ผู้ใช้:Phaisit16207/ทดลองเขียน 7

พิกัด: 41°00′50″N 28°57′20″E / 41.01389°N 28.95556°E / 41.01389; 28.95556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซีซาร์ (กงสุลโรมัน)[แก้]

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์
รูปปั้นครึ่งตัวซีซาร์ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติเนเปิลส์
ผู้เผด็จการแห่งสาธารณรัฐโรมัน
ดำรงตำแหน่ง
ตุลาคม 49 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.
กงสุลแห่งสาธารณรัฐโรมัน
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม 44 ปีก่อน ค.ศ. –
15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ มาร์ก แอนโทนี
ก่อนหน้ากาอิอุส กานีนิอุส เรบิลุส
กับกาอิอุส แตรโบนิอุส
ถัดไปปูบลิอุส กอร์เนลิอุส ดอลาแบ็ลลา
กับ มาร์ก แอนโทนี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม 46 ปีก่อน ค.ศ. –
กันยายน 45 ปีก่อน ค.ศ.
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ มาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส
(46 ปีก่อน ค.ศ.)
ก่อนหน้ากวินตุส ฟูฟิอุส กาเลนุส
กับ ปูบลิอุส วาตีนิอุส
ถัดไปกวินตุส ฟาบิอุส มักซิมุส
กับ กาอิอุส แตรโบนิอุส
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม 48 ปีก่อน ค.ศ. –
1 มกราคม 47 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้ากาอิอุส เกลาดิอุส มาร์แก็ลลุส ไมยอร์
กับ ลูกิอุส กอร์เนลิอุส แล็นตุลุส กรูส
ถัดไปกวินตุส ฟูฟิอุส กาเลนุส
กับ ปูบลิอุส วาตีนิอุส
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม 59 ปีก่อน ค.ศ. –
1 มกราคม 58 ปีก่อน ค.ศ.
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ มาร์กุส กัลปูร์นิอุส บิบุลุส
ก่อนหน้ากวินตุส ไกกิลิอุส แมแต็ลลุส แกแลร์
กับ ลูกิอุส อาฟรานิอุส
ถัดไปลูกิอุส กัลปูร์นิอุส ปีโซ ไกโซนินุส
กับ เอาลุส กาบีนิอุส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดกรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ.
โรม แคว้นอิตาเลีย สาธารณรัฐโรมัน
เสียชีวิต15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ. (55 ปี)
โรม แคว้นอิตาเลีย สาธารณรัฐโรมัน
ที่ไว้ศพวิหารซีซาร์ โรม
ศาสนาพหุเทวนิยมโรมัน
คู่สมรส
  • กอร์เนลิอา (84–69 ปีก่อน ค.ศ.; ตาย)
  • ป็อมเปยา (68–63 ปีก่อน ค.ศ.; หย่า)
  • กัลปูร์นิอา (59–44 ปีก่อน ค.ศ.)
บุตร
  • ยูลิอา ประมาณ 14/2/62 ปีนี้
  • ซิแซเรียน 47–30 ปีก่อน ค.ศ.
  • เอากุสตุส (บุญธรรม) 63 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 19
บุพการี

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (ละติน: Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (อังกฤษ: Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน ค.ศ. ซีซาร์, กรัสซุส และปอมปีย์ ตั้งพันธมิตรทางการเมืองซึ่งจะครอบงำการเมืองโรมันไปอีกหลายปี ความพยายามของพวกเขาในการสั่งสมอำนาจผ่านยุทธวิธีประชานิยมถูกชนชั้นปกครองอนุรักษนิยมในวุฒิสภาโรมันคัดค้าน ซึ่งในบรรดานั้นมีกาโตผู้เยาว์ (Cato the Younger) ด้วยการสนับสนุนบ่อยครั้งของกิแกโร ชัยชนะของซีซาร์ในสงครามกอล ซึ่งสมบูรณ์ใน 51 ปีก่อน ค.ศ. ขยายดินแดนของโรมันไปถึงช่องแคบอังกฤษและแม่น้ำไรน์ ซีซาร์เป็นแม่ทัพโรมันคนแรกที่ข้ามทั้งสองเมื่อเขาสร้างสะพานข้ามแม่น้ำไรน์และบุกครองบริเตนครั้งแรก

