ผู้ใช้:Wasin147/ทดลองเขียน
นี่คือหน้าทดลองเขียนของ Wasin147 หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
หน้าทดลองเขียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ละติน: Bangkok Christian College Sandbox Page Bangkok Christian College | |
---|---|
ไฟล์:BCClogo.png | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ก.ท / BCC |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
คำขวัญ | อย่าให้ความชั่วชนะเราได้ แต่จงชนะความชั่วด้วยความดี (โรม 12:21) |
ผู้ก่อตั้ง | คณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน |
ผู้อำนวยการ | อาจารย์วราภรณ์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการ อาจารย์จินตนา ปรีชาจารย์ ผู้จัดการ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | ประถมศึกษาปีที่ 1-6 มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
เพศ | โรงเรียนชายล้วน |
จำนวนนักเรียน | 6,000 คน |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนกลาง |
สี | ม่วง ทอง |
เพลง | ม่วงทองผ่องอำไพ มาร์ชกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มาร์ช บีซีซี |
สังกัด | กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน [1] |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นชงโค |
เว็บไซต์ | www |
นี่เป็นเพียงหน้าทดลองเขียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (อังกฤษ: Bangkok Christian College ย่อ: ก.ท, BCC) เรียกอย่างย่อว่า กรุงเทพคริสเตียน หรือ คริสเตียน เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2395 ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 167 ปี เป็นโรงเรียนราษฎรแห่งแรกของประเทศไทย เป็นโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เป็นโรงเรียนโปรแตสแตนท์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ และเป็นโรงเรียนเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ปัจจุบันโรงเรียนอยู่ภายใต้การควบคุมของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ ส.ช. [2] โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยตั้งอยู่ เลขที่ 35 ถนนประมวญ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร[3] โรงเรียนมีศิษย์เก่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน ทั้งองคมนตรี 4 คน นายกรัฐมนตรีไทย 2 คน รัฐมนตรีหลายกระทรวง นักร้อง นักแสดง ผู้จัดรายการหลายคน และ อำนวย เสี่ยงไทร์ แพทย์ชื่อดัง โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นโรงเรียนในเครือจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
ประวัติ (ทดลองเขียน)
[แก้]- ค.ศ. 1847 คริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่ 1 กรุงเทพ ได้เริ่มจัดตั้งขึ้น โดยครอยครัวของศจ.สตีเฟนบุช ศจ.แมตตูน และและหมอเฮาส์
- ค.ศ. 1852 มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน (American Presbyterian) ได้ก่อตั้งโรงเรียนใช้ชื่อว่า "โรงเรียนคริสเตียนบอยสกูลกุฎีจีน" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีซินแสก๊วยเซียนเป็นครูใหญ่ โดยมีหลักสูตรการสอนเหมือนตะวันตก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยศาสตร์ โดยมีการสอนเรื่องศาสนาเข้าไปในตัวด้วย ภายในโรงเรียน มีอาคารและห้องเรียนเป็นหลักแหล่ง ซึ่งก่อนเข้าเรียน นักเรียนจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพ และเป็นมาตราฐานสาธารณสุขที่ทันสมัยมากในขณะนั้น และยังมีพระบรมราชานุญาตให้คณะมิชชันซื้อที่ดิน 2 แปลงคือที่ตำบลกุฎีจีน หลังวัดแจ้ง และตำบลสำเหร่ และได้ตั้งโรงเรียนเป็นแห่งแรก ณ ตำบลกุฎีจีน โดยจ้างเด็กมาเรียนวันละเฟื้อง (12 สตางค์)
