ประวัติศาสตร์ดอมินีกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ดอมินีกา (อังกฤษ: History of Dominica) มีการบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1493 เมื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักสำรวจและนักเดินเรือชาวอิตาลี ค้นพบเกาะแห่งนี้ การเดินทางของเขาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์แห่งสเปนที่นับถือนิกายคาทอลิก เป็นการติดต่อครั้งแรกของยุโรปกับหมู่เกาะแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ธงชาติดอมินีกา

ก่อนการติดต่อกับชาวยุโรป ดอมินีกาเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวอาราวักซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองมาก่อน ดอมินีกาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1715 จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเจ็ดปี ในปี 1763 โดยกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษแทนตั้งแต่ปี 1763 ถึง 1978 และได้รับเอกราชในปี 1978

ก่อนการติดต่อกับชาวยุโรป
(ศตวรรษที่ 14)
[แก้]

ชาวอาราวักถูกกระแสน้ำบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางใต้จากน่านน้ำของแม่น้ำโอรีโนโก พัดพาไปยังบริเวณดอมินีกาและเกาะอื่น ๆ ในทะเลแคริบเบียน โดยลูกหลานของไทนอสยุคแรกเหล่านี้ถูกโค่นล้มโดยเผ่าแครินาโกแห่งแคริบ ชาวแคริบซึ่งตั้งรกรากที่นี่ในศตวรรษที่ 14 เรียกเกาะนี้ว่า Wai'tu kubuli ซึ่งแปลว่า "ตัวของเธอสูง"[1]

การติดต่อกับชาวยุโรป
(ค.ศ. 1493 – 1715)
[แก้]

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสตั้งชื่อเกาะนี้ตามวันในสัปดาห์ที่เขาค้นพบ คือ ดอมินีกา (แปลว่าวันอาทิตย์ในภาษาละติน) ซึ่งตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1493 ในการเดินทางครั้งที่สองของเขา

การเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (การคาดเดา)

เนื่องจากถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากชาวแคริบ และสเปนอ่อนแอลงเนื่องจากไม่มีทองคำ ชาวสเปนจึงไม่สามารถตั้งรกรากบนเกาะแห่งได้ได้ ทำให้ชาวคาริบ ที่มีจำนวนมากยังคงอาศัยอยู่ในดินแดนแคริบ (Carib Territory) ซึ่งมีพื้นที่กว่า 3,700 เอเคอร์ (15 ตารางกิโลเมตร) บนชายฝั่งตะวันออกของดอมินีกา

ในปี ค.ศ. 1632 บริษัทหมู่เกาะอเมริกัน สัญชาติฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์ในดอมินีกาพร้อมกับ "เปอติต แอนทิลลิส" อื่น ๆ ทั้งหมด แต่ไม่มีการคัคค้านหรือพยายามยุติ ระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1650 เรย์มอนด์ เบรอตง มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสกลายเป็นชาวยุโรปผู้มาเยือนเกาะแห่งนี้เป็นประจำคนแรก ในปี ค.ศ. 1660 ชาวฝรั่งเศสและอังกฤษเห็นพ้องกันว่าไม่ควรตั้งถิ่นฐานทั้งในดอมินีกาและเซนต์วินเซนต์ แต่ปล่อยให้คาริบเป็นดินแดนที่เป็นกลางแทน ดอมินีกาจึงกลายเป็นดินแดนที่เป็นกลางอย่างเป็นทางการในศตวรรษถัดมา แต่ความน่าดึงดูดของทรัพยากรยังคงมีอยู่ ทำให้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เดินทางมายังดอมินีกาเพื่อแย่งชิงทรัพยากรป่าไม้[2]

อาณานิคมของฝรั่งเศส
(ค.ศ. 1715 – 1763)
[แก้]

