ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาตูโรโย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาตูโรโย
ซูรัยต์/ซูร์โยโย
ܛܘܪܝܐ Turoyo
ออกเสียง[tˤuˈrɔjɔ]
ประเทศที่มีการพูดตุรกี, ซีเรีย
ภูมิภาคจังหวัดมาร์ดินทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี; เขตผู้ว่าการอัลฮะซะกะฮ์ในซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือ
ชาติพันธุ์ชาวอัสซีเรีย
จำนวนผู้พูด100,000  (2019–2023)e27
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรซีรีแอก (ตะวันตก)
ละติน (ชุดตัวอักษรตูร์โยโย)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
รหัสภาษา
ISO 639-3tru
ภาษาแอราเมอิกใหม่ รวมภาษาตูโรโย (ในสีแดง)
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาตูโรโย (ตูโรโย: ܛܘܪܝܐ) อาจเรียกเป็น ซูรัยต์ (ܣܘܪܝܬ) หรือในสมัยใหม่ว่า ซูร์โยโย (ܣܘܪܝܝܐ) เป็นภาษาแอราเมอิกใหม่กลางที่พูดโดยชาวอัสซีเรียในภูมิภาคตูร์อับดินในตุรกีตะวันออกเฉียงใต้และซีเรียเหนือ ผู้พูดภาษาตูโรโยส่วนใหญ่นับถือคริสต์จักรออร์ทอดอกซ์ซีรีแอก แต่มีผู้พููดบางส่วนที่นับถือคริสต์จักรอัสซีเรียตะวันออกและคริสต์จักรคาทอลิกแคลเดีย โดยเฉพาะจากเมืองมิดยาตและกอมิชลี ภาษานี้ยังเป็นภาษาที่พูดกันในชาวอัสซีเรียสมัยใหม่ที่พลัดถิ่น[4] จัดให้อยู่ในภาษาที่มีความเสี่ยง[5][6] ผู้พูดส่วนใหญ่ใช้ภาษาซีรีแอกคลาสสิกในวรรณกรรมและพิธีทางศาสนา[7] ภาษาที่ใกล้ชิดกับภาษานี้ที่สุดคือภาษามลาโซ และวิธภาษาตะวันตกในภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันออกเฉียงเหนืออย่างภาษาซูเร็ต[8] ผู้พูดภาษาตูโรโตกับภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตกไม่สามารถเข้าใจร่วมกันได้ เนื่องจากสองภาษานี้แยกจากกันเป็นเวลาพันกว่าปี[9]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า Ṭuroyo มาจากคำว่า ṭuro หมายถึง 'ภูเขา' จึงเป็นการระบุภาษาแอราเมอิกใหม่เฉพาะในภูมิภาคภูเขาแห่งตูร์อับดินในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศตุรกีสมัยใหม่ (เป็นที่มาของ Turabdinian Aramaic) ส่วนชื่อทั่วไปของภาษานี้ที่พบได้มากกว่าคือ Surayt หรือ Suryoyo[10][11]

ผู้พูดภาษานี้มักเรียกภาษานี้ด้วยคำว่า Surayt ซึ่งเป็นชื่อเรียกทั่วไปในภาษาของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นภาษาสมัยใหม่หรือในอดีต ภาษานี้ถูกใช้ในโครงการที่ได้รับทุนจากสหภาพยุโรปเมื่อไม่นานมานี้เพื่อฟื้นฟูภาษา โดยแทนที่ Ṭuroyo เนื่องจาก Surayt เป็นชื่อในอดีตของภาษาที่ผู้พูดใช้ ในขณะที่ Turoyo เป็นชื่อทางวิชาการมากกว่าสำหรับภาษาที่ใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากกลุ่มภาษาแอราเมอิกใหม่อื่น ๆ และภาษาซีรีแอกแบบคลาสสิก อย่างไรก็ตาม ภาษานี้มักถูกเรียกว่า Surayt, Suryoyo (หรือ Surayt, Sŭryoyo หรือ Süryoyo ขึ้นอยู่กับภาษาถิ่น) ซึ่งหมายถึง "ภาษาซีเรียก" เป็นการทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้อพยพ เนื่องจากภาษานี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นหนึ่งในวิธภาษาทางตะวันตกของภาษาซีรีแอก ทำให้ Turoyo บางครั้งเรียกเป็น "ภาษาซีรีแอกใหม่ตทางะวันตก" ด้วย[12]

