ยิ่งยง ยอดบัวงาม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ยิ่งยง ยอดบัวงาม | |
---|---|
ชื่อเกิด | ประยงค์ บัวงาม |
รู้จักในชื่อ | ยง |
เกิด | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505[1] |
ที่เกิด | อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง, นักเขียน, พิธีกร, ยูทูบเบอร์ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | มิวสิค ไลน์ อโนทัย โปรโมชั่น (ภมร อโนทัย) , บ๊อกซิ่งซาวด์ , พีจีเอ็ม , มีเดียส์ มิวสิก กรุ๊ป , ท็อปไลน์ ไดมอนด์ |
คู่สมรส | ยศยา ภูนาแร่ (หย่า) มณฑาทิพย์ ยอดบัวงาม |
ยิ่งยง ยอดบัวงาม เป็นนักร้องลูกทุ่งชาย ที่มีผลงานเพลงออกมามากมายหลายชุด นอกจากนั้นเขาก็ยังได้ร่วมแสดงภาพยนตร์และละครอีกหลายเรื่อง ยิ่งยง โด่งดังอย่างมากจากเพลง สมศรี 1992 และเพลงนี้นี่เอง ที่ช่วยปลุกกระแสเพลงลูกทุ่งที่ซบเซาอย่างหนัก ให้กลับมาคึกคักอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]ยิ่งยง ยอดบัวงาม มีชื่อจริงว่า ประยงค์ บัวงาม เป็นบุตรนายพลอย และนางใน บัวงาม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่บ้านเลขที่ 39 หมู่ 3 บ้านโคกโพน ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในครอบครัวเกษตรกรที่มีฐานะยากจน เข้ารับการศึกษาในชั้นประถมที่โรงเรียนประชาบาลกันทรารมย์ (โรงเรียนบ้านกันทรารมย์) ต้องหาเช้ากินค่ำ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาเรียนหนังสือ เมื่อต้องออกไปทำงานช่วยครอบครัว จึงต้องเรียนซ้ำชั้น ประยงค์มีพี่น้อง 6 คน สมัยเรียนอยู่ชั้น ป.3 หลังจากที่ได้ดูหนังเรื่อง " นักเลงสามสลึง " ประยงค์เริ่มชอบร้องเพลง และพอถึง ป.6 ก็เริ่มประกวดร้องเพลง หลังจบ ป.6 ประยงค์ได้บวชเป็นสามเณร และระหว่างที่มาเที่ยวที่กรุงเทพ ก็ได้พบกับ "ภมร อโนทัย " นักแต่งเพลง และนักจัดรายการวิทยุชื่อดังเป็นครั้งแรก
ด้วยความช่วยเหลือของพระที่วัดประยงค์บวช สามเณรประยงค์ได้เรียนต่อจนจบชั้น ม.3 ที่โรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์บำรุง และลาสิกขาบทในปี 2524 เพราะหลงใหลในเสียงของสายัณห์ สัญญา จนถึงกับแอบร้องเพลงอยู่บ่อย ๆ ช่วงที่เป็นเณร จากนั้นก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และมาฝากเนื้อฝากตัวกับภมร แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับ จึงไปทำงานเป็นจับกัง และรับจ้าง ก่อนจะกลับบ้านเมื่อท้อแท้ หลังจากหายท้อ เขาก็ลงมากรุงเทพฯอีก โดยไปสมัครเป็นนักร้องตามวงดนตรีต่าง ๆ และได้ไปอยู่กับวงของคนที่ประยงค์เรียกว่า " เจ๊หมวย " และเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า " เสียงสน มนต์ไพร " จากการตั้งให้ของบรรจง มนต์ไพร ประมัน ยอดบัวงาม ประยงค์จบปริญญา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ได้อัดแผ่น
