ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล กฎหมาย
| ชื่อย่อ = รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย<br>พุทธศักราช 2540
| ภาพ = Green-constitue40.jpg
| ขนาดภาพ = 200 px
| บรรยายภาพ = ภาพวาดการ์ตูนของ[[ชัย ราชวัตร]]ใช้สีเขียวเป็นพื้น ชักชวนให้สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ 2540
| ชื่อเต็ม =
| ชื่อสำหรับอ้าง =
| ผู้ตรา = [[รัฐสภาไทย|รัฐส
| วันตรา =
| ผู้อนุมัติ =
| วันอนุมัติ =
| ผู้ลงนาม = [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
| วันลงนาม = 11 ตุลาคม 2540
| ผู้ลงนามรับรอง = [[วันมูหะมัดนอร์ มะทา]] <br><small>(ประธานรัฐสภา)</small>
| วันลงนามรับรอง = 11 ตุลาคม 2540
| วันประกาศ = 11 ตุลาคม 2540
| วันเริ่มใช้ = 11 ตุลาคม 2540
| ท้องที่ใช้ = {{flag|ประเทศไทย}}
| ผู้รักษาการ =
| ชื่อร่าง = ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
| ชื่อร่างสำหรับอ้าง =
| วันเผยแพร่ =
| ผู้เสนอ =
| วาระที่หนึ่ง =
| วาระที่สอง =
| วาระที่สาม =
| สมุดปกขาว =
| ผู้ยกร่าง = [[สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540|สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]
| การแก้ไขเพิ่มเติม =[[:s:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๔๘|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2548]]
| การยกเลิก = [[:s:ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓|ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3]]
| กฎหมายที่เกี่ยวข้อง = [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534]]
| ภาพรวม =
| คำสำคัญ =
| เว็บไซต์ =
}}
'''[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] พุทธศักราช 2540''' เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครอง[[ประเทศไทย]]ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2540]] ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วย[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|การรัฐประหาร]] เมื่อวันที่ [[19 กันยายน]] [[พ.ศ. 2549]] [[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] ได้ออกประกาศ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549]] ทั้งนี้คณะปฏิรูปฯได้ออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไว้ภายหลัง
'''[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] พุทธศักราช 2540''' เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครอง[[ประเทศไทย]]ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2540]] ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วย[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|การรัฐประหาร]] เมื่อวันที่ [[19 กันยายน]] [[พ.ศ. 2549]] [[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] ได้ออกประกาศ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549]] ทั้งนี้คณะปฏิรูปฯได้ออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไว้ภายหลัง



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:32, 17 กุมภาพันธ์ 2562

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้คณะปฏิรูปฯได้ออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไว้ภายหลัง

รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเข้ามาดำเนินการและได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดย 76 คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และอีก 23 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ 15 ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง[1]

ประวัติ

การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ประสบอุปสรรคมีการเคลื่อนไหว เพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญทั้งภายในและภายนอกสภา โดยการเคลื่อนไหวภายนอกสภานั้น กลุ่มที่ออกมาคัดค้าน เช่น กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน และได้มีองค์กรการเมืองภาคประชาชนออกมาสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เช่น คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตย (ครป.) เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ฯลฯ พรรคการเมืองซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้น ได้แก่ พรรคความหวังใหม่ แสดงท่าทีไม่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งได้นำมวลชนจัดตั้งเข้ามาคัดค้าน ทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุน ที่ใช้ "สีเขียว" เป็นสัญลักษณ์ กับฝ่ายต่อต้าน ที่ใช้ "สีเหลือง" เป็นสัญลักษณ์

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ก็คือการปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมาย 3 ประการ[2]

  1. ขยายสิทธิ เสรีภาพ และส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง
  2. การเพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน เพื่อให้เกิดความสุจริตและโปร่งใสในระบอบการเมือง
  3. การทำให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

การสิ้นสุดลง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยการก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งชาติที่นิวยอร์ก และขณะที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของไทย

อ้างอิง

  1. Kittipong Kittayarak, The Thai Constitution of 1997 and its Implication on Criminal Justice Reform
  2. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดทั่วไป เรื่อง ๑. เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ, สถาบันพระปกเกล้าฯ, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2545, หน้า 124


  • ดร. วรพิทย์ มีมาก. การวิจัยเชิงประเมินรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

แหล่งข้อมูลอื่น