ปาตาโกเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ในปี ค.ศ. 1775

ปาตาโกเนีย (Patagonia) เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ปลายใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศอาร์เจนตินาและชิลี ประกอบด้วยบริเวณทางใต้ของเทือกเขาแอนดีส ไปถึงทางตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และส่วนตะวันออกของเทือกเขา ไปถึงหุบเขาตามแม่น้ำโคโลราโด ไปทางใต้จนถึงเมืองการ์เมนเดปาตาโกเนส บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนทางตะวันตกรวมถึงเมืองบัลดีเบียไปจนถึงกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก

คำว่า ปาตาโกเนีย มาจากคำว่า ปาตากอน (patagón)[1] ใช้โดยเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ในปี ค.ศ. 1520 เพื่ออธิบายถึงคนพื้นเมือง ในความหมายของคณะเดินทาง ที่มีลักษณะตัวใหญ่ เชื่อว่า ชาวปาตากอน หรือ เตอวยล์เช มีความสูงเฉลี่ย 180 ซม. (~5′11″) เมื่อเทียบกับชาวยุโรปขณะนั้นที่มีความสูง 155 ซม. (~5′1″)[2][3]

ในอาร์เจนตินา ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดเนวเกน จังหวัดรีโอเนโกร จังหวัดชูบุต จังหวัดซานตากรุซ รวมถึงกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก และทางใต้สุดของจังหวัดบัวโนสไอเรส (ปาตาโกเนส) นอกจากนั้นยังรวมถึงจังหวัดลาปัมปา

ในชิลี ครอบคลุมบริเวณ บัลดีเบีย ยันกีอวย แคว้นไอย์เซน และแคว้นมากายาเนสและลาอันตาร์ตีกาชีเลนา รวมถึงฝั่งตะวันตกของเตียร์ราเดลฟวยโก และแหลมฮอร์น และจังหวัดปาเลนา ในแคว้นโลสลาโกส

อ้างอิง[แก้]

  1. Antonio Pigafetta, Relazione del primo viaggio intorno al mondo, 1524: "Il capitano generale nominò questi popoli Patagoni." The original word would probably be in Magellan's native Portuguese (patagão) or the Spanish of his men (patagón). It has been interpreted later as "big foot" but the etymology refers to a literary character in a Spanish novel of the early 16th century (see text).
  2. Fondebrider, Jorge (2003). "Chapter 1 – Ámbitos y voces". Versiones de la Patagonia (ภาษาสเปน) (1st ed.). Buenos Aires, Argentina: Emecé Editores S.A. p. 29. ISBN 950-04-2498-3.
  3. Robert Silverberg (2011). "The strange case of the Patagonian giants". Asimov's Science Fiction. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-10. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03. To the voyagers of the sixteenth and seventeenth centuries, when the average height of an adult European male was just over five feet [1.55 meters], the Patagonians surely must have looked very large, as, to any child, all adults seem colossal. Then, too, an element of understandable human exaggeration must have entered these accounts of men who had traveled so far and endured so much, and the natural wish not to be outdone by one’s predecessors helped to produce these repeated fantasies of Goliaths ten feet tall or even more.