[แก้]ประยงค์ อยู่กับเจ๊หมวยราว 6 เดือนก็ลาออกเพราะไม่มีงาน เขากลับไปหาภมรอีก ซึ่งภมรก็ได้หางานประเภททำงานบ้านทำสวน แต่เขาก็ทำได้เพียง 2 เดือนก็ลาออก และมาพักช่วยงานภมรอยู่ที่ สถานีวิทยุกรมทหารรักษาดินแดน เขาทำอยู่ที่นี่ได้ 2 ปี ในปี 2528 ภมร ก็ให้เพลงประยงค์มาบันทึกเสียง 2 เพลง คือ " ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย " และ "รัก รัก รัก " ที่ภมร อโนทัย แต่งให้ " ศิริ สินชัย " แต่ศิริร้องไม่ถูกใจ โดยเพลง " ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย " แต่เดิม ภมรตั้งใช้จะให้ใช้ชื่อว่า " สัญญารักมั่น " หลังบันทึกเสียงเสร็จ ภมร ตั้งชื่อให้กับนักร้องใหม่ว่า " ยิ่งยง ยอดบัวงาม "
หลังจากที่เพลงของยิ่งยงถูกเปิดทางวิทยุ คนในวงการหลายคนก็เริ่มถามหาคนที่ร้องเพลงเหล่านี้ และระหว่างที่เพลงเริ่มเป็นที่รู้จัก วันชนะ เกิดดี ก็ได้มาติดต่อให้ยิ่งยงไปร้องเพลงที่คาเฟ่แทนเขา ที่ติดธุระทำผลงานเพลงชุดใหม่ และหลังยิ่งยงได้เข้ามาทำงานที่สถานีวิทยุรักษาดินแดนเต็มตัว เขาก็ถือโอกาสนำผลงานเพลงของตัวเองออกเผยแพร่ทางวิทยุอยู่บ่อย ๆ
ต่อมาวันหนึ่ง คุณสากล อนันตวิชัย นักจัดรายการชื่อดังจากภาคใต้ แห่งสถานีวิทยุ จส.2 อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ได้มีโอกาสฟังเพลงของยิ่งยง ก็เกิดชอบใจ และตกลงเป็นนายทุนตั้งวงดนตรีให้ โดยให้ค่าร้องเขาคืนละ 3,000 บาท ทำให้ภมรต้องเร่งทำเพลงเพิ่มให้ยิ่งยงอีก 8 เพลง ก่อนจะนำมารวมตัดเป็นแผ่นเต็มใช้ชื่อว่า " ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย " นับเป็นผลงานชุดแรกของ ยิ่งยง ยอดบัวงาม จากนั้นก็ตามมาด้วยชุด " วิมานรัก " , " ขอบคุณแฟนเพลง " , และ " หนุ่มชาวเรือ "
เดินสาย
[แก้]หลังเพลงเริ่มติดตลาดทางใต้ ยิ่งยงก็ออกเดินสายทางใต้ และได้รับการต้อนรับเป็นอย่าง ยิ่งยงเดินสายอยู่ราว 6 เดือนก็หยุดวง พร้อมกับมีปัญหากับภมร เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ จากนั้นเขาหันกลับมาร้องเพลงตามคาเฟ่อีกประมาณครึ่งปี พอดี เอกพจน์ วงศ์นาคจะเปิดวง เด๋อ ดอกสะเดา จึงชวนไปอยู่วงเอกพจน์ จากนั้นก็ออกเดินสายกับสายัณห์ สัญญา และพุ่มพวง ดวงจันทร์ หลังจากที่หมดสัญญากับต้นสังกัดเดิม ยิ่งยงก็กลับไปหา ภมรอีกครั้ง
ตำนานสมศรี
[แก้]จากนั้นทั้งสองก็ตั้งหน้าตั้งตาผลิตผลงานเพลงชุดใหม่ โดยในชุดนี้ ยิ่งยงได้แสดงฝีมือการแต่งเพลงด้วยเพลงหนึ่งชื่อว่าเพลง " ยิ่งยงมาแล้ว " ระหว่างนั้นได้พบกับ ปัญญา กตัญญู ที่เคยร้องเพลงตามคาเฟ่ด้วยกัน และปัญญา ได้มอบเพลง " สมศรีขายตัว "ผลงานประพันธ์ของ วุฒิ วรกานต์ ให้ยิ่งยงเอาไปบันทึกเสียง หลังบันทึกเสียงเสร็จช่วงนั้นเป็นปี 2535 ภมรจึงเปลี่ยนชื่อเพลงนี้เป็น " สมศรี 1992 " และเป็นเพลงแรกของหน้า 2 เพราะไม่มีใครคิดว่ามันจะดังเป็นพลุแตกหลังจากนำออกเผยแพร่ตามสถานีวิทยุ
