200.5 | กาฐมาณฑุ | |
586 | ![]() |
803,940 | 167,762,049 | 208.7 | อิสลามาบาด | |
144 | ![]() |
65,610 | 21,128,773 | 322.0 | โคลัมโบ | |
145 | เอเชียตะวันตก | |||||
051 | ![]() |
29,800 | 3,299,000 | 280.7 | เยเรวาน | |
031 | ![]() |
86,660 | 8,845,127 | 102.736 | บากู | |
048 | ![]() |
665 | 718,306 | 987.1 | มานามา | |
196 | ![]() |
9,250 | 792,604 | 83.9 | นิโคเซีย | |
268 | ![]() |
69,700 | 4,636,400 | 65.1 | ทบิลีซี | |
364 | ![]() |
1,648,195 | 70,472,846 | 42.8 | เตหะราน | |
368 | ![]() |
437,072 | 28,221,181 | 54.9 | แบกแดด | |
376 | ![]() |
20,770 | 7,112,359 | 290.3 | เยรูซาเลมh[›] | |
400 | ![]() |
92,300 | 6,198,677 | 57.5 | อัมมาน | |
414 | ![]() |
17,820 | 2,596,561 | 118.5 | คูเวตซิตี | |
422 | ![]() |
10,452 | 3,971,941 | 353.6 | เบรุต | |
512 | ![]() |
212,460 | 3,311,640 | 12.8 | มัสกัต | |
275 | ![]() |
6,257 | 4,277,000 | 683.5 | รอมัลลอฮ์ | |
634 | ![]() |
11,437 | 928,635 | 69.4 | โดฮา | |
682 | ![]() |
1,960,582 | 23,513,330 | 12.0 | รียาด | |
760 | ![]() |
185,180 | 19,747,586 | 92.6 | ดามัสกัส | |
792 | ![]() |
อังการา | ||||
784 | ![]() |
82,880 | 4,621,399 | 29.5 | อาบูดาบี | |
887 | ![]() |
527,970 | 23,013,376 | 35.4 | ซานา | |
142 | ทวีปเอเชีย | 43,810,582 | 4,162,966,086 | 89.07 | — |
หมายเหตุตาราง[แก้]
a อาเซอร์ไบจาน,จอร์เจียและตุรกีมักถูกมองว่าเป็นประเทศข้ามทวีปซึ่งครอบคลุมทั้งเอเชียและยุโรป[22] [23]ซึ่งอาจะรวมตะวันออกกลางด้วย[24]เนื่องจากมีบางประเทศอยู่ในกลุ่มEUและมีบางประเทศอยู่ในแอฟริกา[25]
b อาเซอร์ไบจาน,คาซัคสถานและตุรกีถือเป็นเขตแบ่งแยกระหว่างสองทวีป
c อินโดนีเซียมักถูกมองว่าเป็นประเทศข้ามทวีปเพราะมีอาณาเขตทั้งในเอเชียและโอเชียเนียและประเทศติมอร์ตะวันออกสามารถอยู่ในเอเชียหรือโอเชียเนียก็ได้ ตัวเลขประชากรและพื้นของประเทศอินโดนีเซียนั้นจะไม่รวมนิวกินีตะวันตก และ หมู่เกาะโมลุกกะ เนื่องจากสองเกาะนี้อยูในโอเชียเนีย
d รัสเซียถือเป็นประเทศที่มีอาณาเขตทางภาคพื้นทวีปยุโรปตะวันออกและเอเชียเหนือ ตัวเลขประชากรและพื้นที่ของเขตสหพันธ์ยูรัล,เขตสหพันธ์ไซบีเรียและเขตสหพันธ์ตะวันออกไกลนั้นถือว่าเป็นของทวีปเอเชีย
e เกาะไซปรัสนั้นถือว่าเป็นของเอเชีย[26]แต่เป็นสมาชิกขององค์กรในยุโรป[24]และสหภาพยุโรป[25]เช่นเดียวกับอาร์เมเนียที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แต่เป็นสมาชิกของสภายุโรป[24]}}
f ตัวเลขอาณาเขตและจำนวนประชากรของจีนนั้นจะไม่นับรวมกับฮ่องกงและมาเก๊า
gอาณาเขตของอินเดียคือชัมมูและแคชเมียร์นั้นคือดินแดนที่มีข้อพิพาทระหว่าง3ประเทศคือ อินเดีย,ปากีสถานและจีน
h ในปี 1980, อิสราเอลได้ประกาศให้กรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของประเทศ ทำให้ปาเลสไตน์นั้นต้องแยกดินแดนออกมาโดยใช้เมืองหลวงคือเยรูซาเลมตะวันออกที่สามารถยึดคือมาจากอิสราเอลได้ในสงครามหกวันในปี 1967 แต่สหประชาชาติและหลายประเทศยังไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ของปาเลสไตน์
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Like herrings in a barrel". The Economist. The Economist online, The Economist Group (Millennium issue: Population). 23 ธันวาคม 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017..
