โยชูวา 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยชูวา 2
หนังสือหนังสือโยชูวา
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู1
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์6

โยชูวา 2 (อังกฤษ: Joshua 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือโยชูวาในคัมภีร์ฮีบรูหรือในพันธสัญญาเดิมของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์[1] ตามธรรมเนียมในศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือเขียนขึ้นโดยโยชูวาร่วมด้วยมหาปุโรหิตเอเลอาซาร์และฟีเนหัส[2][3] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 2 ของหนังสือโยชูวาเน้นไปที่เรื่องราวของเหล่าผู้สอดแนมที่โยชูวาส่งเข้าไปในเมืองเยรีโค และเรื่องราวการพบกับราหับของเหล่าผู้สอดแนม[5] เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วยโยชูวา 1:1–5:12 เกี่ยวกับการเข้าสู่ดินแดนคานาอัน[6]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 24 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ XJoshua (XJosh, X1; 50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรค 4-5 หลงเหลืออยู่[8][9][10] และ 4Q48 (4QJoshb; 100–50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรค 11-12 หลงเหลืออยู่[8][9][11][12]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[13][a] ชิ้นส่วนของเซปทัวจินต์ภาษากรีกที่มีบทนี้ถูกพบในต้นฉบับอย่างสำเนาต้นฉบับวอชิงตัน 1 (Washington Manuscript I; คริสต์ศตวรรษที่ 5) และพบฉบับย่อของเซปทัวจินต์ในม้วนโยชูวาที่มีภาพประกอบ[15][16]

การอ้างอิงในพันธสัญญาใหม่[แก้]

วิเคราะห์[แก้]

เรื่องเล่าการเข้าสู่ดินแดนคานาอันของชาวอิสราเอลประกอบด้วยวรรค 1:1 ถึง 5:12 ของหนังสือโยชูวา และมีโครงเรื่องดังต่อไปนี้:[18]

A. การเตรียมเข้าแผ่นดิน (1:1–18)
1. พระบัญชาต่อโยชูวา (1:1–9)
2. บัญชาต่อเหล่าผู้นำ (1:10–11)
3. การสนทนากับเผ่าตะวันออก (1:12–18)
B. ราหับและผู้สอดแนมในเยรีโค (2:1–24)
1. คำสั่งถึงผู้สอดแนม (2:1a)
2. การลวงกษัตริย์แห่งเยรีโค (2:1b–7)
3. คำสาบานต่อราหับ (2:8–21)
4. รายงานถึงโยชูวา (2:22–24)
C. ข้ามแม่น้ำจอร์แดน (3:1–4:24)
1. การเตรียมการในช่วงต้นเพื่อข้ามแม่น้ำ (3:1–6)
2. บัญชาในการข้ามแม่น้ำ (3:7–13)
3. การข้ามแม่น้ำอย่างอัศจรรย์: ส่วนที่ 1 (3:14–17)
4. ศิลาจารีกสิบสองก้อน: ส่วนที่ 1 (4:1–10a)
5. การข้ามแม่น้ำอย่างอัศจรรย์: ส่วนที่ 2 (4:10b–18)
6. ศิลาจารีกสิบสองก้อน: ส่วนที่ 2 (4:19–24)
D. การเข้าสุหนัตและพิธีปัสกา (5:1–12)
1. ความกลัวของชาวคานาอัน (5:1)
2. การเข้าสุหนัต (5:2–9)
3. พิธีปัสกา (5:10–12)

ราหับรับผู้สอดแนม (2:1–7)[แก้]

ราหับรับและซ่อนตัวผู้สอดแนม โดย Frederick Richard Pickersgill (ค.ศ. 1881)

เรื่องเล่าในบทนี้ดูมีลักษณะเป็นบทคั่น แต่แท้จริงแล้วเรื่องราวนี้ให้ข้อมูลภูมิหลังสำหรับเรื่องราวการข้ามแม่น้ำจอร์แดนและยุทธการที่เยรีโค[19] การส่งผู้สอดแนมออกไปเป็นไปตามแบบอย่างที่โมเสสเคยทำ (กันดารวิถี 13, เฉลยธรรมบัญญัติ 1:21–23; เปรียบเทียบกับโยชูวา 7:2–3)[19] แต่ผลแตกต่างจากภารกิจก่อนหน้าซึ่งให้ผลล้มเหลวในการยึดแผ่นดินแห่งพระสัญญาเพราะความกลัว (กันดารวิถี 13–14) ครั้งนี้ผู้สอดแนมต่างสนับสนุนประชาชนให้รุดหน้าไป (วรรคที่ 24; ตรงกันข้ามกับกันดารวิถี 13:31–33)[20] ราหับกลายเป็นศูนย์กลางของเรื่องราวโดยเป็นบุคคลที่มีชื่อเพียงคนเดียวในเรื่องราวนี้[19] และควบคุมทุกการกระทำในเรื่องราว โดยเธอให้ข้อมูลแก่ผู้สอดแนม ปกป้องและแนะนำที่ปลอดภัยให้ผู้สอดแนม ในขณะที่ผู้สอดแนม, กษัตริย์ของเยรีโคและเจ้าหน้าที่ของพระองค์ไม่มีการระบุชื่อ[21]