และนับตั้งแต่นั้นมา ชื่อของ ยิ่งยง ยอดบัวงาม ก็เป็นชื่อของหนึ่งในนักร้องลูกทุ่งที่คนไทยรู้จักกันดี กระแสความโด่งดังของเขา ทำให้มีการผลิตนักร้องลอกเลียนแบบ ชื่อ ยิ่งยง ยอดบัวบาน พร้อมกับผลงานเพลงชุด สมศรีไปญี่ปุ่น
ผลงานอัลบั้ม
[แก้]- ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย (2528) (เนชั่นมิวสิก)
- ขอบคุณแฟนเพลง (2529) (เนชั่นมิวสิก)
- วิมานรัก (2530) (เนชั่นมิวสิก)
- หนุ่มชาวเรือ (พฤศจิกายน 2531) (มิวสิกไลน์)
- ยิ่งยงมาตามนัด (พฤศจิกายน 2531) (โรต้า)
- ซุปเปอร์ลูกทุ่ง ชุดที่ 1 - 2 (ธันวาคม 2534) (ท็อปไลน์)
- ยิ่งยงมาแล้ว ชุดที่ 1 - 10 (2535 - 2539) (บ๊อกซิ่งซาวด์,อโนทัยโปรโมชั่น,พีจีเอ็ม,เอ็มจีเอ)
- ยิ่งยงหมึ่นล้าน (2535) (อโนทัยโปรโมชั่น)
- สมศรี 1992 (2535) (ท็อปไลน์)
- รักใครหรือยัง (2535) (ท็อปไลน์)
- รักสาวสะเราะแอง (ตุลาคม 2535) (ท็อปไลน์)
- แท็กซี่กับนางโลม (2535) (ท็อปไลน์)
- ทีเด็ดยิ่งยง 3 ชุดทีเด็ดสมศรี (ตุลาคม 2536) (ท็อปไลน์)
- เด็ดยอดลูกทุ่งไทย (2537) (ท็อปไลน์)
- อดีตไม่สำคัญ (2538) (ไรท์มิวสิก)
- ยิ่งยงฟอร์มสด (2539) (ไรท์มิวสิก)
- เอกลักษณ์ยิ่งยง (2539) (มูฟวี่แอนด์มิวสิก)
- ยิ่งยงมาใหม่ ชุดที่ 1 - 2 (2539) (พีจีเอ็ม)
- ยิ่งยงแหลงใต้ 1 (2540) (พีจีเอ็ม)
- ยิ่งยงแหลงใต้ 2 (2540) (พีจีเอ็ม)
- ยิ่งยง ตลับมันส์ (2540) (พีจีเอ็ม)
- ร้องคู่ ชุดที่ 1 (ร่วมกับ อาภาพร นครสวรรค์) (บ๊อกซิ่งซาวด์)
- ร้องคู่ ชุดที่ 1 (ร่วมกับ สุดา ศรีลำดวน) (บ๊อกซิ่งซาวด์)
- ร้องคู่ ชุดที่ 2 (ร่วมกับ สุดา ศรีลำดวน) (บ๊อกซิ่งซาวด์)
- หันหน้าหากัน ชุดที่ 1 เสียงแคนแทนใจ (ร่วมกับ ยอดรัก สลักใจ) (2540) (เอ็มสตาร์)
- อกหักเพราะรักเมีย (2541) (เอ็มสตาร์)
- รวมมิตรฮิตยิ่งยง (2541) (เอ็มสตาร์)
- ยิ่งยงทรงเครื่อง (2541) (เอ็มสตาร์)
- สวรรค์บ้านทุ่ง (2541) (เอ็มสตาร์)
- สุดยอดรวมฮิต MMG ชุด 2 (2541) (เอ็มเอ็มจี)
- ยิ่งจำยิ่งเจ็บ (พฤศจิกายน 2542) (ดีเคเอส)
- รักใครใจก็ช้ำ (2543) (เอ็มสตาร์)
- จากใจ..ยิ่งยง (พฤษภาคม 2543) (กาเด้นท์)
- สามหนุ่มอีสาน (ร่วมกับ จ่าหลอย เฮนรี่ และ สิทธิพร สุนทรพจน์) (2543) (เอ็มสตาร์)
- รอน้องหน้าเธค (พฤศจิกายน 2544) (ท็อปไลน์)
- กระโน้บติงตอง (ร่วมกับ ทรงพล ยอดบัวงาม) (2544) (ท็อปไลน์)
- เพลงดังแห่งทศวรรษ ชุด ยิ่งยงมาแล้ว (2544) (ไลน์มีเดีย)
- กินยาผิดซอง (พฤษภาคม 2546) (ท็อปไลน์)
- ผมถูกปรักปรำ (กุมภาพันธ์ 2548) (ท็อปไลน์)
- รวมฮิต 17 เพลงดังตลับเพชร (2548) (ท็อปไลน์)
- แม่ไม้เพลงดัง ยิ่งยง ยอดบัวงาม (2549) (มูฟวี สตรีต)
- ไม่เจตนามีเมียน้อย (กุมภาพันธ์ 2549) (ท็อปไลน์)
- พระอาจารย์อ๊อด (2549) (ท็อปไลน์)