- ↑ การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค
- ↑ The New York Times and Bartholomew, Edinburgh (1992). The New York Times Atlas of the World. New York: Times Books (Random House). p. 44.
- ↑ "Asia". Chambers World Gazetteer (5th ed.). 1988.
- ↑ "Asia". The Concise Columbia Encyclopedia (2nd ed.). 1989.
- ↑ Edgar Thorpe; Shawick Thorpe (2011). The Pearson General Knowledge Manual. India: Dorling Kindersley. p. A.25.
- ↑ "Asia: The Land". The New Encyclopædia Britannica (15th ed.).
- ↑ Georg Autenrieth (1876). "ēpeiros". A Homeric Dictionary for Schools and Colleges.
- ↑ J.B. Hofmann (1950). "ēpeiros". Etymologisches Wörterbuch des Griechischen (ภาษาเยอรมัน). München: Verlag von R. Oldenbourg.
- ↑ Histories, Book IV, Articles 37-40.
- ↑ กำเนิดหิมาลัย
- ↑ "East Asia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
- ↑ "South Asia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
- ↑ "Southeast Asia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
- ↑ "West Asia/Middle East". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
- ↑ Vulnerability to Climate Change: Adaptation Strategies and layers of Resilience เก็บถาวร 2018-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ICRISAT, Policy Brief No. 23, February 2013
- ↑ 17.0 17.1 "United Nations Statistics Division- Standard Country and Area Codes Classifications (M49)". United Nations Statistics Division. 31 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2010.
- ↑ "transcontinental". Merriam-Webster Dictionary. m-w.com, Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2011.
- ↑ Petrovsky, Vladimir (1995), "Preventative & Peace-Making Diplomacy & the Role of International Law in Conflict Resolution", ใน Al-Nauimi, Najeeb; Meese, Richard (บ.ก.), International Legal Issues Arising Under the United Nations Decade of International Law, Proceedings of the Qatar International Law Conference '94, The Hague, London, Boston: Martinus Nijhoff Publishers (Kluwer), p. 22
- ↑ Fahey, Tony (2009). "Population". ใน Immerfall, Stefan; Göran, Therborn (บ.ก.). Handbook of European Societies: Social Transformations in the 21st Century. New York: Springer. p. 417.
- ↑ "General Population Census of Cambodia 2008 - Provisional population totals, National Institute of Statistics, Ministry of Planning, released 3rd September 2008" (PDF). สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2010.
- ↑ "News Europe". BBC. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.
- ↑ "Middle East". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 "47 countries, one Europe". Council of Europe. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.
- ↑ 25.0 25.1 "European countries". European Union. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.
- ↑ Shimon Wdowinski; Zvi Ben-Avraham; Ronald Arvidsson; Goran Ekström (2006). "Seismotectonics of the Cyprian Arc" (PDF). Geophysics Journal International. 164 (164): 176–181. Bibcode:2006GeoJI.164..176W. doi:10.1111/j.1365-246X.2005.02737.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.
บรรณานุกรม[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ภูมิศาสตร์เอเชีย |
- "Estimated Population Densities". UNEP/GRID-Arendal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011.
- "The Soil Maps of Asia". European Digital Archives of Soil Maps - EuDASM. European Commission Joint Research Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.
- "Asia Maps". Perry-Castañeda Library Map Collection. University of Texas Libraries. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.