ความสำเร็จเหล่านี้ทำให้เขามีอำนาจทางทหารซึ่งไม่มีผู้ใดเทียม และคุกคามฐานะของพอมพีย์ซึ่งเปลี่ยนไปเข้ากับวุฒิสภาหลังกรัสซุสเสียชีวิตใน 53 ปีก่อน ค.ศ. เมื่อสงครามกอลยุติ วุฒิสภาสั่งซีซาร์ให้ลงจากตำแหน่งบังคับบัญชาทหารของเขาและกลับกรุงโรม ซีซาร์ปฏิเสธคำสั่งนั้นและใน 49 ปีก่อน ค.ศ. ท้าทายโดยการข้ามแม่น้ำรุบิโกพร้อมด้วยทหารหนึ่งลีเจียน ทิ้งมณฑลของเขาและเข้าอิตาลีภายใต้อาวุธอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย เกิดสงครามกลางเมืองตามมา และชัยชนะของซีซาร์ในสงครามทำให้เขามีฐานะอำนาจและอิทธิพลโดยไร้คู่แข่ง

หลังเข้าควบคุมรัฐบาล ซีซาร์เริ่มโครงการปฏิรูปสังคมและรัฐบาล รวมทั้งการสถาปนาปฏิทินจูเลียน เขารวมระบบข้าราชการประจำของสาธารณรัฐเข้าสู่ศูนย์กลางและสุดท้ายประกาศตนเป็น "ผู้เผด็จการตลอดชีพ" ทำให้เขายิ่งมีอำนาจมากขึ้นไปอีก แต่ความขัดแย้งทางการเมืองใต้น้ำยังไม่สงบ และในไอดส์มีนาคม (Ides of March) คือ 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ. ซีซาร์ถูกกลุ่มสมาชิกวุฒิสภากบฏลอบสังหาร นำโดยมาร์กุส ยูนิอุส บรูตุสผู้ลูก ผู้ซึ่งเป็นคนสนิทและเป็นเสมือนลูกศิษย์ โดยพูดเป็นประโยคสุดท้ายเป็นภาษาละตินว่า "Et tu Brute" (เจ้าด้วยหรือ บรูตุส)[1] สงครามกลางเมืองชุดใหม่อุบัติ และรัฐบาลสาธารณรัฐอันมีรัฐธรรมนูญไม่เคยถูกฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์ อ็อกตาวิอุส ทายาทบุญธรรมของซีซาร์ ซึ่งภายหลังรู้จักกันในพระนาม จักรพรรดิเอากุสตุส เถลิงอำนาจแต่ผู้เดียวหลังพิชิตศัตรูในสงครามกลางเมืองนั้น อ็อกตาวิอุสรวบรวมอำนาจและเริ่มสมัยจักรวรรดิโรมัน

คนรู้จักชีวิตส่วนมากของซีซาร์จากบันทึกการทัพของเขาเองและจากแหล่งข้อมูลร่วมสมัยอื่น ส่วนใหญ่เป็นจดหมายและสุนทรพจน์ของกิแกโรและงานเขียนประวัติศาสตร์ของแซลลัสต์ (Sallust) เป็นหลัก ชีวประวัติซีซาร์ในภายหลังโดยซุเอโตนิอุสและพลูทาร์กก็เป็นแหล่งข้อมูลหลักเช่นกัน นักประวัติศาสตร์หลายคนถือซีซาร์เป็นผู้บัญชาการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. Woolf Greg (2006), Et Tu Brute? – The Murder of Caesar and Political Assassination, 199 pages – ISBN 1-86197-741-7


หมวดหมู่:บุคคลที่เกิด 100 ปีก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:ทหารชาวโรมัน หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:บุคคลที่ถูกลอบสังหาร หมวดหมู่:เสียชีวิตจากอาวุธมีคม หมวดหมู่:บุคคลที่ถูกจับโดยโจรสลัด หมวดหมู่:ประมุขแห่งรัฐที่ถูกลอบสังหาร

