ลัทธิตงปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปุโรหิตในลัทธิตงปากำลังเขียนอักษรตงปาในวัดแห่งหนึ่งใกล้เมืองลี่เจียง
โทเทมของลัทธิตงปา

ลัทธิตงปา (น่าซี: ²dto¹mba; "ผู้มีปัญญา", จีน: 东巴教; พินอิน: dōngbā jiào; "ลัทธิปาแห่งตะวันออก") เป็นลัทธิและเป็นคำเรียกปุโรหิตตามคติความเชื่อของชาวน่าซี ชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยลัทธิตงปามีลักษณะอย่างเดียวกับศาสนาเพินของชาวทิเบต ถือเป็นอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและวรรณกรรมของชาวน่าซี[1]

ประวัติ[แก้]

ลัทธิตงปามีรากฐานมาจากศาสนาเพินของชาวทิเบต นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าถือกำเนิดโดยตงปา ชีโล (Dongba Shilo) หมอผีจากทิเบตตะวันออกเมื่อ 900 ปีก่อน ตามตำนานของชาวน่าซีระบุว่าหมอผีผู้นี้เป็นผู้สร้างจิตรกรรมฝาผนังในเมืองลี่เจียง บ้างก็ว่าที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาเพินเพราะมีลามะของศาสนาเพินเข้าไปในชุมชนน่าซีและประกอบพิธีไล่ผีเพื่ออามิส แต่ก็ยังเป็นที่กังขาเพราะศาสนาเพินนั้นถูกอิทธิพลของศาสนาพุทธแบบทิเบตครอบงำไปแล้ว ปัจจุบันจึงเป็นการยากที่จะหาพิธีกรรมหรือความเชื่ออันบริสุทธิ์ดั้งเดิมมาเปรียบเทียบกัน

ปุโรหิต[แก้]

ปุโรหิตในลัทธิตงปาจะมีลักษณะเดียวกับลามะของศาสนาเพิน มีบทบาทสำคัญเชิงวัฒนธรรมของชาวน่าซี และคอยสั่งสอนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ เครื่องนุ่งห่มของปุโรหิตนี้ได้รับอิทธิพลจากทิเบต รูปภาพของเทพเจ้าในลัทธิบอนจะปรากฏบนหมวกของปุโรหิต เมื่อมีพิธีกรรมทางศาสนาจะประดับธงมนต์แบบพุทธทิเบตและลัทธิเต๋า

อ้างอิง[แก้]

  1. On the Twenty-Eight Lunar Mansions Systems in Dabaism and Dongbaism and on the analysis of the two writing systems according to an innovative interpretation, cf. XU Duoduo. (2015). A Comparison of the Twenty-Eight Lunar Mansions Between Dabaism and Dongbaism. «Archaeoastronomy and Ancient Technologies», 3 (2015) 2: 61-81 (links: 1. academia.edu; 2. Archaeoastronomy and Ancient Technologies)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]