ศาลปกครอง (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สำนักงานศาลปกครอง)
ราชอาณาจักรไทย
ศาลปกครอง
Administrative Court
ตราสัญลักษณ์ศาลปกครอง
อาคารที่ทำการศาลปกครองสูงสุด
สถาปนา11 ตุลาคม พ.ศ. 2542[1]
ที่ตั้ง120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ไทย
พิกัด13°53′23″N 100°34′05″E / 13.8896519°N 100.5681273°E / 13.8896519; 100.5681273พิกัดภูมิศาสตร์: 13°53′23″N 100°34′05″E / 13.8896519°N 100.5681273°E / 13.8896519; 100.5681273
ที่มาพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
งบประมาณต่อปี2,971,621,600 บาท (ปีงบประมาณ 2560)[2]
เว็บไซต์www.admincourt.go.th
ประธานศาลปกครองสูงสุด
ปัจจุบันศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์
ตั้งแต่1 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ตราสัญลักษณ์ศาลปกครอง [3]

ศาลปกครอง (อังกฤษ: Administrative Court) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ

ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ปัจจุบันนาย ประพัฒน์ ตันสุวรรณนนท์[4]]</ref> เป็นเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง[5]

อำนาจพิจารณาพิพากษา[แก้]

ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มี อำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิด กับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
  2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
  3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
  4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
  5. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
  6. คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

เรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง[แก้]

  1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
  2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
  3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น

อำนาจศาลปกครองสูงสุด[แก้]

ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้

  1. คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุม ใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด
  2. คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออก โดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  3. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด
  4. คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

เขตอำนาจ[แก้]

ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"

รายนามประธานศาลปกครองสูงสุดของไทย[แก้]

  1. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. อักขราทร จุฬารัตน (21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553[14])
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 23 กันยายน พ.ศ. 2558[15])
  3. นายปิยะ ปะตังทา (31 มีนาคม พ.ศ. 2559 – 27 กันยายน พ.ศ. 2564[16])
  4. นายชาญชัย แสวงศักดิ์ (27 กันยายน พ.ศ. 2564[17])

รายนามตุลาการศาลปกครองสูงสุดของไทย[แก้]

รายนามทั้งหมดมีผล 1 ตุลาคม 2566[18]

  1. พินิจ มั่นสัมฤทธิ์
  2. สมมาศ รัฐพิทักษ์สันติ
  3. เกียรติภูมิ แสงศศิธร
  4. วิชัย พจนโพธา
  5. สายทิพย์ สุคติพันธ์
  6. อภิรัฐ ปานเทพอินทร์
  7. เมธี ชัยสิทธิ์
  8. ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว
  9. สิทธานต์ สิทธิสุข
  10. อาทร คุระวรรณ
  11. อุดมศักดิ์ อังศุพิสิฐ
  12. ประพันธ์ คล้ายสุบรรณ
  13. วุฒิชัย ไทยเจริญ

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒, เล่ม 116 ตอนที่ 94 ก, หน้า 1, 10 ตุลาคม 2542
  2. ราชกิจจกานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐, เล่ม 133 ตอน 84 ก หน้า 1, 23 กันยายน 2559
  3. ตราสัญลักษณ์ศาลปกครอง
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 273 ง หน้า 123 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566
  5. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง
  6. "เขตอำนาจของศาลปกครอง". www.admincourt.go.th. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-14. สืบค้นเมื่อ 2022-12-01.
  7. ประกาศที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เรื่อง ให้ศาลปกครองเชียงใหม่ และศาลปกครองพิษณุโลก มีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดใกล้เคียง
  8. ประกาศที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เรื่อง ให้ศาลปกครองนครราชสีมา ศาลปกครองขอนแก่น และศาลปกครองอุดรธานีมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดใกล้เคียง
  9. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๕๕
  10. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๕
  11. ประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง สถานที่ตั้งและวันเปิดทำการของศาลปกครองสุพรรณบุรี
  12. ประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง สถานที่ตั้งและวันเปิดทำการของศาลปกครองภูเก็ต
  13. ประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง สถานที่ตั้งและวันเปิดทำการของศาลปกครองยะลา
  14. ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ตุลาการศาลปกครองพ้นจากตำแหน่ง
  16. ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุด

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]