- ค.ศ. 1857
มีนักเรียนไทยกลุ่มแรกเข้ามาสมัครเป็นนักเรียนที่นี่ ต่อไปนี้เป็นชื่อนักเรียนเท่าที่มีบันทึกเอาไว้
- นร. เลขประจำตัว 1 พระยาอุตรกิจฯ
- นร. เลขประจำตัว 2 หลวงวิจิตรฯ
- นร. เลขประจำตัว 8 หลวงขบวนฯ
- นร. เลขประจำตัว 29 ครูยวญ เตียงหยก
- นร. เลขประจำตัว 31 นายเทียนสู่ กีระนันทน
- ค.ศ. 1862 คณะอเมริกันมิชชันนารี เล็งเห็นว่ากิจการด้านการศึกษาก้าวไกลไปข้างหน้าด้วยดี จึงย้ายโรงเรียนจากเดิมที่ตำบลวัดแจ้งมาเปิดที่ตำบลสำเหร่ และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนมาเป็น โรงเรียนสำเหร่บอยสกูล ซึ่งอยู่ทางใต้ลงมาและมอบให้ศาสนทูต เอล แมตตูน เป็นผู้อำนวยการ ปรากฏว่าผลงานเป็นที่พอใจ อนึ่งในระยะเวลานั้นทางรัฐบาลไทยได้เปิดโรงเรียนของรัฐบาลแห่งหนึ่งที่ตำบลสวนอนันต์ ได้เชิญท่าน เอส.จี.แมคฟาแลนด์ หรือคุณพระอาจวิทยาคมเป็นผู้อำนวยการ โดยมีวัตถุประสงค์หรือนโยบายเพียงให้การศึกษาเฉพาะบุคคลชั้นเจ้านาย ลูกท่านหลานเธอและบุตรข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักเท่านั้น ท่านผู้อำนวยการเห็นว่าภารกิจที่ได้รับมอบหมายนั้น ลำพังท่านเพียงผู้เดียวนั้นยากที่จะดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายได้ ดังนั้นท่านจึงได้ออกปากชวน ท่านอาจารย์จอห์น.เอ.เอกิ้น เข้ามาร่วมงานอีกท่านหนึ่ง และแล้วกิจการของโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกก็ได้ก้าวหน้าไปด้วยดี
- ค.ศ. 1888 เมื่อท่านอาจารย์จอห์น.เอ.เอกิ้นได้เข้าร่วมงานกับท่านอาจารย์เอส.จี.แมคฟาแลนด์ได้ระยะหนึ่งและเมื่อพ้นพันธะใดๆแล้ว ท่านก็ลาออกจากตำแหน่งครูรัฐบาลแต่ด้วยใจรักการศึกษา ท่านก็ได้จัดตั้งโรงเรียนส่วนตัวขึ้น ณ ตำบลวัดกระดี่จีน (กุฏีจีน) ชื่อว่าโรงเรียนบางกอกคริสเตียนไฮสกูล (B.C.H.) และได้เชิญอาจารย์และแหม่มเจ.บี.ดันแลป พร้อมด้วยน้องสาวของท่าน เข้าร่วมงาน
และในปีเดียวกันนั้นเอง อาจารย์จอห์น.เอ.เอกิ้น และคณะทั้งสามของท่านได้สมัครเข้าสังกัดของคณะเพรสไบธิเรียนแล้ว และในเวลาเดียวกันท่านศาสนทูตเอส.อาร์เฮ้าส์ ท่านศาสนทูตเจ.เอม.คัลเบริ์ทซัน ท่านศาสนทูตเอน.เจ.แมคโดนัล และท่านศาสนทูต เจ.แวนได๊ก์ ได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของท่าน ณ สหรัฐอเมริกา ทำให้ทางฝ่ายมิชชันในกรุงเทพฯ ขาดผู้บริหารด้านการศึกษาไปที่ประชุมจึงได้มีมติให้อาจารย์เจ.เอ.เอกิ้น เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะบริหารงานด้านการศึกษาของมิชชันต่อไป ดังนั้นท่านต้องแบกภารกิจเป็น 2 เท่าคือทั้งงานส่วนตัวที่"บางกอกคริสเตียนไฮสกูล"ที่กุฎีจีน และโรงเรียนของคณะมิชชันที่สำเหร่
- ค.ศ. 1892 ท่านอาจารย์จอห์น.เอ.เอกิ้น เห็นว่าการที่ต้องบริหารงานเป็นสองฝักสองฝั่งเช่นนี้ย่อมสิ้นเปลืองแรงงาน และไม่ประสบความสำเร็จในที่สุด ท่านจึงตัดสินใจยกเลิกกิจการที่กุฎีจีนเสีย และมุ่งหน้าปรับปรุงกิจการส่วนรวมของหมู่คณะ คือดำเนินการบริหารที่สำเหร่แต่เพียงด้านเดียวท่านได้แสดงถึงความเสียสละ อย่างยิ่ง โดยทุ่มเททุนส่วนตัวของท่านที่สะสมไว้เพื่อ "บากกอกคริสเตียนไฮสกูล" ที่กุฎีจีนทั้งหมด เพื่อสร้างงานใหม่ที่ตำบลสำเหร่ โดยได้สร้างอาคารใหม่ใช้เป็นสถานศึกษาสำหรับนักเรียนชาย ขนานามใหม่ว่า "สำเหร่ บอยสกูล"
