อัลมัชริก
อัลมัชริก | |
---|---|
ประเทศและดินแดน |
อัลมัชริก (อาหรับ: ٱلْمَشْرِق; "ตะวันออก") เป็นส่วนตะวันออกของโลกอาหรับที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกกับแอฟริกาเหนือฝั่งตะวันออก[5] ประกอบด้วยรัฐอาหรับต่าง ๆ ได้แก่ กาตาร์, คูเวต, จอร์แดน, ซาอุดีอาระเบีย, ซีเรีย, ซูดาน, บาห์เรน, ปาเลสไตน์, เยเมน, เลบานอน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อิรัก, อียิปต์ และโอมาน[6][7][8][9] แต่ไม่รวมรัฐที่ไม่ใช่อาหรับอย่างคอโมโรส, จิบูตี และโซมาเลียซึ่งเป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ
อัลมัชริก มีความหมายเชิงกวีว่า "แดนอาทิตย์อุทัย" โดยมาจากรูปกริยาว่า ชะเราะเกาะ (شرق; "ส่องแสง" "สว่างไสว" "แผ่รังสี" หรือ "ขึ้น") สื่อถึงทิศตะวันออกซึ่งเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น[10][11]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ศัพท์ อัลมัชริก สื่อถึงประเทศที่อยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับประเทศอิหร่าน เป็นศัพท์คู่กับ อัลมัฆริบ (ٱلْمَغْرِب) ซึ่งสื่อถึงส่วนตะวันตกของแอฟริกาเหนือ ลิเบียอาจแบ่งเป็นสองส่วนระหว่างเขตอิทธิพลอัลมัชริกกับเขตอิทธิพลอัลมัฆริบ โดยภาคตะวันออก (ไซราเนกา) มีความเชื่อมโยงกับอียิปต์และอัลมัชริกมากกว่า[12]
ศัพท์ทางภูมิศาสตร์ทั้งสองมีมาตั้งแต่การขยายตัวของศาสนาอิสลามยุคเริ่มแรก ภูมิภาคนี้มีความคล้ายกับการนำบิลาดุชชามและเมโสโปเตเมียรวมกัน[13] ข้อมูลเมื่อ 2014[update] อัลมัชริกเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรร้อยละ 1.7 ของประชากรโลก[14][15][16][17][18][19]
ดูเพิ่ม
[แก้]- อาราบิอาเฟลิกส์
- คาบสมุทรอาหรับ
- แหล่งกำเนิดอารยธรรม
- พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์
- ลิแวนต์
- อัลมัฆริบ ("แดนอาทิตย์อัสดง") ซึ่งตรงกันข้ามกับอัลมัชริก ("แดนอาทิตย์อุทัย")
- ไนล์
- ชาม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "About ANPGR". Arab Network of Plant Genetic Resources.
- ↑ "Mashreq". Association of Agricultural Research Institutions in the Near East & North Africa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-24. สืบค้นเมื่อ 2016-05-02.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ August 19, 2015.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "لماذا يستثنى الأردن من التقسيم؟ الوضع الداخلي هو العنصر الحاسم*فهد الخيطان" [Why is Jordan exempted from the division? The internal situation is a critical component * Fahd strings]. rasseen.com (ภาษาอาหรับ). Rasseen. 2014-07-13.
- ↑ bank, world. "Economic interrogation in the mashriq" (PDF). siteresources.
- ↑ "Mashriq GEOGRAPHICAL REGION, MIDDLE EAST". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ "European Neighbourhood Policy in the Mashreq Countries: Enhancing Prospects for Reform". Centre for European Policy Studies. 2005-09-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
- ↑ Introduction to Migration and the Mashreq เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 3, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Migrants from the Maghreb and Mashreq Countries" (PDF). IOM International Organization for Migration. July 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-01-19.
- ↑ Alvarez, Lourdes María (2009). Abu Al-Ḥasan Al-Shushtarī. Paulist Press. p. 157. ISBN 978-0-8091-0582-3.
- ↑ Peek, Philip M.; Yankah, Kwesi (2003-12-12). African Folklore: An Encyclopedia. Routledge. p. 442. ISBN 978-1-135-94873-3.
- ↑ Gall, Michel Le; Perkins, Kenneth (2010). The Maghrib in Question: Essays in History and Historiography. University of Texas Press. p. 8. ISBN 978-0-292-78838-1.
- ↑ Clancy-Smith, Julia (2013-11-05). North Africa, Islam and the Mediterranean World. Routledge. p. 98. ISBN 978-1-135-31213-8.
- ↑ Official estimate of the Population of Egypt เก็บถาวร พฤษภาคม 25, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ UN estimate for Lebanon
- ↑ Official Jordanian population clock เก็บถาวร มกราคม 17, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "National Main Statistical Indicators". State of Palestine – Palestinian Central Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-03. สืบค้นเมื่อ 2016-05-02.
- ↑ UN estimate for Syria
- ↑ "Iraq". The World Bank.