คริสตจักรออร์ทอดอกซ์ตะวันออก[แก้]

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย

คริสตจักรออร์ทอดอกซ์ตะวันออก[1] (อังกฤษ: Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์

ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก

ชาวออร์ทอดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์ทอดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช[2]) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์

คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ

คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

ประวัติ[แก้]

คริสตจักรออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าคริสตจักรของพวกเขาถูกก่อตั้งโดยอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ซึ่งมี 5 คริสตจักรตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก มีดังนี้

  1. คริสตจักรแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล ก่อตั้งโดยนักบุญแอนดรูว์
  2. คริสตจักรแห่งอเล็กซานเดรีย ก่อตั้งโดยนักบุญมาระโก
  3. คริสตจักรแห่งอันติออก ก่อตั้งโดยนักบุญเปาโล
  4. คริสตจักรแห่งกรุงเยรูซาเล็ม ก่อตั้งโดยนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบ และ
  5. คริสตจักรแห่งโรม ก่อตั้งโดยนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล

ต่อมาคริสตจักรเหล่านี้เผยแพร่ศาสนาออกไปและก่อตั้งคริสตจักรจักรย่อยต่าง ๆ ขึ้นมา ได้แก่ คริสตจักรแห่งซีนาย คริสตจักรแห่งรัสเซีย คริสตจักรกรีซ คริสตจักรเซอร์เบีย คริสตจักรบัลกาเรีย คริสตจักรโรมาเนีย เป็นต้น โดยคริสตจักรทั้งหมดนี้จะมีหลักธรรมคำสอนที่เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่จะอำนาจปกครองเป็นอิสระต่อกัน ต่อมาในปี ค.ศ.1054 คริสตจักรแห่งกรุงโรมและคริสตจักรอีก 4 แห่งที่เหลือได้แยกจากกัน คริสตจักรที่เหลืออื่น ๆ นอกจากโรม จะเรียกคริสตจักรตนเองว่า ออร์ทอดอกซ์ ซึ่งจะมีความเชื่อ ความศรัทธา ในหลักธรรมคำสอนเพียงหนึ่งเดียวและพิธีกรรมต่าง ๆ อย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามความเชื่อของพวกเขา[3]

คริสตจักรในสังกัด[แก้]

นิกายออร์ทอดอกซ์ในปัจจุบันนี้ประกอบด้วย 14 ผู้นำคริสตจักรของแต่ละคริสตจักรทั่วโลก[4] ที่ปกครองตนเองที่เป็นอิสระของแต่ประเทศ ซึ่งมีหลักคำสอนและจุดประสงค์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน อัครบิดรของศาสนจักรออร์ทอดอกซ์แต่ละประเทศนั้น สามารถตัดสินใจที่จะกระทำการในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้ แต่จะไม่สามารถที่จะเปลี่ยนหลักคำสอนของนิกายออร์ทอดอกซ์ทั้งสิ้นที่มีมาแต่ดั้งเดิม เนื่องด้วยแต่ละประมุขของนิกายออร์ทอดอกซ์ของแต่ละประเทศนั้นอยู่ในวัตถุประสงค์เดียวกัน คือรักษาหลักคำสอนของนิกายออร์ทอดอกซ์ ซึ่งต้องปฏิบัติตามเหมือนกันอย่างเคร่งครัด[5]