- ค.ศ. 1900 จึงมุ่งหมายไปยังที่ดินแปลงใหม่ ณ ฝั่งชายแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นฝั่งกรุงเทพฯ ปัจจุบันและในที่สุดก็ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งที่บริเวณ ถนนประมวญ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก และสร้างสถาบันการศึกษาขึ้นใหม่เรียกนามว่า "กรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล" เปิดทำการสอนเป็นปฐมฤกษ์เมื่อ
- ค.ศ. 1902 ทางคณะมิชชันนารีเล็งเห็นว่า หากจะขยายการศึกษาให้กว้างไกลออกไปแล้ว ที่ดินตรงตำบลสำเหร่ไม่เหมาะสม จึงได้ซื้อที่ดินถนนประมวญ ย่านสีลม จากพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้สร้างอาคารเรียนใหม่ รวมถึงมีการจัดหลังสูตรมีแบบแผนการเรียนอย่างชัดเจน และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "กรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล"
- ค.ศ. 1913 กรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล ได้มีการเรียนการสอนที่เป็นมาตราฐานสูง และยังได้มีการจัดการเรียนการสอนในหลายระดับชั้น มติจากบอร์ดนอก จึงได้สั่งให้เปลี่ยนจากไฮสกูล เป็นคอลเล็จ (COLLEGE) ดังนั้นเองนามของสถาบันการศึกษาแห่งนี้จึงได้เปลี่ยนเป็น "กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย" เรียกชื่อและเขียนตามอักษรโรมันว่า BANGKOK CHRISTIAN COLLEGE มักเรียกย่อๆว่า BCC
- ค.ศ. 1920 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้รับเกียรติรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล
- ค.ศ. 1943 ในช่วงที่มีการเรียนการสอนอยู่ เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น โลกครั้งที่สอง โรงเรียนถูกทหารญี่ปุ่นยึด และใช้เป็นสถานพยาบาล จึงต้องปิดการเรียนการสอนชั่วคราว แต่อาจารย์อารีย์ เสมประสาท ก็ได้หาสถานที่ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนชั่วคราว ซึ่งได้ความช่วยเหลือจากคุณครูทองสุข มังกรพันธ์ และคุณครูสุทรรศน์ กฤษณวรรณ ที่ได้ทำจดหมายขอใช้สถานที่ในซอนพร้อมพงษ์ ถนนสุขุมวิท ในเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ และได้ใช้สถานที่ไปจนสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด
- ค.ศ. 1998 สภาคริสตจักรในประเทศไทย ได้ให้ที่ดินบริเวณ 14 ประมวญ กับทางโรงเรียน เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแห่งใหม่ สร้างเสร็จในปี 2001 ปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบัน เป็นอาคารบีซีซี 150ปี ใช้เป็นสถานที่การเรียนการสอน ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
หลักสูตรการเรียน
[แก้]เนื้อหาควรมีการเพิ่ม**
ชีวิตในโรงเรียน
[แก้]กีฬา
[แก้]เนื้อหาควรมีการเพิ่ม**
กิจกรรมนักเรียน
[แก้]เนื้อหาควรมีการเพิ่ม**
การเชียร์และแปรอักษร
[แก้]เนื้อหาควรมีการเพิ่ม**
กิจกรรมด้านวิชาการ
[แก้]เนื้อหาควรมีการเพิ่ม**
กิจกรรมด้านศาสนา =
[แก้]เนื้อหาควรมีการเพิ่ม**
พระมหากรุณาธิคุณ (ทดลองเขียน)
[แก้]บูรพกษัตริยาธิราชและราชกุลแห่งบรมราชจักรีวงศ์ทรงมีคุณอันใหญ่หลวงต่อโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยมาโดยตลอด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) มีพระบรมราชานุญาตให้คณะมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบธีเรียนมิชชั่นซื้อที่ดินในประเทศสยามไว้ 2 แห่ง และสร้าง โรงเรียนแห่งแรกที่ตำบลกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี (อันเป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในปัจจุบัน) เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2395 ต่อมาได้เปิดดำเนินการสอนอีกแห่งที่ตำบลสำเหร่ ฝั่งธนบุรีเช่นกัน[งานค้นคว้าต้นฉบับ?]
