ไซเอินทอลอจี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไซเอินทอลอจี (อังกฤษ: Scientology) เป็นกลุ่มความเชื่อและการปฏิบัติที่คิดค้นโดยแอล. รอน ฮับบาร์ด นักเขียนชาวอเมริกัน ไซเอินทอลอจีได้รับการนิยามว่าเป็นลัทธิบูชา ธุรกิจหรือขบวนการศาสนาใหม่[11] เมื่อแรกเริ่มฮับบาร์ดได้พัฒนาชุดแนวคิดที่เรียกว่า ไดอะเนติกส์ (Dianetics) เพื่อการบำบัด ฮับบาร์ดได้กล่าวถึงไดอะเนติกส์ในหนังสือหลายเล่มและจัดตั้งมูลนิธิวิจัยไดอะเนติกส์ฮับบาร์ด (Hubbard Dianetic Research Foundation) ในปี ค.ศ. 1950 แต่มูลนิธิล้มละลายและฮับบาร์ดเสียสิทธิในหนังสือ ไดอะเนติกส์ ในปี ค.ศ. 1952 หลังจากนั้นฮับบาร์ดได้ปรับปรุงชุดแนวคิดนี้ใหม่ในรูปแบบศาสนา (อาจด้วยเหตุผลด้านรายได้)[12] และเปลี่ยนชื่อเป็นไซเอินทอลอจี โดยยังคงหลักการ คำศัพท์และการ "ออดิติง" (auditing) ของไดอะเนติกส์ไว้[7][13][14] ในปี ค.ศ. 1954 ฮับบาร์ดได้รับสิทธิในไดอะเนติกส์คืนและรวมสองชุดแนวคิดนี้ภายใต้ศาสนจักรไซเอินทอลอจี (Church of Scientology) ซึ่งยังคงเป็นองค์การส่งเสริมไซเอินทอลอจีที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีผู้ปฏิบัติแยกจากศาสนจักรไซเอินทอลอจีเรียกว่า เขตเสรี (Free Zone) ในปี ค.ศ. 2011 มีการประมาณศาสนิกชนไซเอินทอลอจีที่ 40,000 คนทั่วโลก[15][16] คำว่าไซเอินทอลอจีคิดค้นโดยฮับบาร์ดโดยมาจากการรรวมคำในภาษาละติน scientia ("ความรู้") และคำภาษากรีก λόγος (lógos แปลว่า วิชา)[17][18] โดยฮับบาร์ดกล่าวอ้างว่าไซเอินทอลอจีหมายถึง "การรู้ความรู้" หรือ "วิทยาศาสตร์ของความรู้"[19]

คำสอนไซเอินทอลอจีกล่าวว่ามนุษย์มีตัวตนภายในที่เป็นอมตะเรียกว่า เธทัน (thetan) ซึ่งสถิตอยู่ในร่างกายและผ่านอดีตชาติมาหลายภพ ผู้นับถือเชื่อว่าความบาดเจ็บที่เธทันได้รับในช่วงชีวิตก่อเกิดเป็นเอนแกรม (engram) ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคประสาทและความเจ็บป่วยทางจิต ไซเอินทอลอจีกล่าวอ้างว่าการระลึกและพูดคุยถึงความเจ็บปวดในอดีตกับบุคคลที่เรียกว่า "ออดิเตอร์" ช่วยขจัดเอนแกรมได้ โดยมีการเก็บค่าบริการผู้เข้ารับการออดิติง เมื่อออดิเตอร์สามารถขจัดเอนแกรมได้แล้ว บุคคลนั้นจะได้สถานะ "บริสุทธิ์" (Clear) บุคคลสามารถร่วมกระบวนการ "โอเปอเรติงเธทัน" (Operating Thetan) ต่อไปโดยจะมีการเก็บค่าบริการเพิ่มเติม[20] นักวิชาการมีความเห็นต่อความเชื่อของไซเอินทอลอจีที่แตกต่างกัน บางส่วนถือว่ามีลักษณะเป็นศาสนา ขณะที่บางส่วนมองว่าเป็นเพียงอุบายเรียกเงิน

