ภาษาคิเลกิ
ภาษาคิเลกิ | |
---|---|
Gilak | |
گیلکی (Giləki) | |
คิเลกิในแบบอักษรแนสแทอ์ลีฆ (گیلکی) | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศอิหร่าน ในจังหวัดกีลอน และพื้นที่บางส่วนของจังหวัดมอแซนแดรอนและจังหวัดแกซวีน |
ภูมิภาค | ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลแคสเปียน |
จำนวนผู้พูด | 2.4 million (2016)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ภาษาถิ่น | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | glk |
Linguasphere | 58-AAC-eb |
พื้นที่ที่มีผู้ภาษาคิเลกิเป็นภาษาแม่ | |
ภาษาคิเลกิ (คิเลกิ: گیلکی อักษรโรมัน: Giləki) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านสาขาตะวันตกเฉียงเหนือที่มีผู้พูดในจังหวัดกีลอนของประเทศอิหร่าน ภาษานี้มีความใกล้ชิดกับภาษามอแซนแดรอนและสองภาษานี้มีคำศัพท์คล้ายกัน[2] แม้ว่าภาษาเปอร์เซียจะมีอิทธิพลต่อภาษาคิเลกิจำนวนหนึ่ง แต่ภาษานี้ยังคงเป็นภาษาเอกเทศที่มีต้นกำเนิดจากอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ[3][4][5][6] ภาษาคิเลกิและมอแซนแดรอน (แต่ไม่รวมมภาษากลุ่มอิหร่านอื่น ๆ)[7]มีคุณสมบัติแบบลักษณ์เหมือนกับกลุ่มภาษาคอเคซัส (โดยเฉพาะกลุ่มภาษาคอคเซัสใต้)[7][8][9]
โครงสร้างของภาษาคิเลกิใกล้เคียงกับภาษาซาซากีที่ใช้พูดในตุรกี มีความแตกต่างด้านไวยากรณ์ในการแสดงความเป็นเจ้าของและคำคุณศัพท์เมื่อเทียบกับภาษาเปอร์เซียคำคุณศัพท์และคำขยายนำหน้านามเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ
ไวยากรณ์
[แก้]ระบบกริยา
[แก้]ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย รูปนามกริยาทั้งหมดลงท้ายด้วย -tən/-dən หรือ -V:n, เมื่อ V: สระเสียงยาว รูปปัจจุบันมักสัมพันธ์กับรูปนามกริยา ส่วนรูปอดีตจะเป็นรูปนามกริยาที่ตัด -ən หรือ -n
กริยาประกอบ
[แก้]มีกริยาประกอบเป็นจำนวนมากในภาษาคิเลกิ ซึ่งมีรูปแบบต่างจากกริยาโดยทั่วไป ส่วนใหญ่ ไม่ใช้คำอุปสรรค bV- และคำอุปสรรคปฏิเสธ nV- สามารถทำหน้าที่คล้ายอาคม -n-, โดยมาระหว่างอปสรรคและรากศัพท์ ดังนั้น จาก fagiftən, "ได้รับ", จะได้ รูปชี้เฉพาะปัจจุบัน fagirəm, แต่ เงื่อนไขปัจจุบันเป็น fágirəm, และรูปปฏิเสธของทั้งคู่เป็น fángirəm หรือ fanígirəm. รูปอดีตเป็น fángiftəm หรือ fanígiftəm.
นาม
[แก้]ภาษาคิเลกิใช้ระบบของการกร่วมกับคำบุพบท มีสามการกคือ การกประธาน การกความเป็นเจ้าของ และการกกรรม
คำคุณศัพท์
[แก้]มาก่อนคำที่ถูกขยายและมักลงท้ายด้วยการกแสดงความเป็นเจ้าของ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษาคิเลกิ ที่ Ethnologue (19th ed., 2016)
- ↑ Dalb, Andrew (1998). Dictionary of Languages: The Definitive Reference to More Than 400 Languages. Columbia University Press. p. 226. ISBN 0-231-11568-7.
- ↑ https://uu.diva-portal.org/smash/get/diva2:560728/FULLTEXT02.pdf [bare URL PDF]
- ↑ "GILAN x. LANGUAGES – Encyclopaedia Iranica".
- ↑ "Gilaki".
- ↑ "OLAC resources in and about the Gilaki language".
- ↑ 7.0 7.1 Nasidze, I; Quinque, D; Rahmani, M; Alemohamad, SA; Stoneking, M (April 2006). "Concomitant Replacement of Language and mtDNA in South Caspian Populations of Iran". Curr. Biol. 16 (7): 668–73. doi:10.1016/j.cub.2006.02.021. PMID 16581511. S2CID 7883334.
- ↑ Academic American Encyclopedia By Grolier Incorporated, page 294
- ↑ The Tati language group in the sociolinguistic context of Northwestern Iran and Transcaucasia By D.Stilo, pages 137-185