ผู้วินิจฉัย 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้วินิจฉัย 1
ช่วงต้นของหนังสือผู้วินิจฉัยในฉบับอะเลปโป ต้นฉบับภาษาฮีบรูในศตวรรษที่ 10
หนังสือหนังสือผู้วินิจฉัย
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู2
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม (สัตตบรรณ)
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์7

ผู้วินิจฉัย 1 (อังกฤษ: Judges 1) เป็นบทแรกของหนังสือผู้วินิจฉัย หนังสือเล่มที่ 7 ของคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิม คัมภีร์ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ นักวิชาการได้สังเกตและศึกษาถึงความคู่ขนานระหว่างบทที่ 1 ของหนังสือผู้วินิจฉัย (ยกเว้นวรรคแรกสุด) กับบทที่ 13 ถึง 19 ของหนังสือโยชูวาที่อยู่ในลำดับก่อนหน้า[1] ทั้งสองมีเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับการพิชิตคานาอันโดยชาวอิสราเอลโบราณ ผู้วินิจฉัย 1 และโยชูวา 1519 นำเสนอเรื่องราวการพิชิตคานาอันอย่างช้า ๆ ค่อยไปค่อยไปโดยแต่ละเผ่าของชาวอิสราเอล และยึดได้เพียงบางส่วนของคานาอัน ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถกวาดล้างชาวคานาอันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งแตกต่างกับในบทที่ 10 และบทที่ 11 ของหนังสือโยชูวา ซึ่งบรรยายถึงชัยชนะอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์แบบของกองกำลังชาวอิสราเอลที่เป็นเอกภาพภายใต้การบังคับบัญชาของโยชูวา [2]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 36 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ XJudges (XJudg, X6, 4QJudgc?; 50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 10–12[4][5][6]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[7][a]

หมายเหตุ[แก้]

  1. หนังสือผู้วินิจฉัยทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Younger, Jr., K. Lawson (1995). "The Configuring of Judicial Preliminaries: ผู้วินิจฉัย 1.1-2.5 and Its Dependence On the Book of Joshua". Journal for the Study of the Old Testament. SAGE Publishing. 20 (68): 75–87. doi:10.1177/030908929502006805. S2CID 170339976. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  2. Wright, G. Ernest (1946). "The Literary and Historical Problem of Joshua 10 and Judges 1". Journal of Near Eastern Studies. University of Chicago Press. 5 (2): 105–114. doi:10.1086/370775. JSTOR 542372. S2CID 161249981. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  3. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  4. Ulrich 2010, p. 254.
  5. Dead sea scrolls - Judges
  6. Fitzmyer 2008, p. 162.
  7. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  8. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]