คัมภีร์โอเปอเรติงเธทันถูกเก็บเป็นความลับจากศาสนิกชนส่วนใหญ่ และเปิดเผยต่อเมื่อศาสนิกชนมอบเงินจำนวนมากแก่องค์การเพื่อประกอบสิ่งที่เรียกว่า "เดอะบริดจ์ทูโททัลฟรีดอม" (The Bridge to Total Freedom) ให้สำเร็จ[21] องค์การไซเอินทอลอจีพยายามอย่างยิ่งในการรักษาความลับของคัมภีร์เหล่านี้ แต่กลับมีเนื้อหาปรากฏตามเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตอย่างวิกิลีกส์[22] คัมภีร์เหล่านี้บรรยายว่าเมื่อ 75 ล้านปีก่อน เธทันอยู่ในสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่ถูกปกครองโดยซีนู ผู้ปกครองสหพันธรัฐกาแลกติกของดาวเคราะห์ 76 ดวง[23] ต่อมาซีนูต้องการแก้ปัญหาประชากรล้นเกินจึงลักพาสิ่งมีชีวิตนอกโลกหลายพันล้านตนมากำจัดที่โลก (ในคัมภีร์เรียกว่า Teegeeack)[24][25][26] ด้วยระเบิดไฮโดรเจน[27] ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตนอกโลกเกือบทั้งหมดเสียชีวิต เธทันซึ่งเป็นจิตวิญญาณภายในได้หลุดลอยและรวมตัวกันเป็นบอดีเธทันซึ่งจดจำร่างเดิมไม่ได้ ทั้งนี้บอดีเธทันสามารถส่งผลเสียทางกายและจิตใจต่อมนุษย์[28] จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการออดิติง[29] นักวิชาการมองว่ากรอบความคิดนี้มีความเป็นโมกขวิทยา[30] ขณะที่ผู้คนล้อเลียนเรื่องนี้ในเชิงขบขัน[31]

เกิดการคัดค้านและโต้แย้งไซเอินทอลอจีไม่นานหลังก่อตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมผิดกฎหมายของกลุ่ม[32] คริสต์ทศวรรษที่ 1970 ผู้ติดตามของฮับบาร์ดเกี่ยวข้องกับโครงการแทรกซึมทางอาชญากรรมต่อรัฐบาลสหรัฐ ส่งผลให้ผู้บริหารองค์การหลายคนถูกศาลสหรัฐดำเนินคดีและตัดสินจำคุก[33][34][35][36] ตัวฮับบาร์ดเองถูกตัดสินข้อหากลฉ้อฉลในการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย (Trial in absentia) โดยศาลฝรั่งเศสและต้องโทษจำคุก 4 ปี[37] ปี ค.ศ. 1992 ศาลในแคนาดาตัดสินองค์การไซเอินทอลอจีในโทรอนโตว่ามีความผิดฐานจารกรรมหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการทำผิดหน้าที่ทรัสตี (breach of trust) ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์รัฐออนแทรีโอพิพากษายืนในปี ค.ศ. 1996[38][39] ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 ศาสนจักรไซเอินทอลอจีถูกศาลฝรั่งเศสตัดสินข้อหาฉ้อฉล ซึ่งศาลฎีกาพิพากษายืนในปี ค.ศ. 2013[40]

สถานะของไซเอินทอลอจียังคงเป็นที่ถกเถียง การไต่สวนโดยรัฐบาล รัฐสภาระหว่างประเทศ นักวิชาการ ขุนนางกฎหมายและคำพิพากษาศาลสูงจำนวนมากลงความเห็นว่าศาสนจักรไซเอินทอลอจีเป็นทั้งลัทธิบูชาอันตรายและธุรกิจแสวงหากำไรที่มิชอบ[47] องค์การไซเอินทอลอจีมีสถานะเป็นสถาบันศาสนาที่ได้รับการยกเว้นภาษีในออสเตรเลีย[48] สเปน[49] และสหรัฐ[50] ขณะที่เยอรมนีจัดไซเอินทอลอจีเป็น "กลุ่มต่อต้านรัฐธรรมนูญ"[51][52] ด้านฝรั่งเศสจัดกลุ่มนี้เป็นลัทธิบูชาที่อันตราย[53][54] นอกจากนี้ไซเอินทอลอจีมักถูกโจมตีบ่อยครั้งจากการใช้วิธีต่าง ๆ ในการป้องกันสมาชิกออกจากองค์การ[55]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Behar, Richard (May 6, 1991). "The Thriving Cult of Greed and Power". TIME. New York.