ประวัติ

[แก้]

ภาษาย่อย

[แก้]

ภาษาตูโรโยมีคำยืมบางคำจากภาษาอาหรับ[13] ภาษาเคิร์ด ภาษาอาร์มีเนีย และภาษาตุรกี ภาษาย่อยหลักของตูโรโยคือมิดยาต (Mëḏyoyo) ในภาคตะวันออกของจังหวัดมาร์ดินในประเทศตุรกี หมู่บ้านทุกแห่งมีสำเนียงเฉพาะ (Midwoyo, Kfarzoyo, `Iwarnoyo, Nihloyo, และ Izloyo ตามลำดับ)[ต้องการอ้างอิง] ผู้พูดภาษาย่อยตูโรโยทั้งหมดสามารถเข้าใจร่วมกันได้ มีจุดแยกสำเนียงระหว่างเมืองมิดยาตกับหมู่บ้านต่าง ๆ โดยมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในระหว่างหมู่บ้าน[14] ภาษามลาโซ ภาษาที่ใกล้ชิดสุดหรือภาษาย่อยที่มีผู้พูดในหมู่บ้านสองแห่งที่จังหวัดดียาร์บาคือร์ ปัจจุบันถือว่าสูญหายแล้ว[14]

ระบบการเขียน

[แก้]

ภาษาตูโรโยเขียนได้ทั้งในอักษรละตินและอักษรซีรีแอก (Serto) อักขรวิธีข้างล่างเป็นผลจากการประชุมซูรัยต์นานาชาติที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (27–30 สิงหาคม ค.ศ. 2015)[11][15]

พยัญชนะ
อักษรละติน ' B b V v G g Ġ ġ J j D d Ḏ ḏ H h W w Z z Ž ž Ḥ ḥ Ṭ ṭ Ḍ ḍ Y y
อักษรซีรีแอก ܐ ܒ ܒ݂ ܓ ܓ݂ ܔ ܕ ܕ݂ ܗ ܘ ܙ ܙ݅ ܚ ܛ ܜ ܝ
ออกเสียง [ʔ], ∅ [b] [v] [g] [ɣ] [] [d] [ð] [h] [w] [z] [ʒ] [ħ] [] [] [j]
อักษรละติน K k X x L l M m N n S s C c P p F f Ṣ ṣ Q q R r Š š Č č T t Ṯ ṯ
อักษรซีรีแอก ܟ ܟ݂ ܠ ܡ ܢ ܣ ܥ ܦ ܦ݂ ܨ ܩ ܪ ܫ ܫ݂ ܬ ܬ݂
ออกเสียง [k] [x] [l] [m] [n] [s] [ʕ] [p] [f] [] [q] [r] [ʃ] [] [t] [θ]
สระ
อักษรละติน A a Ä ä E e Ë ë O o Y/I y/i W/U w/u
สัญลักษณ์สระซีรีแอก
(หรือ mater lectionis)
ܰ ܱ ܶ ܷ ܳ ܝ ܘ
ออกเสียง [a] [ă] [e] [ə] [o] [j]/[i] [w]/[u]

ความพยายามในการเขียนภาษาตูโรโยเกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีการดัดแปลงและแปลข้อความในพระคัมภีร์ อรรถาธิบาย ตลอดจนเรื่องราวชีวประวัตินักบุญ หนังสือ และนิทานพื้นบ้านจากภาษาฮีบรูแอราเมอิกใหม่ไปเป็นภาษาท้องถิ่น บิชอปซีรีแอกตะวันออกนาม Mar Yohannan ทำงานร่วมกับบาทหลวงมิชชันนารีชาวอเมริกัน สาธุคุณ จัสติน เพอร์กินส์ ผู้พยายามเขียนข้อความทางศาสนาในรูปแบบพื้นเมือง ซึ่งสุดท้ายแล้วได้ผลิตในรูปบัตรนักเรียนใน ค.ศ. 1836[16]

ในประเทศเยอรมนีช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 สมาชิกขบวนการอีแวนเจลิคัลแอราเมอัน (Aramäische Freie Christengemeinde) ใช้ภาษาตูโรโยในการเขียนข้อความสั้นและเพลง[17] ขบวนการอีแวนเจลิคัลซีรีแอกยังได้ตีพิมพ์บทเพลงสรรเสริญในภาษาตูโรโยมากกว่า 300 บทในหนังสือรวมชื่อ Kole Ruhonoye ใน ค.ศ. 2012 และยังได้แปลพระวรสารทั้งสี่เล่ม โดยตีพิมพ์พระวรสารนักบุญมาระโกและนักบุญยอห์นไปแล้ว[17]