  1. เขตอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล (ประเทศตุรกี)
  2. เขตอัครบิดรแห่งแอนติออกและตะวันออกทั้งมวล
  3. เขตอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย (ประเทศอียิปต์)
  4. เขตอัครบิดรแห่งเยรูซาเลม (ประเทศอิสราเอล)
  5. เขตอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสเซียทั้งมวล (ประเทศรัสเซีย)
  6. เขตอัครบิดรแห่งเซอร์เบีย (ประเทศเซอร์เบีย)
  7. เขตอัครบิดรแห่งโรมาเนีย (ประเทศโรมาเนีย)
  8. เขตอัครบิดรแห่งบัลแกเรีย (ประเทศบัลแกเรีย)
  9. เขตอัครบิดรแห่งจอร์เจีย (ประเทศจอร์เจีย)
  10. คริสตจักรแห่งไซปรัส (ประเทศไซปรัส)
  11. คริสตจักรแห่งกรีซ (ประเทศกรีซ)
  12. คริสตจักรพอลิชออร์ทอดอกซ์ (ประเทศโปแลนด์)
  13. คริสตจักรเช็กและสโลวักออร์ทอดอกซ์ (ประเทศสาธารณรัฐเช็ก)
  14. คริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในอเมริกา (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

วันสำคัญ[แก้]

นิกายออร์ทอดอกซ์ มีเทศกาลและวันสำคัญต่างๆ อีกหลายวันตามปฏิทินจูเลียน ดังนี้

  • 7 มกราคม - วันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส)
  • 19 มกราคม - วันสมโภชพระเยซูเจ้าเข้ารับพิธีล้าง และ สมโภชพระเยซูคริสต์แสดงองค์
  • 15 กุมภาพันธ์ - วันสมโภชพระเยซูเจ้าเข้าสุหนัต
  • วันสมโภชพระเยซูคริสต์เจ้า เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม (วันอาทิตย์แห่งใบปาล์ม)
  • เทศกาลอีสเตอร์ ซึ่งเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันอาทิตย์แรกของสุริยะคติ จันทรคติแรกแห่งฤดูใบไม้ผลิ จากระหว่างวันที่ 4 เมษายน จนถึง วันที่ 8 พฤษภาคม ของแต่ละปี
  • 7 เมษายน - วันฉลองพระนางมารีย์รับสาร (คือการแจ้งข่าวประเสริฐของทูตสวรรค์ต่อพระนางมารีย์พรหมจารีย์ เกี่ยวกับการเสด็จมาจุติสมภพของพระเยซูคริสต์พระบุตรแห่งพระเจ้าในพระครรภ์ของพระนาง)
  • เทศกาลฉลองวันพระจิตเจ้า และ วันแห่งพระตรีเอกภาพ (สิบวันหลังจากการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซูคริสต์เจ้า) ในวันที่ห้าสิบหลังวันอีสเตอร์
  • 19 สิงหาคม - วันสมโภชพระเยซูเจ้าจำแลงพระวรกาย
  • 28 สิงหาคม - วันสมโภชแม่พระบรรทม (วันสิ้นพระชนม์ของพระนางมารีย์)
  • 21 กันยายน - วันสมโภชแม่พระบังเกิด (วันประสูติของพระนางมารีย์)
  • 27 กันยายน - วันสมโภชพระกางเขน
  • 4 ธันวาคม - วันสมโภชพระนางมารีย์เข้าสู่พระวิหาร

แผนภาพ[แก้]

(ไม่ได้แสดงนิกายที่มิใช่ไนซีน, ไม่ถือตรีเอกานุภาพ, และนิกายฟื้นฟูบางนิกาย)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 66
  2. "ข่าวและกิจกรรม". มูลนิธิคริสต์สาสนิกชนดั้งเดิมออร์โธดอกซ์ในประเทศไทย. 15 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ประวัติความเป็นมา". Holy Trinity Church in Phuket. 15 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Ecumenical Patriarchate". สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.
  5. http://www.orthodox.or.th/index.php?content=orthodox_world&lang=th

คอนสแตนติโนเปิล[แก้]

