มาร์กุส ลิกินิอุส กรัสซุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาร์กุส ลิกินิอุส กรัสซุส
White male bust
รูปปั้นหินอ่อนของกรัสซุส, ใน Ny Carlsberg Glyptotek, โคเปนเฮเกน
เกิดปี 115 ก่อนคริสตกาล[1]
เสียชีวิต53 ก่อนคริสตกาล (อายุ 61–62 ปี)
ใกล้กับกาเรห์ (ฮาร์รัน, ตุรกี)
สาเหตุเสียชีวิตเสียชีวิตในการรบ
สัญชาติชาวโรมัน
อาชีพผู้บัญชาการทหารและนักการเมือง
องค์การคณะสามผู้นำที่หนึ่ง
สำนักงานConsul of Rome (70, 55 BC)
คู่สมรสTertulla[2]
บุตรMarcus & Publius Licinius Crassus
บุพการีPublius Licinius Crassus & Venuleia
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
ปีปี 86–53 ก่อนคริสตกาล
การยุทธ์สงครามกลางเมืองของซูลลา
สงครามทาสครั้งที่สาม
ยุทธการที่กาเรห์

มาร์กุส ลิกินิอุส กรัสซุส (ละติน: Marcus Licinius Crassus; 115 – 53 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นแม่ทัพและนักการเมืองชาวโรมันที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงจากสาธารณรัฐโรมันมาเป็นจักรวรรดิโรมัน เขายังถูกเรียกว่า "คนรวยที่สุดในกรุงโรม"[3][4]

กรัสซุสได้เริ่มต้นอาชีพสาธารณะในฐานะผู้บัญชาการทหารภายใต้บัญชาการของลูซิอุส คอร์นิลีอุส ซูลลา ในช่วงสงครามกลางเมืองของเขา ตามมาด้วยการถือสิทธิ์ในการเป็นเผด็จการของซูลลา กรัสซุสได้รวบรวมทรัพย์สินมหาศาลจากการเก็งกำไรที่ดิน กรัสซุลได้ก้าวขึ้นสู่การมีชื่อเสียงทางการเมือง ภายหลังจากที่เขาได้ปราบปรามกบฏทาสภายใต้การนำของสปาร์ตากุสจนได้รับชัยชนะ ได้ทำการแบ่งปันกันในการเป็นกงสุลกับปอมปีย์มหาบุรุษ คู่แข่งของเขา

ด้วยการที่เป็นผู้อุปถัมภ์ทางการเมืองและการเงินของจูเลียส ซีซาร์ ซีซาร์ได้ร่วมมือกับกรัสซุสและปอมปีย์ในการเป็นพันธมิตรทางเมืองอย่างไม่เป็นทางการซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ คณะสามผู้นำที่หนึ่ง ทั้งสามคนต่างมีอำนาจครอบงำในระบบการเมืองของโรมัน แต่การเป็นพันธมิตรก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากความมักใหญ่ใฝ่สูง อัตตา และความอิจฉาของทั้งสามคน ในขณะที่ซีซาร์และกรัสซุสเป็นพันธมิตรกันมาตลอดทั้งชีวิต กรัสซุสและปอมปีย์ต่างไม่ชอบหน้ากันและกัน และปอมปีย์เริ่มอิจฉาถึงความสำเร็จอันงดงามของซีซาร์ในสงครามกอลมากขึ้นเรื่อย ๆ พันธมิตรได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งที่การประชุมลุกกา ในปี 56 ก่อนคริสตกาล ภายหลังจากกรัสซุสและปอมปีย์ได้ร่วมมือกันอีกครั้งในการดำรงตำแหน่งกงสุส ภายหลังการดำรงตำแหน่งกงสุสครั้งที่สอง กรัสซุสได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการทหารในโรมันซีเรีย กรัสซุสได้ใช้ซีเรียเป็นฐานที่มั่นสำหรับการทัพทางทหารในการทำศึกกับจักรวรรดิพาร์เธีย ศัตรูจากตะวันออกที่มีมายาวนานของโรมัน การทัพของกรัสซุสได้ประสบความล้มเหลวอย่างรุนแรง ซึ่งจบลงด้วยความปราชัยและความตายในยุทธการที่กาเรห์

การตายของกรัสซุสทำให้ความเป็นพันธมิตรระหว่างซีซาร์และปอมปีย์ต้องขาดสะบั้นลงอย่างถาวร เนื่องจากอิทธิพลทางการเมืองและความมั่นคั่งของเขาเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจของกลุ่มทหารที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองฝ่าย ภายในเวลาสี่ปีหลังการตายของกรัสซุส ซีซาร์ได้ข้ามแม่น้ำรูบิคอนและเริ่มทำสงครามกลางเมืองกับปอมปีย์และฝ่ายออปติเมตส์[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Marshall, p. 5.
  2. Smith, William (1870). Dictionary of Greek and Roman Biography and Mythology. Vol. 2., p. 831
  3. 3.0 3.1 Wallechinsky, David & Wallace, Irving. "Richest People in History Ancient Roman Crassus". Trivia-Library. The People's Almanac. 1975–1981. Web. 23 December 2009.
  4. "Often named as the richest man ever, a more accurate conversion of sesterce would put his modern figure between $200 million and $20 billion." Peter L. Bernstein, The 20 Richest People Of All Time
  5. Plutarch, Parallel Lives, Life of Crassus, 2.3–4