ในคริสต์ทศวรรษ 1970 Yusuf Ishaq นักการศึกษา พยายามรวมภาษาตูโรโยเข้ากับอักขรวิธีละตินอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้มีการผลิตหนังสืออ่านชุดหนึ่งชื่อ [toxu qorena][4] แม้ว่าระบบนี้ไม่ใช้งานนอกสวีเดน ผู้พูดภาษาตูโรโยคนอื่น ๆ ได้พัฒนาอักษรละตินแบบไม่ได้มาตรฐานของตนเองเพื่อใช้ภาษาในแพลตฟอร์มดิจิทัล

Iliana พูดภาษาตูโรโย

สัทวิทยา

[แก้]

วิทยาหน่วยคำ

[แก้]

ระบบเสียงของภาษาตูโรโยใกล้เคียงกับภาษาซีเรียคคลาสสิก ระบบคำกริยาใกล้เคียงกับภาษาแอราเมอิกใหม่ มีการพัฒนาคำสรรพนามชี้เฉพาะมากกว่าภาษาแอราเมอิก มีคำนำหน้านามชี้เฉพาะ เช่น u-malko (the king) i-malëkṯo (the queen)

หมายเหตุ

[แก้]
  1. สิทธิในการได้รับการศึกษาในภาษาแม่ของตนได้รับการสถาปนาให้เป็นหลักประกันทางกฎหมาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Elissa, Jalinos (23 September 2021). "Breakthrough in Syriac school crisis in Zalin (Qamishli) in North and East Syria, Olaf Taw Association explains to SuroyoTV". SuroyoTV (Interview). สัมภาษณ์โดย Jacob Mirza. Zalin, Syria: SyriacPress. สืบค้นเมื่อ 14 April 2022.
  2. Akbulut, Olgun (2023-10-19). "For Centenary of the Lausanne Treaty: Re-Interpretation and Re-Implementation of Linguistic Minority Rights of Lausanne". International Journal on Minority and Group Rights. -1 (aop): 1–24. doi:10.1163/15718115-bja10134. ISSN 1385-4879.
  3. Erdem, Fazıl Hüsnü; Öngüç, Bahar (2021-06-30). "SÜRYANİCE ANADİLİNDE EĞİTİM HAKKI: SORUNLAR VE ÇÖZÜM ÖNERİLERİ". Dicle Üniversitesi Hukuk Fakültesi Dergisi (ภาษาตุรกี). 26 (44): 3–35. ISSN 1300-2929.
  4. 4.0 4.1 Weaver & Kiraz 2016, p. 19-36.
  5. "Turoyo". Endangered Languages. University of Hawaiʻi at Mānoa. 2022. สืบค้นเมื่อ 30 April 2017.
  6. Saouk 2015, p. 361-377.
  7. Brock 1989b, p. 363–375.
  8. Kim, Ronald (2008). ""Stammbaum" or Continuum? The Subgrouping of Modern Aramaic Dialects Reconsidered". Journal of the American Oriental Society. 128 (3): 505–531. ISSN 0003-0279. JSTOR 25608409.
  9. Owens 2007, p. 268.
  10. Awde, Nicholas; Lamassu, Nineb; Al-Jeloo, Nicholas (2007). Modern Aramaic-English/English-Aramaic: Dictionary and Phrasebook. New York City, NY: Hippocrene. ISBN 9780781810876. สืบค้นเมื่อ 17 August 2012.
  11. 11.0 11.1 Talay 2017.
  12. Tezel 2003.
  13. Tezel 2015a, p. 554-568.
  14. 14.0 14.1 Jastrow 2011, p. 697.
  15. "Did you know". Surayt-Aramaic Online Project. Free University of Berlin.
  16. Tomal 2015, p. 29-52.
  17. 17.0 17.1 Talay, Shabo (2015). "Turoyo, the Aramaic language of Turabdin and the translation of Alice". ใน Lindseth, Jon A.; Tannenbaum, Alan (บ.ก.). Alice in a World of Wonderlands: The Translations of Lewis Carroll's Masterpiece. Vol. I: Essays. New Castle, DE: Oak Knoll. ISBN 9781584563310.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]