คอนสแตนติโนเปิล
กรีก: Κωνσταντινούπολις
ละติน: Constantinopolis
ตุรกีออตโตมัน: قسطنطينيه
แผนที่ของคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งสอดคล้องกับเขตฟาติห์ ในอิสตันบูลในปัจจุบัย
ชื่ออื่นบิแซนเทียม (ชื่อกรีกในก่อนหน้านี้), Nova Roma ("โรมใหม่"), มิคลากราด/มิคลากรากค์ (นอร์สเก่า), ซาร์กราด (สลาฟ), ควอนสตันตินิญะห์ (อาหรับ), บาซีลูซา ("ราชินีแห่งนคร"), เมกาโลโพลิส ("นครใหญ่"), Πόλις ("นคร"), คอนสแตนตินิเยห์ (ตุรกี)
ที่ตั้งฟาติห์, อิสตันบูล ประเทศตุรกี
ภูมิภาคภูมิภาคมาร์มารา
พิกัด41°00′50″N 28°57′20″E / 41.01389°N 28.95556°E / 41.01389; 28.95556
ประเภทนครใหญ่
ส่วนหนึ่งของ
พื้นที่
  • 6 ตารางกิโลเมตร (2.3 ตารางไมล์) เมื่อถูกล้อมรอบโดยกำแพงคอนสแตนติน
  • 14 ตารางกิโลเมตร (5.4 ตารางไมล์) เมื่อถูกล้อมรอบโดยกำแพงเทออดอซิอุส
ความเป็นมา
ผู้สร้างจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช
สร้าง11 เมษายน ค.ศ. 330
สมัยยุคโบราณตอนปลายถึงยุคกลางตอนปลาย
วัฒนธรรม

คอนสแตนติโนโพลิส (กรีก: Κωνσταντινούπολις Konstantinoúpolis; ละติน: Constantinopolis) คอนสแตนติโนเปิล (อังกฤษ: Constantinople) หรือ คอสแตนตินิเยห์ (ตุรกีออตโตมัน: قسطنطينيه‎, อักษรโรมัน: Ḳosṭanṭīnīye) เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261) ; และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี ค.ศ. 1453 ถึง ค.ศ. 1922

คอนสแตนติโนเปิลตั้งอยู่ระหว่างโกลเดนฮอร์น (Golden Horn) และทะเลมาร์มารา (Sea of Marmara) ตรงจุดที่ทวีปยุโรปพบกับทวีปเอเชีย ตลอดสมัยกลางคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป[1] และร่ำรวยที่สุด

ชื่อของเมืองก็ขึ้นอยู่กับผู้ใดเป็นผู้ครองแต่ที่รู้จักกันก็ได้แก่ บิแซนเทียม (Byzantium) (กรีก: Βυζάντιον; Byzántion), โรมใหม่ (ละติน: Nova Roma), คอนสแตนติโนเปิล และ สตัมบูล (Stamboul) บางทีชาวสลาฟก็เรียกว่า ซาร์กราด (“เมืองแห่งจักรพรรดิ”) ขณะที่ไวกิงเรียกว่า มิคลากราด (Miklagård) หรือ “the Great City” ซึ่งคล้ายกับภาษากรีกที่เรียกเมืองใหญ่ ๆ ว่า “the City” (ἡ Πόλις (hē Pólis))

คอนสแตนติโนเปิลได้รับการขนานนามใหม่เป็นภาษาตุรกีสมัยใหม่ว่า “อิสตันบูล” ในปี ค.ศ. 1930[2][3] ตามนโยบายปฏิรูปตุรกีของมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค อดีตนายกรัฐมนตรีตุรกี[4][5] ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากวลีกรีก “eis tēn polin” ที่แปลว่า “แก่เมืองคอนสแตนติโนเปิล”[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. Pounds, Norman John Greville. An Historical Geography of Europe, 1500-1840, p.124. CUP Archive, 1979. ISBN 0-521-22379-2
  2. BBC - Timeline: Turkey
  3. Room, Adrian, (1993), Place Name changes 1900-1991, Metuchen, N.J., & London:The Scarecrow Press, Inc., ISBN 0-8108-2600-3 p. 46, 86
  4. Britannica, Istanbul
  5. "Lexicorient, Istanbul". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-23. สืบค้นเมื่อ 2009-04-01.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คอนสแตนติโนเปิล

หมวดหมู่:เมืองหลวงของรัฐสิ้นสภาพ