- แม่ฮ้างสาวเฒ่าหัวงู (ร่วมกับ อาภาพร นครสวรรค์) (พฤศจิกายน 2551) (ท็อปไลน์)
- ขอแค่คำหวาน (พฤศจิกายน 2552) (ท็อปไลน์)
- กันตรึมสภา (มกราคม 2553) (ท็อปไลน์)
- รวมเพลงดัง 16 เพลงฮิต (กุมภาพันธ์ 2554)
- โนกันตรึม (เมษายน 2555) (ท็อปไลน์)
- คู่ฮอต คู่ฮิตพันล้าน ยิ่งยง & บานเย็น (ร่วมกับ บานเย็น รากแก่น) (ตุลาคม 2556)
ผลงานเพลงดัง
[แก้]- สมศรี 1992
- ช่างทองร้องไห้
- พลอยมาแล้ว
- ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย
- รักบทผิดหวัง
- แท็กซี่กับนางโลม
- เฝ้ารักเฝ้าคอย
- ไปดีเถิดน้อง
- ยิ่งยงมาแล้ว
- อกหักเพราะรักเมีย
- พูดให้รู้เรื่องบ้าง
- กรรมกรก่อสร้าง
- รักสาวเย็บผ้า
- สาวลำยอง
- รักเราเขาแย่ง
- อยากขายหัวใจ
- รักสาวสะเราะแอง
- หนุ่มสุรินทร์รักสาวสุราษฎร์
- เพราะความคิดถึง
- เก็บเส้นผมไว้ดู
- ไอ้หนุ่มท้ายรถ
- ผมถูกปรักปรำ
- อ.ส. รอรัก
- กินยาผิดซอง
- ไม่เจตนามีเมียน้อย
- ขอเงินเมียไปเสียค่าห้อง
- จดหมายพ่ายรัก
- กันตรึมสกา
- แปรจ๋า
- โนกันตรึม
- ห่วงเธอเจอโควิด 19
- เจ็บแค้นแทนเธอ
- ยอดมะพร้าว
อัลบั้มพิเศษ
[แก้]- คาราวะคาราวาน (2537 - กันยายน 2544)
- เพื่อชีวิตพันล้าน (2541)
- รวมฮิตเพลงลูกทุ่งไทย (2541)
- สุดยอดรวมฮิต MMG ชุด 2 (2541)
- สุดยอดเอ็มสตาร์ คาราโอเกะ ชุด 2 (2541)
- ประสานใจ ไทยหาร 2 (2541)
- 3 อัลบั้ม 3 แบบ 3 สไตล์ (ตุลาคม 2544)
- เพลงเฉลิมพระเกียรติองค์ราชา (ธันวาคม 2548) - จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- ร่วมพลิกชะตากรรมชาติ อ่าน คิด ลงประชามติ รธน. (2550) - จัดทำขึ้นโดย คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ ในคณะกรรมการอำนวยการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฯ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่น
[แก้]- ลูกทุ่งพันล้าน 2 (ธันวาคม 2540)
- ต้มยำลูกทุ่งเพื่อชีวิต 1
- โดนใจ ลูกทุ่ง-หมอลำ
- สายด่วนลูกทุ่ง
- พันล้าน ชุด 3 (2544)
- ลูกทุ่งคนดัง (2544)
- ท็อปฮิต 4 ดาว
- ต้นตำรับลูกทุ่งไทย
- ลูกทุ่งไทย ใจเกินร้อย
- ลูกทุ่งซุปเปอร์แด๊นซ์
- ลูกทุ่ง สามทศวรรษ
- 16 เพลงรักโดนใจ
- 16 เพลงซึ้งโดนใจ
- พันล้าน ชุด 8 (2546)
- รำวงย้อนยุด คณะ รวมดาวลูกทุ่ง
- สุดยอดลูกทุ่ง ผู้ชายพันล้าน
- ลูกทุ่งสามช่า มันส์พะยะค่ะ
- ลูกทุ่งสุดยอดเพลงฮิต
- ลูกทุ่งเพลงดัง โดนใจคอเพลง
- คู่ฮิตลูกทุ่ง ยิ่งยง & รุ่ง
- พันล้าน ชุด พิเศษ (กรกฎาคม 2547)
- มันส์ ฮอด ฮิต (มกราคม 2548)
- ลูกทุ่งปัดฝุ่น
- ลูกทุ่งเอฟเอ็ม
- เต้นกันสนั่นเมือง
- ลูกทุ่งสามช่า
- ลูกทุ่งสามช่า ชุด 2
- พันล้าน ชุด 14 (2550)
- ฮิตทั่วไทย ใจลูกทุ่ง
- รวมเพลงฮิต 120 เพลงดัง ดีที่สุด
- รวมเพลงลูกทุ่ง ฮิตที่สุดแห่งปี 2009 (2552)
- ท็อปไลน์ท็อปแดนซ์ ชุด 1 (2552)
- ชุปเปอร์ท็อปฮิต Vol.1 (พฤษภาคม 2554)