วรรคที่ 1[แก้]

ต่อมาโยชูวาบุตรนูนส่งชายสองคนจากเมืองชิทธีมเป็นการลับไปสอดแนม กล่าวว่า "จงไปตรวจดูแผ่นดินนั้น โดยเฉพาะเมืองเยรีโค" เขาทั้งสองก็ไป เข้าไปในบ้านของหญิงโสเภณีคนหนึ่งชื่อราหับ และพักอยู่ที่นั่น [22]
  • "ชิทธีม": ถูกระบุว่าเป็น "Tell el-Ḥammām" ในปัจจุบันบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน ตรงข้ามกับเยรีโค[23] ในที่นี้เขียนเป็นรูปแบบสั้นเช่นเดียวกับในกันดารวิถี 25:1 ไม่ใช่รูปแบบยาวว่า "อาเบลชิทธิม" อย่างในกันดารวิถี 33:49[24]

คำสาบานต่อราหับ (2:8–24)[แก้]

"ราหับปล่อยให้ผู้สอดแนมหนี" ภาพพิมพ์แกะไม้ในปี ค.ศ. 1860 โดย Julius Schnorr von Karolsfeld

การเผยความเชื่อของราหับ (วรรค 8–11) หนุนใจผู้สอดแนมในความเชื่อต่อพระสัญญาของพระเจ้า (เปรียบเทียบกับอพยพ 23:27; กันดารวิถี 22:3) ในขณะที่ราหับกล่าวย้อนให้ระลึกถึงชัยชนะในฟากตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนในฐานะประจักษ์พยานว่าพวกเขาก็จะได้รับความสำเร็จในคานาอัน (เฉลยธรรมบัญญัติ 3:21-2) และด้วยเหตุนี้ราหับจึงร้องขอให้ชีวิตของตัวเธอและครอบครัวได้รับการ 'แสดงความเมตตา' (ภาษาฮีบรู: hesed; วรรค 12) ด้วยการเชื่ออย่างคาดหวังในความสัมพันธ์แห่งพันธสัญญา (เปรียบเทียบกับ 1 ซามูเอล 20:8)[20] ผู้สอดแนมตกลงแล้วสาบานโดยใช้ชีวิตของตนเป็นประกันความปลอดภัยของราหับและครอบครัว (วรรค 14,19) หากราหับไม่ 'เปิดเผยภารกิจนี้ของเรากับใคร' (วรรค 14, 20) แม้ว่าแนวคิดเรื่องสงครามศักดิ์สิทธิ์จะเรียกร้องให้สังหารชาวเมืองเยรีโคทุกคนก็ตาม (เฉลยธรรมบัญญัติ 2:32–37; 7:1–5; 20:16–18).[20]

วรรค 14[แก้]

ชายนั้นจึงตอบนางว่า "ชีวิตของเราเพื่อชีวิตของพวกเจ้า ถ้าพวกเจ้าไม่เปิดเผยภารกิจนี้ของเรากับใคร เราจะมีความเมตตาและซื่อสัตย์ต่อเจ้า เมื่อพระยาห์เวห์ประทานแผ่นดินนี้แก่เรา"[25]
  • "ภารกิจนี้ของเรา": หมายถึงภารกิจของผู้สอดแนมเป็นหลัก ไม่ได้หมายถึงการพิชิตคานาอันที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะการที่ชาวอิสราเอลกำลังจะพิชิตคานาอันนั้นเป็นสิ่งที่รู้กันโดยทั่วไปในหมู่ชาวคานาอันทั้งหมดอยู่แล้ว (วรรค 9–11)[26]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. หนังสือโยชูวาทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. Halley 1965, pp. 157–158.
  2. Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
  3. 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets? Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
  4. Coogan 2007, p. 314 Hebrew Bible.
  5. Coogan 2007, p. 316 Hebrew Bible.
  6. McConville 2007, p. 158.
  7. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  8. 8.0 8.1 Ulrich 2010, p. 247.
  9. 9.0 9.1 Dead sea scrolls - Joshua
  10. Fitzmyer 2008, p. 162.
  11. Fitzmyer 2008, p. 35.
  12. 4Q48 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
  13. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  14. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
  15. "Discrepancies in manuscripts show how Old Testament scribes edited the Book of Joshua". University of Helsinki. January 29, 2018.
  16. Rösel, Martin (January 1, 2002). "The septuagint-version of the book of Joshua". Scandinavian Journal of the Old Testament. 16 (1): 5–23. doi:10.1080/09018320210000329. S2CID 161116376 – โดยทาง Taylor and Francis+NEJM.
  17. Joshua 2, Berean Study Bible
  18. Firth 2021, p. 27.
  19. 19.0 19.1 19.2 Coogan 2007, p. 318 Hebrew Bible.
  20. 20.0 20.1 20.2 McConville 2007, p. 161.
  21. Rösel 2011, p. 48.
  22. โยชูวา 2:1 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
  23. Rösel 2011, p. 45.
  24. Rösel 2011, pp. 45–46.
  25. โยชูวา 2:14 THSV11
  26. Rösel 2011, p. 51.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]