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงสนับสนุนโครงการขยายการศึกษาของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่นมายังฝั่งกรุงเทพฯ พระองค์พระราชทานเงินจำนวน 20 ชั่งเพื่อสมทบในกองทุนที่จัดซื้อที่ดินที่ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2443 เพื่อสร้างโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นใหม่ มีอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เริ่มทำการสอนเมื่อ พ.ศ. 2445 นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานนาฬิกาประดับพระปรมาภิไธยย่อ"จ.ป.ร."ไว้ที่สถาบันการศึกษาแห่งนี้
กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสอนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย จะเน้นหนักที่ภาษาอังกฤษโดยจะใช้ภาษาอังกฤษสอนในทุกรายวิชา (ยกเว้นวิชาภาษาไทย) นักเรียนจะต้องพูดภาษาอังกฤษทั้งในเวลาเรียนและเวลาที่อยู่ในโรงเรียน ที่เป็นเช่นนี้เพราะการปลูกฝังทักษะด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน หากนักเรียนคนใดพูดภาษาไทยในเวลาดังกล่าวจะต้องถูกทำโทษโดยการให้อยู่เย็นและท่องงานตามที่อาจารย์มอบหมาย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6) มีพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มีวิทยฐานเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. 2463 นับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ได้รับเกียรตินี้ และแตรวง (วงดุริยางค์) ของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นตัวแทนของเขตพระนครใต้ เป็นกองเกียรติยศบรรเลงร่วมกับแตรวงโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและวงดุริยางค์กองทัพบก บรรเลงนำขบวนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. 2469
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่7) มีพระมหากรุณาธิคุณต่อโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดยพระราชทานโต๊ะทรงพระอักษรประดับตราพระลัญจกร "วชิราวุธ" (โต๊ะทรงพระอักษรชุดนี้เป็นโต๊ะทรงพระอักษรในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นเกียรติแก่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย)
ราชสกุล"มหิดล"นับว่ามีความใกล้ชิดกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งดำริพระอิสสริยยศเป็นกรมหลวงสงขลานครินทร์ พระองค์เสด็จเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นประจำ ด้วยเหตุที่ทรงสนิทสนมกับมิชชันนารีที่บริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในสมัยอาจารย์ เอ็ม.บี.ปาล์มเมอร์ (M.B.Palmer) และ ดร.อี.เอ็ม.เท็ตต์ (E.M.Tate) ทรงสนพระทัยโครงการขยายการศึกษาของคณะมิชชันนารีและได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารแนวพระราชดำริปัจจุบันเก็บไว้ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ทุกครั้งที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก เสด็จเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจะโดยเสด็จด้วยทุกครั้งและทรงเป็นกันเองกับมิชชันนารี ทรงยินดีรับคำเชิญในการร่วมกิจกรรมของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มาโดยตลอด ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีเสด็จเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ทอดพระเนตรเห็นความทรุดโทรมของสนามฟุตบอลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 3,000 บาท เพื่อปรับปรุงสนามฟุตบอลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ให้เป็นสนามฟุตบอลที่ทันสมัย