- พันล้าน ชุด 18 (มิถุนายน 2554)
- รวมฮิตลูกทุ่งบันเทิง 3 (เมษายน 2555)
- ท๊อปฮิต ท๊อปไลน์ ชุด 1 (กรกฎาคม 2555)
- พี่กับน้องร้องเพลงดัง (กรกฎาคม 2555)
- บิ๊กฮิต 56 (กุมภาพันธ์ 2556)
- หนุ่มฮ็อต ชุด 1 (มีนาคม 2556)
- ท็อปไลน์ดาวน์โหลด (กรกฎาคม 2556)
- ลูกทุ่งเพลงมันส์ (สิงหาคม 2556)
- รวมเพลงดังมันส์ตลอด (กันยายน 2558)
- ลูกทุ่งไทบ้าน อีสานม่วนซื่น 1 (พฤศจิกายน 2558)
- ท็อปไลน์บิ๊กโบนัสฮิต (พฤศจิกายน 2558)
- ลูกทุ่งซุปเปอร์มันส์ 2015 (ธันวาคม 2558)
- ลูกทุ่ง มันส์ ม่วน คัก (ธันวาคม 2558)
- รวมดาว ผู้บ่าวท็อปไลน์ (ธันวาคม 2558)
- โคตรฮิตติดตลาด (มกราคม 2559)
- ลูกทุ่งฮิตโดนใจ
- ลูกทุ่งฮิตติดคาเฟ่
- เพลงมันส์ พันธุ์ลูกทุ่ง (มิถุนายน 2559)
- ขวัญใจรั้วของชาติ
- ลูกทุ่งสะท้านทุ่ง (กรกฏาคม 2559)
- เพลงมันส์สนั่นเวที (กรกฏาคม 2559)
- ลูกทุ่งรวมดาวเพลงดัง
- ย้อนรอย...ลูกทุ่ง ลูกทุ่ง เพลงฮิต
- ลูกทุ่งอีสานฮิตจัดเต็ม (พฤษภาคม 2560)
- ลูกทุ่งย้อนยุคฮิตตลอดกาล
- ลูกทุ่งรวมพล คนหลายชื่อ
- ลูกทุ่งหมอลำม่วนมันส์เว่อร์ (พฤษภาคม 2560)
- ลูกทุ่งยอดฮิต
- เพื่อชีวิต ฮิตสามช่า
- สืบสานตำนานเพลง มรดกอีสาน (ตุลาคม 2560)
- ลูกทุ่งเพลงฮิตที่คิดถึง
- ขันหมากแต่งงาน
ประพันธ์เพลง
[แก้]- มีอ้ายน้องบ่แคร์ - ศิริพร อําไพพงษ์
คอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสิร์ต 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ (21 สิงหาคม 2541)
- คอนเสิร์ต สนามหลวง 3 (12 สิงหาคม 2545)
- คอนเสิร์ต Highlight มหกรรมคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญา (31 สิงหาคม 2546)
- บันทึกการแสดงสด ยิ่งยง ยอดบัวงาม (2547)
- คอนเสิร์ต วันแม่ จากท้องสนามหลวง (12 สิงหาคม 2549)
- คอนเสิร์ต รักแผ่นดิน (7 กรกฎาคม 2550)
- คอนเสิร์ต รวมพลัง แสดงสดจากท้องสนามหลวง (5 ธันวาคม 2552)
- คอนเสิร์ต อยู่อย่างสิงห์ (20 เมษายน 2553)
- คอนเสิร์ต เอกชัย ท้ากัด (18 กันยายน 2553)
- คอนเสิร์ต สานสัมพันธ์ไทยกัมพูชา (28 พฤศจิกายน 2553)
- คอนเสิร์ต Pattaya Countdown 2011 (27 ธันวาคม 2553)
- คอนเสิร์ต ดอกไม้ เพลงหนัง ความรัก (30 กันยายน 2554)
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21 – 22 เมษายน 2555)
- คอนเสิร์ต ศิริราช สุขสันต์ ปันสุข (20 กรกฎาคม 2556)
- คอนเสิร์ต Industrial Fair 2013 (29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2556)
- คอนเสิร์ต ด้วยรักและภักดี (1 ธันวาคม 2556)
- คอนเสิร์ต รวมพลคนรักแม่ มหกรรมนันทนาการและการออกกําลังกาย เทิดไท้ องค์ราชินี (9 สิงหาคม 2557)
- คอนเสิร์ต เทศกาลความสนุก ทุ่งแสนสุข (19 กันยายน 2557)
- คอนเสิร์ต เทศกาล ทุ่งแสนสุข จ.ระยอง (8 พฤศจิกายน 2557)