  2. Kent, Stephen (2001). "Brainwashing Programs in The Family/Children of God and Scientology". ใน Zablocki, Benjamin; Robbins, Thomas (บ.ก.). Misunderstanding Cults: Searching for Objectivity in a Controversial Field. University of Toronto Press. pp. 349–358. ISBN 978-0-8020-4373-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2020. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
  3. 3.0 3.1 Anderson, K.V. (1965). Report of the Board of Enquiry into Scientology (PDF) (Report). Melbourne: State of Victoria. p. 179. Anderson Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 5, 2010. สืบค้นเมื่อ June 30, 2020. In reality it is a dangerous medical cult
  4. 4.0 4.1 Edge, Peter W. (2006). Religion and law: an introduction. Ashgate Publishing. ISBN 978-0-7546-3048-7. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
  5. 5.0 5.1 Hunt, John; de Puig, Luis; Espersen, Ole (February 5, 1992). European Council, Recommendation 1178: Sects and New Religious Movements (Report). Strasbourg: Council of Europe. สืบค้นเมื่อ June 30, 2019. It is a cool, cynical, manipulating business and nothing else.
  6. Beit-Hallahmi 2003.
  7. 7.0 7.1 Urban 2011.
  8. Halupka 2014.
  9. Westbrook, Donald A. (August 10, 2018). "The Art of PR War: Scientology, the Media, and Legitimation Strategies for the 21st Century". Studies in Religion/Sciences Religieuses. SAGE Publishing. 47 (3): 373–395. doi:10.1177/0008429818769404. S2CID 149581057.
  10. Urban, Hugh B. (2015). New Age, Neopagan, and New Religious Movements: Alternative Spirituality in Contemporary America. Berkeley: University of California Press. p. 144. ISBN 978-0-520-28117-2. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
  11. [1][2][3][4][5][6][7][8][9][10]
  12. Urban 2011, p. 58.
  13. Miller 2016, p. [ต้องการเลขหน้า].
  14. Aviv, Rachel (January 26, 2012). "Religion, grrrr". London Review of Books. 34 (2). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2015. สืบค้นเมื่อ September 27, 2019.
  15. Bigliardi 2016, p. 666.
  16. Ortega, Tony (July 4, 2011). "Scientologists: How Many Of Them Are There, Anyway?". The Village Voice.
  17. Cusack 2009, p. 394
  18. Benjamin J. Hubbard/John T. Hatfield/James A. Santucci An Educator's Classroom Guide to America's Religious Beliefs and Practices, p. 89, Libraries Unlimited, 2007 ISBN 978-1-59158-409-4
  19. Urban 2011, p. 64.
  20. "The Bridge to Total Freedom : Scientology Classification Gradation and Awareness Chart of Levels and Certificates" (Chart). Church of Scientology.