ต่อมาเมื่อคณะศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์ ปาล์มเมอร์ ได้ร่วมกันสร้าง "อนุสรณ์ปาล์มเมอร์" ขึ้น และกราบทูลเชิญพระองค์เป็นองค์ประธานในการเปิดอนุสรณ์ปาล์มเมอร์ และทรงยินดีรับคำเชิญนี้ ภายหลังจากการเปิดอนุสรณ์ปาล์มเมอร์แล้ว พระองค์เสวยพระกระยาหารและทรงซักถามถึงความเป็นไปของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และมีพระราชดำรัสขอให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยอย่าหยุดยั้งในการพัฒนาการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ
ต่อมาคณะผู้ริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย นำโดยอาจารย์อารีย์ เสมประสาท ได้นำคณะครูและนักเรียนเข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ วังสระปทุม เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เพื่อถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยและพระองค์โปรดให้คณะครูและนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ถ่ายภาพร่วมกับพระองค์ด้วย ยังความปิติเป็นล้นพ้นแก่ชาวโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยทุกคน และเมื่อคราวที่พระองค์เจริญพระชนมายุครบ 93 พรรษา โปรดให้วงดุริยางค์โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย บรรเลงเพลงถวาย ณ วังสระปทุมในวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ด้วย
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้พัฒนาอย่างยิ่งทั้งด้านการศึกษาและเทคโนโลยี ด้วยพระมหากรุณาธิคุณยิ่งแต่พระราชาองค์นั้น คือพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริเสนอแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยแก่อาจารย์อารีย์ เสมประสาท ว่า
ควรจะจัดโรงเรียนในลักษณะเดียวกันกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในชนบทเพื่อขยายการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค
อาจารย์อารีย์ เสมประสาท ได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อมเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป
ในพระราชวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา โรงเรียนกุรงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้สร้างอาคารศูนย์วิทยบริการซึ่งเป็นอาคารสูง 16 ชั้น อันเป็นอาคารที่มีความทันสมัยทั้งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษที่ 21 ดังนั้นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงพระราชทานนามอาคารนี้ว่า "อาคารสิรินาถ"
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ไม่หยุดยั้งโครงการพัฒนาการศึกษา ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราชาที่พระราชทานแนวพะราชดำริแก่คณะผู้บริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยจึงได้วางแผนการศึกษาและดำเนินการโครงการต่างๆอันเป็นการก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษหน้า
สมดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย) ที่ทรงประทานให้แก่นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ที่สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2468 ว่า
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยมีแต่จะพัฒนาสืบไป
ผู้อำนวยการ (ทดลองเขียน)
[แก้]Note : ส่วนของผู้อำนวยการ จะต้องสืบค้นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเพิ่มเติม จาก Yearbook และหอประวัติศาสตร์โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เพื่อนำมาอ้างอิง
