ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาตาตาร์ไครเมีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาตาตาร์ไครเมีย
ภาษาไครเมีย
qırımtatar tili, къырымтатар тили
qırım tili, къырым тили
Tatarşa, Tatar tĭlĭ (Tatar tili)
ประเทศที่มีการพูดยูเครน, ตุรกี, อุซเบกิสถาน, โรมาเนีย, รัสเซีย, คีร์กีซสถาน, บัลแกเรีย, ลิทัวเนีย, โปแลนด์, เบลารุส
ภูมิภาคยุโรปตะวันออก
ชาติพันธุ์ชาวตาตาร์ไครเมีย
จำนวนผู้พูด540,000  (2006–2011)[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ระบบการเขียนอักษรละตินและซีริลลิก; อดีตเขียนด้วยอักษรอาหรับ (ชุดตัวอักษรตาตาร์ไครเมีย)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ สาธารณรัฐไครเมีย[2] (รัสเซีย)
 ไครเมีย[2] (ยูเครน)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน โรมาเนีย[3]
 รัสเซีย[4]
 ยูเครน[5]
รหัสภาษา
ISO 639-2crh
ISO 639-3crh
Crimean Tatar-speaking world
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาตาตาร์ไครเมีย (qırımtatar tili, къырымтатар тили) หรือภาษาไครเมีย (qırım tili, къырым тили),[1]ภาษาตุรกีไครเมีย เป็นภาษาของชาวตาตาร์ไครเมีย ใช้พูดในไครเมีย เอเชียกลาง โดยเฉพาะในอุซเบกิสถาน และผู้อพยพชาวตาตาร์ ไครเมียในตุรกี โรมาเนีย บัลแกเรีย เป็นคนละภาษากับภาษากวาซัน ตาตาร์

ประวัติ

[แก้]

ภาษานี้เกิดขึ้นในยุคที่ตุรกีแผ่อำนาจเข้าไปในแหลมไครเมียและเป็นการสิ้นสุดอำนาจของไครเมียข่าน ภาษาเขียนหลักในยุคไครเมีย ข่านคือภาษาชะกะไตและภาษาตุรกีแบบออตโตมัน เมื่อเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ภาษาตาตาร์ ไครเมีย เขียนด้วยอักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย พ.ศ. 2319 มีการจัดมาตรฐานภาษาเขียนของภาษาตาตาร์ ไครเมียแต่ละสำเนียงให้เป็นแบบเดียวกันโดย Ismail Gaspirali

ใน พ.ศ. 2471 เปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรละตินแบบภาษาตุรกี และเปลี่ยนเป็นอักษรซีริลลิก ในอีกสิบปีต่อมา เริ่มหันมาใช้อักษรละตินอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2533 แต่ยังคงมีการใช้อักษรซีริลลิกอยู่ ภาษานี้เคยเป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐปกครองตนเองโซเวียตไครเมีย

จำนวนผู้พูด

[แก้]

ปัจจุบัน มีชาวตาตาร์ไครเมียมากกว่า 260,000 คนในไครเมีย มีประมาณ 150,000 คนอาศัยในเอเชียกลาง (ส่วนใหญ่อยู่ในอุซเบกิสถาน) โดยมีบรรพบุรุษที่ถูกทางสหภาพโซเวียตเนรเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองใน ค.ศ. 1944 อย่างไรก็ตาม ในจำนวนคนเหล่านี้ เฉพาะคนรุ่นเก่าส่วนใหญ่เท่านั้นที่พูดภาษาตาตาร์ไครเมีย[6] ใน ค.ศ. 2013 มีการประมาณการว่าภาษานี้มีความเสี่ยงต่อการสูญหาย โดยีการสอนภาษานี้ในไครเมียประมาณ 15 แห่ง ตุรกีให้การสนับสนุนยูเครน เพื่อช่วยนำโรงเรียนสอนด้วยภาษาตาตาร์ไครเมียมาใช้ในรัฐสมัยใหม่[7] มีผู้ที่มีบรรพบุรุษจากไครเมียในตุรกีประมาณ 5 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศตุรกี ในจำนวนนี้มีผู้พูดภาษานี้ประมาณ 2,000 คน[6] และยังมีชุมชนชาวตาตาร์ไครเมียขนาดเล็กในโรมาเนีย (22,000), บัลแกเรีย (6,000) และสหรัฐ[6] ภาษาตาตาร์ไครเมียเป็นหนึ่งในภาษาในทวีปยุโรปที่มีความเสี่ยงต่อการสูญหายอย่างมาก[8]

สำเนียง

[แก้]

มีสามสำเนียงคือ โนคายส์ (ต่างจากภาษาโนไก) กำเนิดจากภาษาเคียปชัก สำเนียงโอคุซซึ่งใกล้เคียงกับภาษาตุรกี และสำเนียงตัตส์ซึ่งมีลักษณะผสมระหว่างสำเนียงทั้งสอง สำเนียงเหล่านี้พัฒนามาจากภาษาคูมันโดยตรง แต่ได้รับอิทธิพลจากภาษาตุรกีแบบโอคุซ การเขียนในปัจจุบันยึดตามสำเนียงตัตส์ โดยผู้พูดสำเนียงนี้มี 55% ของผู้พูดภาษาตาตาร์ ไครเมีย ทั้งหมด

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ภาษาตาตาร์ไครเมีย ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. 2.0 2.1 The status of Crimea and of the city of Sevastopol is since March 2014 under dispute between Russia and Ukraine; Ukraine and the majority of the international community consider Crimea to be an autonomous republic of Ukraine and Sevastopol to be one of Ukraine's cities with special status, whereas Russia considers Crimea to be a federal subject of Russia and Sevastopol to be one of Russia's three federal cities like Russians cities Moscow and Saint Petersburg.
  3. "Reservations and Declarations for Treaty No.148 – European Charter for Regional or Minority Languages". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 28 December 2016.
  4. "Глава 1. ОСНОВЫ КОНСТИТУЦИОННОГО СТРОЯ | Конституция Республики Крым 2014". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2015. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  5. "To which languages does the Charter apply?". European Charter for Regional or Minority Languages. Council of Europe. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-27. สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
  6. 6.0 6.1 6.2 ภาษาตาตาร์ไครเมีย ที่ Ethnologue (16th ed., 2009) Closed access
  7. Crimean Tatar language in danger เก็บถาวร 2017-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Avrupa Times, 02/19/2013
  8. "Tapani Salminen, UNESCO Red Book on Endangered Languages: Europe, September 1999". University of Helsinki, Finland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2012. สืบค้นเมื่อ 27 February 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]