MENA

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอื่น หรือใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม
สีน้ำเงินเข้มหมายถึงการจำกัดความมาตรฐาน ส่วนสีฟ้าหมายถึงประเทศที่ถูกรวมในการจำกัดความในความหมายกว้าง

คำว่า MENA ย่อมาจาก "ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ" เป็นอักษรย่อซึ่งมักถูกใช้ในการงานเชิงวิชาการและธุรกิจ[1][2] คำดังกล่าวครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวาง นับตั้งแต่โมร็อกโกไปจนถึงอิหร่าน รวมไปถึงประเทศตะวันออกกลางและมาเกร็บส่วนใหญ่ คำดังกล่าวเกือบจะมีความหมายเหมือนกันกับคำว่า "มหาตะวันออกกลาง" (แต่บางครั้งคำดังกล่าวถูกใช้โดยรวมปากีสถาน อัฟกานิสถาน หรือทั้งสองประเทศเข้าไปด้วย)

ประชากรของภูมิภาค MENA หากในความหมายที่กินอาณาบริเวณน้อยที่สุด จะมีประมาณ 381 ล้านคน ราว 6% ของประชากรโลกทั้งหมด และในความหมายที่กินอาณาบริเวณมากที่สุด ประชากรจะอยู่ที่ราว 531 ล้านคน

รายชื่อประเทศ[แก้]

MENA ไม่มีการจำกัดความที่เป็นมาตรฐาน บางองค์การมีการจำกัดความภูมิภาคดังกล่าวโดยประกอบขึ้นจากดินแดนที่แตกต่างกัน รายชื่อประเทศด้านล่างนี้เป็นประเทศที่มักถูกรวมเข้าในภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย[3]

แต่ในบางครั้งยังอาจรวมไปถึงประเทศและดินแดนตามรายชื่อด้านล่างนี้ในความหมายอย่างกว้าง[4][5]

เศรษฐกิจ[แก้]

ภูมิภาค MENA มีปริมาณปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติสำรองอยู่มาก ทำให้เป็นแหล่งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ตามข้อมูลของวารสารน้ำมันและก๊าซ (1 มกราคม พ.ศ. 2552) ภูมิภาค MENA มีปริมาณน้ำมันสำรองของโลกอยู่กว่า 60% (810,980 ล้านบาร์เรล) และมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองอยู่กว่า 45% (2,868,866 ล้านลูกบาศก์ฟุต)[6]

จนถึง พ.ศ. 2554 ประเทศ OPEC 8 จาก 12 ประเทศอยู่ในภูมิภาค MENA

อ้างอิง[แก้]

  1. World Bank Definition: MENA
  2. World Economic Forum on the Middle East and North Africa, Marrakech, Morocco, 26-28 October 2010
  3. Dumper, Michael, and Stanley, Bruce E., Cities of the Middle East and North Africa: A Historical Encyclopaedia, 2007
  4. "About MENA". Renaissance Capital Research Portal.
  5. MENA Magazine, which covers issues in Armenia, Azerbaijan, and Somalia
  6. "International Reserves". United States Department of Energy. สืบค้นเมื่อ 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)