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง [4] |
---|---|---|
1 | ศาสนาจารย์จอห์น แอนเดอร์สัน เอกิ้น | พ.ศ. 2446-2451 |
2 | ศาสนาจารย์ ดับบลิว. ยี. แมคครัวร์ | พ.ศ. 2451-2462 |
3 | ศาสนาจารย์ อาร์.โอ.แฟรงคลิน | พ.ศ. 2462-2463 |
4 | ศาสนาจารย์ เอ็ม. บี. ปาล์มเมอร์ | พ.ศ. 2463-2481 |
5 | อาจารย์มิส แอนนาเบล กอล์ท | พ.ศ. 2451-2476 |
6 | ดร. อี. เอ็ม. เท็ตต์ | พ.ศ. 2481-2484 |
7 | อาจารย์เจริญ วิชัย | พ.ศ. 2484-2503 |
8 | ศาสนาจารย์เล็ก ไทยง | พ.ศ. 2503-2506 |
9 | อาจารย์อารีย์ เสมประสาท | พ.ศ. 2506-2521 |
10 | ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล | พ.ศ. 2521-2535 |
11 | อาจารย์บุญยเกียรติ นิลมาลย์ | พ.ศ. 2535-2542 |
12 | อาจารย์ประกอบ พรหมบุตร | พ.ศ. 2542-2543 |
13 | ดร.จารีต องคะสุวรรณ | พ.ศ. 2543-2546 |
14 | ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม | พ.ศ. 2546-2559 |
15 | อาจารย์ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ | พ.ศ. 2559-2562 |
16 | อาจารย์วราภรณ์ ทรัพย์สมบูรณ์ | พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน
|
สถานที่ภายในโรงเรียน (ทดลองเขียน)
[แก้]หอธรรม
[แก้]เป็นหอประชุมที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของโรงเรียน และยังเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนอีกด้วย หอธรรมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ออกแบบโดยสถาปนิก ด.ร.อาโมส ชาง โดยมีวิศวกร ดร.ลิน โธลิน เป็นผู้ให้คำแนะนำ ใช้เวลาการก่อสร้าง 3 ปี ถูกสร้างขึ้น เพื่อมาแทนโรงสวดเดิม โดยเป็นส่วนหนึ่งของแบบแผนการปรับปรุงอาคารเรียน สร้างเมื่อปี 2511 แล้วเสร็จปี 2514 เพื่อใช้ในศาสนพิธีของโรงเรียน ซึ่งเป็นแบบคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ และการประชุมสำคัญต่างๆ ของโรงเรียน รูปร่างของหอธรรมนั้น ผู้ออกแบบใช้แนวคิด "เรือโนอาห์" ซึ่งเป็นเรือที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ทางคริสต์ศาสนาในส่วนพันธสัญญาเดิม ว่าด้วยเหตุการณ์น้ำท่วมโลก หอธรรมสามารถจุคนได้กว่า 1,500 คน ด้านหลังของหอธรรมเป็นที่ตั้งของห้องศาสนกิจ และห้องประชุม 5
อนึ่ง ไม้กางเขนของฝ่ายโปรแตสแตนท์ จะไม่มีรูปพระเยซูถูกตรึงบนกางเขน ต่างจากไม้กางเขนของฝ่ายโรมันคาทอลิก ด้วยฝ่ายโปรแตสแตนท์ถือเรื่องการไม่นับถือรูปเคารพใดๆ มีเพียงไม้กางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ถึงการไถ่บาปของพระเยซูแก่ผู้คนชาวโลกเท่านั้น
อาคาร เอ็ม บี ปาล์มเมอร์ (อาคาร2)
[แก้]เป็นอาคารสูง 4 ชั้น เป็นที่ตั้งของห้อง 00, โรงอาหาร, ห้องเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ห้องเรียนโครงการ IEP , ห้องพักครู, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์,ห้องแนะแนวประถมและห้องส่งเสริมระเบียบวินัยมัธยมต้น
อาคารอารีย์ เสมประสาท
[แก้]เป็นอาคารสูง 6 ชั้นครึ่ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของห้องเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2, ห้องพักครู, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์, ห้องดนตรีไทย และห้องคอมพิวเตอร์ มีลิฟต์ 1 ตัว (มิตซูบิชิ เจนเนอร์เรชั่น2)
อาคารสิรินาถ