  21. Cowan & Bromley 2015, p. 27; Tobin 2016; Shermer 2020.
  22. Urban 2021, p. 174.
  23. Barrett 2001, p. 452.
  24. Partridge 2003, pp. 263–264
  25. Lamont 1986, pp. 49–50
  26. Reece 2007, pp. 182–186
  27. Bromley 2009, p. 91; Rothstein 2009, pp. 372-373.
  28. Bromley 2009, pp. 91-92; Thomas 2021, p. 85.
  29. Bromley 2009, pp. 91, 95.
  30. Rothstein 2009, p. 371.
  31. Thomas 2021, pp. 14, 86.
  32. Reitman, Janet (2011). Inside Scientology: The Story of America's Most Secretive Religion. Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 978-0-547-54923-1.
  33. "United States Court of Appeals for the District of Columbia against Mary Sue Hubbard, Henning Heldt, Jane Kember et al". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-09.
  34. "Mary Sue Hubbard et al. Sentencing Memorandum - corrected". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-02.
  35. "Timeline of Scientology versus the IRS".
  36. wikisource:U.S. v. Hubbard 650 F.2d 293 (1981)
  37. Morgan, Lucy (March 29, 1999). "Abroad: Critics public and private keep pressure on Scientology". St. Petersburg Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2007. สืบค้นเมื่อ November 4, 2007.
  38. Brown, Barry; Cooper, David Y. (August 19, 1992). "Toronto Church Faces Heavy Fine: Scientology Branch is Convicted of Spying on Police, Others". The Buffalo News. Buffalo, NY. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
  39. Regina v. Church of Scientology of Toronto, 33 O.R. (3d) 65 (Court of Appeal for Ontario April 18, 1997).
  40. "Scientology's fraud conviction upheld in France". The Daily Telegraph. London. AFP. October 17, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2014. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
  41. "Scientology (Written answer)". Parliamentary Debates (Hansard). United Kingdom: House of Commons. July 25, 1968. col. 189–191W.
  42. Cottrell, Richard (1984). The Activity of Certain New Religions within the European Community (Report). Strasbourg: European Parliament.
  43. Conseil d'Europe (1999). European Council, Recommendation 1412: Concernant les activités illégales des sectes (Report). Strasbourg: Conseil d'Europe.
  44. "Church of Scientology". Parliamentary Debates (Hansard). United Kingdom: House of Lords. December 17, 1996. col. 1392–1394.
  45. Hubbard and another v. Vosper and another, 1 All ER 1023 (Court of Appeal (England and Wales) November 19, 1971).
  46. RE B & G (Minors: Custody), F.L.R. 493 (Court of Appeal (England and Wales) September 19, 1984).
  47. [1][3][4][5][41][42][43][44][45][46]
  48. Church of the New Faith v Commissioner of Pay-roll Tax (Vict) [1983] HCA 40, (1983) 154 CLR 120, High Court (Australia) "the evidence, in our view, establishes that Scientology must, for relevant purposes, be accepted as "a religion" in Victoria"
  49. "La Audiencia Nacional reconoce a la Cienciología como iglesia". El País. El Pais. November 1, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2011. (ในภาษาสเปน)
  50. Frantz, Douglas (March 9, 1997). "Scientology's Puzzling Journey From Tax Rebel to Tax Exempt". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2023. สืบค้นเมื่อ October 26, 2008.
  51. "Hubbard's Church 'Unconstitutional': Germany Prepares to Ban Scientology". Spiegel Online. December 7, 2007. สืบค้นเมื่อ March 13, 2017.
  52. "National Assembly of France report No. 2468". assemblee-nationale.fr. สืบค้นเมื่อ March 13, 2017.
  53. A 1995 parliamentary report lists Scientology groups as cults, and in its 2006 report MIVILUDES similarly classified Scientology organizations as a dangerous cult. Rapport au Premier ministre 2006 by MIVILUDES (in French)
  54. "Le point sur l'Eglise de Scientologie". L'Obs (ภาษาฝรั่งเศส). 2009-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-01-28.
  55. Flowers 1984, p. 101

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]