เผ่ามนัสเสห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มนัสเสห์ เป็นบุตรชายคนโต ของโยเซฟ และนางอาเสนัท ก่อนที่ยาโคบ และครอบครัวของท่านจะย้ายเข้ามายังอียิปต์ ด้วยเหตุนี้ ยาโคบจึงยกให้บุตรชายทั้งสองคนของโยเซฟ เทียบเท่าบุตรชายคนอื่น ๆ ของตน ดังนั้นในอิสราเอลจึงมี 12 เผ่าตามจำนวนบุตรชายของยาโคบ แต่จะนับพงศ์พันธุ์ของโยเซฟ ออกเป็น 2 เผ่า คือ เอฟราอิม และมนัสเสห์ คำว่า มนัสเสห์ มีรากศัพท์มาจากภาษาฮีบรู แปลว่า การทำให้ลืม[1] เพราะเมื่อมีบุตรคนนี้ โยเซฟ ได้กล่าวว่า "เพราะว่าพระเจ้าโปรดให้ข้าพเจ้าลืมความยากลำบากทั้งปวง และบรรดาพงศ์พันธุ์ของบิดาเสีย"[2]

บุตรของยาโคบ ตามชื่อภรรยา (ญ = บุตรสาว)
(ตัวเลขในวงเล็บคือลำดับของการเกิด)
เลอาห์ รูเบน (Reuben) (1) สิเมโอน (Simeon) (2) เลวี (Levi) (3) ดีนาห์ (Dinah) (ญ)
ยูดาห์ (Judah) (4) อิสสาคาร์ (Issachar) (9) เศบูลุน (Zebulun) (10)
ราเชล โยเซฟ (Joseph) (11) เบนยามิน (Benjamin) (12)
เอฟราอิม บุตรโยเซฟ (11.1) มนัสเสห์ บุตรโยเซฟ (11.2)
บิลลาห์
(สาวใช้นางราเชล)
ดาน (Dan) (5) นัฟทาลี (Naphtali) (6)
ศิลปาห์
(สาวใช้นางเลอาห์)
กาด (Gad) (7) อาเชอร์ (Asher) (8)


คำอวยพรของยาโคบ[แก้]

เมื่อยาโคบใกล้สิ้นชีวิตนั้น โยเซฟ ได้นำบุตรชายทั้งสองเข้าไปพบบิดา เพื่อให้ยาโคบอวยพรแก่บุตรทั้งสอง ยาโคบได้กล่าวว่า "...บุตรทั้งสองของเจ้าที่เกิดในอียิปต์ ก่อนพ่อมาหาเจ้าในอียิปต์ก็เป็นบุตรของเรา เอฟราอิม และมนัสเสห์ จะต้องเป็นของพ่อเหมือนรูเบนและสิเมโอน..."[3]

เมื่อจะอวยพรแก่เอฟราอิม และมนัสเสห์นั้น ยาโคบได้นำมือขวาวางบนเอฟราอิม ผู้น้อง และวางมือซ้ายลงบน มนัสเสห์ ผู้พี่ ทั้งนี้เนื่องจากยาโคบกล่าวว่า "...น้องชายจะใหญ่โตกว่าพี่..."[4] ด้วยเหตุทั้งสองนี้ จึงพบว่าอิสราเอลจึงยก ให้เอฟราอิม และมนัสเสห์ เป็นเผ่าเช่นเดียวกัน และมักจะเรียกเอฟราอิม ก่อนหน้า มนัสเสห์

คำอวยพรของยาโคบ แก่ เอฟราอิม เป็นดังนี้ "...ให้เขาสืบชื่อของข้าพเจ้า และชื่อของอับราฮัม และชื่อของอิสอัคบิดาของข้าพเจ้าไว้ และขอให้เขาเจริญขึ้นเป็นมวลชนบนแผ่นดินเถิด...พวกอิสราเอลจะให้ชื่อเจ้าให้พรเจ้าว่า ขอให้พระเจ้าโปรดให้ท่านเป็นเหมือนเอฟราอิม และเหมือนมนัสเสห์ เถิด..."

อ้างอิง[แก้]

  1. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับเรียงพิมพ์ใหม่ ปี พ.ศ. 2541 (สมาคมพระคริสตธรรมไทย)
  2. พระธรรมปฐมกาล บทที่ 41 ข้อที่ 51
  3. พระธรรมปฐมกาล บทที่ 48 ข้อที่ 5
  4. พระธรรมปฐมกาล บทที่ 48 ข้อที่ 17-19

ดูเพิ่ม[แก้]