[แก้]เป็นอาคารสูง 16 ชั้น เป็นที่ตั้งห้องเรียนของนักเรียนโครงการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน (EIP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6, ห้องพักครู, ฝ่ายบริหาร, ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องการเงิน, ห้องทะเบียน , ห้องประชุม 1-4, สระว่ายน้ำ, ห้องสมุด ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์, ห้องคอมพิวเตอร์, ชุมนุมดนตรี, ลานกิจกรรม และห้องพักผู้บริหาร มีลิฟต์ 4 ตัว (ฮิตาชิ คอมพิวเตอร์ คอนโทรล์)
อาคารบีซีซี 150 ปี
[แก้]เป็นอาคารสูง 20 ชั้น ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น เป็นที่ตั้งของห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ห้องเรียนโครงการ IEP, ที่ทำการมัธยมศึกษา (ห้องประชาสัมพันธ์มัธยม), ห้องแนะแนวมัธยมศึกษา, ห้องส่งเสริมระเบียบวินัยมัธยมปลาย, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ, ห้องสมุด, ห้องประชุม 6-7, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องศูนย์วิทยาการ, ห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ, ที่จอดรถใต้ดิน, ห้องเก็บอุปกรณ์สำหรับเชียร์และแปรอักษร และหอพักนักเรียนประจำ มีลิฟต์ 6 ตัว 2 ตัวเป็นลิฟต์อาจารย์ขึ้นชั้น 10-19 (มิตซูบิชิ เจนเนอร์เรชั่น1)
อาคารจอห์น เอ.เอกิ้น
[แก้]เป็นอาคารเรียนประถมศึกษาสูง 16 ชั้น ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น เปิดใช้ส่วนของห้องเรียนเมื่อ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดป้ายอาคารเมื่อวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2553 อาคารจอห์น เอ.เอกิ้นเป็นที่ตั้งของห้องเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6, ห้องสมุดปัญญาจารย์, ห้องปฏิบัติการ, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องประชุมใหญ่, โรงยิม, หอประวัติศาสตร์ BCC Inspiration Hall, ห้องวีดิทัศน์ และที่จอดรถใต้ดิน มีลิฟต์ 7 ตัว 1ตัวเป็นของครู จอดชั้น B และ M (ทิสเซ่นครุ๊ปป์)
สถานที่อื่นๆภายในโรงเรียน
[แก้]- ลานชงโค เป็นลานอเนกประสงค์ ตั้งอยู่ระหว่างอาคารเอ็ม บี ปาล์มเมอร์ และอาคารสิรินาถ ร่มรื่นด้วยต้นไม้ มีโต๊ะและเก้าอี้ไม้สำหรับนั่งพัก พร้อมด้วยเวทีเล็ก ซึ่งในเวลาพักจะมีการจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียน มีสนามเปตองเล็กๆ ข้างๆลานชงโค
- สวนน้ำตก เป็นสวนสวยที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาชนิด ตั้งอยู่ข้างโรงอาหาร
- โรงอาหาร มีร้านอาหารร่วม 20 ร้าน ซึ่งมีทั้งข้าว, ก๋วยเตี๋ยว, เบเกอร์รี่, ผลไม้, เครื่องดื่ม และไอศกรีม
- ห้องสมุด มีสามแห่งคืออาคารจอห์น เอ.เอกิ้น (ห้องสมุดปัญญาจารย์), อาคารสิรินาถ (ห้องสมุด ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล) และอาคารบีซีซี 150 ปี (ห้องสมุดมัธยม) ภายในแยกหมวดหมู่หนังสืออย่างชัดเจน รวมทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ สำหรับนักเรียนเพื่อให้รับรู้ข่าวสารต่างๆ พร้อมด้วยระบบยืม-คืน คอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับนักเรียนเพื่อใช้สืบค้นหาข้อมูลและหาความรู้ระหว่างช่วงเวลาพักและหลังเลิกเรียน ห้อง Conference Room ซึ่งจะเปิดสารคดีและภาพยนตร์ต่างๆในระหว่างเวลาพักและหลังเลิกเรียน มุมยืมซีดีภาพยนตร์และโปรแกรม มุมถ่ายเอกสาร พร้อมกล้องวงจรปิดภายในห้องสมุดเพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันการขโมยหนังสือ
- Book Store ร้านขายเครื่องเขียน และอุปกรณ์ประกอบการเรียนต่างๆ ตั้งอยู่ในลานชงโค
- สะพานลอยเชื่อมอาคารบีซีซี 150 ปี เป็นทางเดินยกระดับซึ่งเชื่อมระหว่างอาคาร 2 ไปสู่อาคารบีซีซี 150 ปีซึ่งมี 3 ทางขึ้น-ลง เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของนักเรียน