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเพื่อแผ่นดิน (6 กันยายน 2558)
- มหกรรมคอนเสิร์ต แรงงานไทย เทิดไท้องค์ราชัน (1 พฤษภาคม 2560)
- คอนเสิร์ต Leo Presents ฮัก คอนเสิร์ต หมายเลข 2 มหกรรมเพลงไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี (3 ธันวาคม 2560)
- คอนเสิร์ต รำลึก 26 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (25 มิถุนายน 2561)
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่งการกุศล (8 พฤศจิกายน 2561)
- คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (30 ธันวาคม 2561)
- คอนเสิร์ต หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (16 กันยายน 2562)
- มหกรรมคอนเสิร์ต การกุศล ลูกทุ่งหมอลำ (7 พฤศจิกายน 2562)
- คอนเสิร์ต อาลัยพ่อเพลงแห่งแผ่นดิน พ่อไวพจน์ เพชรสุพรรณ (5-7 พฤษภาคม 2565)
- คอนเสิร์ต หนึ่งใจ…ช่วยเหลือผู้ประสบภัย (25 ตุลาคม 2565)
- คอนเสิร์ต หนึ่งใจช่วยผู้ประสบภัย (26 ตุลาคม 2565)
- คอนเสิร์ต เซิ้ง 4 สุดสวิงริงโก้ (19 ธันวาคม 2565)
- คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ศรเพชร ศรสุพรรณ (8 มกราคม 2566)
- คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (12 มกราคม 2566)
- คอนเสิร์ต จิ๋วแต่แจ๋ว (ครูสง่า อารัมภีร ศิลปินแห่งชาติ & ครูดิเรก เกศรีระคุปต์) (29 ตุลาคม 2566)
- คอนเสิร์ต ครบรอบ 2 ปี ศรเพชร ศรสุพรรณ (8-10 มกราคม 2567)
- คอนเสิร์ต 84 ปี ลูกทุ่งไทย (14 มกราคม 2567)
- คอนเสิร์ต Songkran Festival 2024 Thai Rhythm (13-14 เมษายน 2567)
- คอนเสิร์ต Songkran Festival 2024 (14 เมษายน 2567)
- คอนเสิร์ต วันเพลงลูกทุ่งไทย (11 พฤษภาคม 2567)
เพลงพิเศษ
[แก้]- สดุดีมหาราชา (2556) - เพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา
ผลงานการแสดง
[แก้]ละครโทรทัศน์
[แก้]ซีรีส์
[แก้]- พ.ศ. 2557 หวานใจนายกระจอก (/ช่อง 3) รับบทเป็น
- พ.ศ. 2562 บ้านนามหานคร (/ช่อง 5) รับบทเป็น ครูไข่หวาน
- พ.ศ. 2563 ชุมชนสมหวัง หมู่ 8 (/ไลน์ทีวี) รับบทเป็น
ซิตคอม
[แก้]- พ.ศ. 2545 - 2549 เฮง เฮง เฮง (/ช่อง 3) รับบทเป็น ต้อยติ่ง (รับเชิญ)
- พ.ศ. 2550 รักต้องซ่อม (/ช่อง 5)
- พ.ศ. 2553 หมู่ 7 เด็ดสะระตี่ (/ช่อง 7) รับบทเป็น ยอด
- พ.ศ. 2554 บางรักซอย 9 ตอน เปรี๊ยะ โตรง เตรง (/ช่อง 9) รับบทเป็น (รับเชิญ)
- พ.ศ. 2559 วุ่นนัก รักข้ามตึก (/ช่อง 9) รับบทเป็น
- พ.ศ. 2560 มาวัดกันมั้ย (/ช่องวัน 31) รับบทเป็น เจ้าพ่อชาละวัน (รับเชิญ)
- พ.ศ. 2561 – 2563 สุภาพบุรุษสุดซอย (/ช่องวัน 31) รับบท น้าจันทร์
- พ.ศ. 2561 ฮาตามนัด (/อมรินทร์ทีวี) รับบทเป็น
- พ.ศ. 2561 รักกันมันแจ๋ว (/ช่อง 7) รับบทเป็น ช่างชาย
- พ.ศ. 2566 ชิงร้อย เดอะสตอรี่ ตอน ชีวิตที่ไม่ได้เป็นดั่งในฝัน (/เวิร์คพอยท์) (รับเชิญ)
