ข้ามไปเนื้อหา

โยชูวา 8

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยชูวา 8
หนังสือหนังสือโยชูวา
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู1
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์6

โยชูวา 8 (อังกฤษ: Joshua 8) เป็นบทที่ 8 ของหนังสือโยชูวาในคัมภีร์ฮีบรูหรือในพันธสัญญาเดิมของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์[1] ตามธรรมเนียมในศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือเขียนขึ้นโดยโยชูวาร่วมด้วยมหาปุโรหิตเอเลอาซาร์และฟีเนหัส[2][3] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 8 ของหนังสือโยชูวาเน้นไปที่เรื่องราวของการพิชิตเมืองอัยโดยชาวอิสราเอลภายใต้การนำของโยชูวา และเรื่องราวการรื้อฟื้นพันธสัญญาบนภูเขาเอบาลและเกริซิม[5] เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วยโยชูวา 5:13–12:24 เกี่ยวกับการพิชิตคานาอัน[6]

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 35 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q47 (4QJosha; 200–100 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 3–14, 18 และ 34–35 (ก่อน 5:1)[8][9][10] [11]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) (A; A; ศตวรรษที่ 5)[12][a] ชิ้นส่วนของเซปทัวจินต์ภาษากรีกที่มีบทนี้ถูกพบในต้นฉบับอย่างสำเนาต้นฉบับวอชิงตัน 1 (Washington Manuscript I; คริสต์ศตวรรษที่ 5) และพบฉบับย่อของเซปทัวจินต์ในม้วนโยชูวาที่มีภาพประกอบ[14][15][16]

วิเคราะห์

[แก้]

เรื่องเล่าที่ชาวอิสราเอลยึดครองดินแดนคานาอันประกอบด้วยยวรรค 5:13 ถึง 12:24 ของหนังสือโยชูวา และมีโครงเรื่องดังต่อไปนี้:[17]

A. เยรีโค (5:13–6:27)
B. อาคานและอัย (7:1–8:29)
1. บาปของอาคาน (7:1-26)
a. เร่ื่องเล่านำ (7:1)
b. ความพ่ายแพ้ที่เมืองอัย (7:2-5)
c. การภาวนาของโยชูวา (7:6-9)
d. กระบวนการระบุตัวผู้กระทำผิด (7:10-15)
e. การจับตัวอาคาน (7:16-21)
f. การประหารชีวิตอาคานและครอบครัว (7:22-26)
2. การยึดเมืองอัย (8:1-29)
a. เรื่องเล่านำ (8:1-2)
b. อุบายของพระเจ้าในการยึดเมือง (8:3-9)
c. การปฏิบัติตามอุบายของพระเจ้า (8:10-13)
d. การซุ่มโจมตีประสบความสำเร็จ (8:14-23)
e. การล่มสลายของเมืองอัย (8:24-29)
C. การรื้อฟื้นพันธสัญญาที่ภูเขาเอบาล (8:30–35)
1. การสร้างแท่นบูชา (8:30-31)
2. การคัดลอกธรรมบัญญัติ (8:32-33)
3. การอ่านธรรมบัญญัติ (8:34-35)
D. กลอุบายของชาวกิเบโอน (9:1–27)
E. การทัพฝ่ายใต้ (10:1–43)
F. การทัพฝ่ายเหนือและสรุปรายพระนามกษัตริย์ (11:1–12:24)

เรื่องเล่าในโยชูวา 7-8 เป็นการประสานเรื่องราวของการละเมิดของอาคานเกี่ยวกับ 'สิ่งที่ต้องทำลายถวาย' และเรื่องราวยุทธการที่เมืองอัยเข้าด้วยกัน เพราะทั้งสองเรื่องนี้มีความเชื่อมโยงกัน[18]

การล่มสลายเมืองอัย (8:1–29)

[แก้]

การรื้อฟื้นพันธสัญญาที่ภูเขาเอบาล (8:30–35)

[แก้]
ภูเขาเอบาล (เหนือ) และเกริซิม (ใต้) กับเมืองเชเคม (ปัจจุบันคือ Nablus) ที่อยู่ตรงกลาง ภาพถ่ายโดย Daniel B. Shepp ในปี ค.ศ. 1894

โบราณคดี

[แก้]
แท่นบูชาโบราณบนภูเขาเอบาล

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: โยชูวา 6, โยชูวา 7
  • หมายเหตุ

    [แก้]
    1. หนังสือโยชูวาทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[13]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. Halley 1965, pp. 161–163.
    2. Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
    3. 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets?, Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
    4. Coogan 2007, p. 314 Hebrew Bible.
    5. Coogan 2007, pp. 326–328 Hebrew Bible.
    6. McConville 2007, p. 158.
    7. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    8. Ulrich 2010, pp. 249, 251.
    9. Dead sea scrolls - Joshua
    10. Fitzmyer 2008, p. 34.
    11. 4Q47 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
    12. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    13. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    14. "Discrepancies in manuscripts show how Old Testament scribes edited the Book of Joshua". University of Helsinki. January 29, 2018.
    15. Rösel, Martin (January 1, 2002). "The septuagint-version of the book of Joshua". Scandinavian Journal of the Old Testament. 16 (1): 5–23. doi:10.1080/09018320210000329. S2CID 161116376 – โดยทาง Taylor and Francis+NEJM.
    16. Facsimiles of Illuminated Manuscripts of the Medieval Period เก็บถาวร 2012-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Only contains Joshua chapter II to the end of chapter X
    17. Firth 2021, pp. 27–29.
    18. McConville 2007, p. 164.

    บรรณานุกรม

    [แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]