- สนามฟุตบอล จากเมื่อก่อนที่เป็นสนามฟุตบอลดิน ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสนามหญ้าเทียม เนื่องจากสนามฟุตบอลดินเมื่อฝนตกสนามจะเต็มไปด้วยดินและโคลน ประกอบกับนักเรียนชอบดึงหญ้าเล่นตอนมีกิจกรรมต่างๆ ทำให้สนามเสียหาย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้เริ่มทำการสร้างสนามหญ้าเทียมขึ้นเมื่อประมาณปี 2553-2554
- ความปลอดภัย ภายในโรงเรียนมีระบบความรักษาความปลอดภัยอย่างดี โดยทุกประตูเข้า-ออก และในลิฟต์จะมีกล้องวงจรปิดซ่อนอยู่เพื่อดูแลความเรียบร้อยและป้องกันอันตรายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โรงเรียนมีการเพิ่มมาตรการ ตรวจสอบ ผู้ที่เข้า-ออกบริเวณโรงเรียน เพื่อให้นักเรียน และบุคคลากร ภายในโรงเรีย
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง (ทดลองเขียน)
[แก้]- นายพจน์ สารสิน, พ.ศ. 2500
- นายอานันท์ ปันยารชุน,พ.ศ. 2534-2535
- ศาสตราจารย์ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์
- นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม
- นายกมล วรรณประภา
- พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ
- พล.ต.อ.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- นายยศ เอื้อชูเกียรติ
- พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์
- นายอมเรศ ศิลาอ่อน
- นายเฉลิม เชี่ยวสกุล
- นายสุประดิษฐ์ หุตะสิงห์
- นายวิทย์ รายนานนท์
- นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
- หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล ประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง
- ดร.วิจิตร สุพินิจ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- อดิศักดิ์ ไกรษร นักฟุตบอลสโมสร เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
- ธีรเทพ วิโนทัย นักฟุตบอลสโมสร แบงค็อก ยูไนเต็ด
- ศิวกรณ์ เตียตระกูล นักฟุตบอลสโมสร เชียงราย ยูไนเต็ด
- ปกาศิต แสนสุข นักฟุตบอลสโมสร การท่าเรือ
บุคคลในวงการบันเทิง
- เจตริน วรรธนะสิน นักร้อง - นักแสดงชาวไทย
- ฌอห์น จินดาโชติ นักแสดงชาวไทย
- รณเดช วงศาโรจน์ นักร้อง - นักแสดงชาวไทย
- ชนกันต์ รัตนอุดม นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง
- เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์ นักแสดงชาวไทย
- ชินวุฒิ อินทรคูสิน นักร้อง - นักแสดงชาวไทย
- ชานน สันตินธรกุล นักแสดงชาวไทย
- จักริน กังวานเกียรติชัย นักร้อง - นักแสดงชาวไทย
- อำนวย เสี่ยงไทร์ แพทย์
- กพล ทองพลับ ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ นักแสดง
- ยุกต์ ส่งไพศาล นักแสดงชาวไทย
- หฤษฎ์ ชีวการุณ นักแสดงชาวไทย
- สาริน รณเกียรติ นักแสดงชาวไทย
- ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร นักร้อง - นักแสดงชาวไทย
- เผ่าเพชร เจริญสุข นักร้อง - นักแสดงชาวไทย
- ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ นักร้อง
อ้างอิง
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น (ทดลองเขียน)
[แก้]- โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- สมาคมศิษย์เก่ากรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- สโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- Jaturamitr.com เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- รายละเอียด รูปภาพ ฯลฯ เกี่ยวกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ Wasin147/ทดลองเขียน
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์