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545) รับบท หมวดยิ่งยง
- คนปีมะ (2546) รับบท นักร้องประจำวงบางกอก (รับเชิญ)
- หลบผี ผีไม่หลบ (2546) รับบท ช่างบุญรอด (รับเชิญ)
- บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม (2547) รับบท นายอาทิตย์
- มนต์เพลง เอฟ ฟา เอ็ม (2547)
- มนต์รักลูกทุ่ง (2548) รับบท ไอ้แว่น
- ยอดชายนายคำเม้า (2548) รับบท ปวกเพชร
- หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553) รับบท เสือยิ่ง
- รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน (2556) รับบท หมวดยิ่งยง
- บอดี้การ์ดหน้าหัก (2562) รับบท ชุน เขมพิณ
- รักแรก โคตรลืมยาก (2566)
กรรมการตัดสิน
[แก้]- พ.ศ. 2560 : รายการ เปิดม่านลูกทุ่งมหานคร (HAVE A GOOD DRAM, Radio FM95 ลูกทุ่งมหานคร/ช่อง 9) ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00-16.30 น. เริ่มวันเสาร์ที่ 22 เมษายน-5 สิงหาคม 2560 ร่วมกับ ประยงค์ ชื่นเย็น, เสรี รุ่งสว่าง, ศิรินทรา นิยากร
- พ.ศ. 2560 : รายการ มาสเตอร์คีย์เวทีแจ้งเกิด ร้องถล่มดาว (ทีวี ธันเดอร์/ช่อง 3) ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 09.55-10.20 น. เริ่มวันที่ 10 มกราคม 2560-30 เมษายน 2564 ร่วมกับ จาตุรงค์ มกจ๊ก, ไชยา มิตรชัย, ศิริพร อยู่ยอด
- พ.ศ. 2565 : รายการ ดวลเพลงดัง พลังอาชีพ (/ช่อง 7) ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 13.00-13.55 น. เริ่มวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน ร่วมกับ เมทนี บุรณศิริ, รุ่ง สุริยา, ฝน ธนสุนธร, อาจารียา พรหมพฤกษ์, ศิริพร อยู่ยอด, โน้ต เชิญยิ้ม, อาภาพร นครสวรรค์, นงผณี มหาดไทย
- พ.ศ. 2565 : รายการ สงครามไมค์ (OneSiam Entertainment/ช่อง 9) ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00 น. เริ่มวันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน ร่วมกับ ชุติเดช ทองอยู่, เป็กกี้ ศรีธัญญา, ธนัชพันธ์ บูรณาชีวาวิไล, ลูกตาล ชลธิชาศ์, วรัญช์รักษ์ พรปวีณ์วรกุล
รายการ
[แก้]- เข้าแข่นขันในรายการ เพชรตัดเพชร ซีซั่นที่ 1 ในโจทย์ลูกทุ่งยุคแผ่นเสียง (2563)
- เข้าแข่นขันในรายการ เพชร 300 (2563)
- เข้าเล่นเกมส์ในรายการ หัวท้ายตายก่อน (2564-2565)
- เข้าร่วมในรายการ โจ๊กตัดโจ๊ก ตันฉบับมาเอง (2565)
- เข้าร่วมในรายการ โจ๊กตัดโจ๊ก ตันฉบับสลับเพลง ในเพลง ห้องนอนไม่หลับ (ตันฉบับจาก อาภาพร นครสวรรค์) (2565)
มิวสิกวีดีโอ
[แก้]- เพลง แก้วตาขาร็อก ( นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ) พ.ศ. 2545
โฆษณา
[แก้]- ถั่งเช่า ผสมมัลติวิตามินบี (ภาพนิ่ง) พ.ศ. 2562
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ยิ่งยง ยอดบัวงาม มีบุตรสองคนที่เกิดกับยศยา ภูนาแร่ คือ พรศิริ[2][3] (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พิมพ์นารา; ชื่อเล่น: น้ำฝน)[4] และวุฒิไกร บัวงาม (มีชื่อในวงการนักร้องว่า อ้น นิธิพัฒน์)[5] ต่อมายิ่งยงได้สมรสกับมณฑาทิพย์ บัวงาม ทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ชื่อศิมลมาศ บัวงาม ชื่อเล่น โยโย่[6]
ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่น ๆ
[แก้]- เพลง คิง ออฟ ก็อป แด๊นซ์ ร้องโดย ไมเคิ่น ตั๋ง (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ ยิ่งยง)
หนังสือ
[แก้]- ลูกทุ่งเพื่อชีวิต Vol.4
รางวัล
[แก้]- สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2011 สาขานักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม จากเพลง กันตรึมสการ์
- สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2012 สาขานักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม จากเพลง รักเธอเท่าช้าง และ โนกันตรึม
- สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2015 สาขาเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยม จากเพลง โดนใจพี่ไม่ใช่เมีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูล facebook ยิ่งยง ยอดบัวงาม
- ↑ "เจ้าของบ้านเช่า-เพื่อนบ้าน บอกลูก "ยิ่งยง" ถูกทุบปางตาย ล่าสุดสามีต่างชาติมีเมียใหม่แล้ว". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 28 กรกฎาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "'ยิ่งยง' จูงมือลูกเคลียร์ปัญหา พร้อมช่วยเหลือทุกกรณี". ไทยรัฐ. 31 กรกฎาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'ยิ่งยง ยอดบัวงาม' ลูกทุ่งดัง ตกใจ! อดีตภรรยาโผล่เรียกร้องให้เลี้ยงดูหลาน ลูกสาววอนเลิกสร้างภาพลบพ่อ". ข่าวสด. 16 ธันวาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ยิ่งยง" ขอเคลียร์ลูกสาวลั่นต้องเลิกแฟนฝรั่งก่อนถึงให้เข้าบ้าน". สยามดารา. 31 กรกฎาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-06. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หอมกลิ่นลูกทุ่ง". สยามดารา. 6 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดศรีสะเกษ
- ชาวไทยเชื้อสายเขมร
- นักร้องเพลงภาษาเขมร
- นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย
- นักร้องนักแต่งเพลงชาวไทย
- นักแต่งเพลงลูกทุ่ง
- นักร้องชายชาวไทย
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชายชาวไทย
- นักแสดงภาพยนตร์ชายชาวไทย
- นักเขียนชาวไทย
- พิธีกรชาวไทย
- ยูทูบเบอร์ชาวไทย
- นักแสดงชายชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงชายชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- บุคคลจากอำเภอขุขันธ์
- บทความเกี่ยวกับ ดารา ที่ยังไม่สมบูรณ์