สเปนประสบความสำเร็จน้อยมากในการล่าอาณานิคมในดอมินีกา และในปี ค.ศ. 1690 ชาวฝรั่งเศสได้ตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นครั้งแรกในดอมินีกา คนตัดไม้ชาวฝรั่งเศสจากมาร์ตินีกและกวาเดอลูปเริ่มตั้งค่ายพักไม้เพื่อจัดหาไม้ให้กับหมู่เกาะของฝรั่งเศส และค่อย ๆ กลายเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานถาวร พวกเขานำทาสกลุ่มแรกจากแอฟริกาตะวันตกไปยังดอมินีกา ในปี ค.ศ. 1715 เกิดการก่อจลาจลของเกษตรกรรายย่อยที่ "ยากจนผิวขาว" ทางตอนเหนือของมาร์ตินีก ซึ่งรู้จักกันในชื่อ La Gaoulé[3] ทำให้พวกเขาอพยพไปทางตอนใต้ของดอมินีกาแทน พวกเขาตั้งรกรากขนาดเล็ก ในขณะเดียวกัน ครอบครัวชาวฝรั่งเศสและคนอื่น ๆ จากกวาเดอลูปได้ตั้งรกรากอยู่ทางตอนเหนือ ในปี ค.ศ. 1727 ผู้บัญชาการทหารฝรั่งเศสคนแรก M. Le Grand เข้าควบคุมเกาะโดยมีรัฐบาลฝรั่งเศสสั่งการ ดอมินีกาจึงกลายเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเขตหรือ "ไตรมาส"[4] ชาวฝรั่งเศสค่อย ๆ พัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในดอมินีกาสำหรับกาแฟ พวกเขานำเข้าทาสแอฟริกันเพื่อเติมเต็มความต้องการแรงงานแทนที่ชาวคาริบพื้นเมือง

ฝรั่งเศสเข้ายึดดอมินีกาในปี 1778 ระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา และคืนเกาะแห่งนี้ให้กับอังกฤษในปี 1783

ในปี 1761 ระหว่างช่วงสงครามเจ็ดปี การเดินทางมายังดอมินีกาของอังกฤษเพื่อต่อต้านดอมินีกาที่นำ Lord Rollo ประสบความสำเร็จ และเกาะแห่งนี้ก็ถูกพิชิตพร้อมกับเกาะในทะเลแคริบเบียนอื่น ๆ อีกหลายแห่ง หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่ออังกฤษในสงครามเจ็ดปี ฝรั่งเศสได้ยกเกาะนี้ให้กับอังกฤษภายใต้สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1763) ในปี 1778 ระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกา ชาวฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการรุกรานด้วยความร่วมมืออย่างแข็งขันของประชาชน สนธิสัญญาปารีสในปี 1783 ซึ่งยุติสงครามได้คืนเกาะแห่งนี้ให้กับอังกฤษ การรุกรานของฝรั่งเศสในปี 1795 และ 1805 สิ้นสุดลงด้วยความล้มเหลว[2]

อาณานิคมของอังกฤษ
(ค.ศ. 1763 – 1978)
[แก้]

เกาะแห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาปารีสในปี ค.ศ. 1763 หลังการสิ้นสุดลงของสงครามเจ็ดปี เกาะแห่งนี้จึงกลายเป็นดินแดนในครอบครองของอังกฤษ[5] ในปี 1778 ระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา ชาวฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการรุกรานด้วยความร่วมมืออย่างแข็งขันของประชากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศส จากสนธิสัญญาปารีสในปี 1783 หลังยุติสงครามฝรั่งเศสจึงได้คืนเกาะแห่งนี้ให้กับอังกฤษ การรุกรานของฝรั่งเศสในปี 1795 และ 1805 สิ้นสุดลงด้วยความล้มเหลว โดยการบุกรุกในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1805 ฝรั่งเศสได้เผาโรโซจนราบไปกับพื้น

Le Majestueux ที่เผาโรโซ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1805[6]

ในปี 1763 อังกฤษได้จัดตั้งสภานิติบัญญัติขึ้น ซึ่งสมาชิกต้องเป็นประชากรผิวขาวเท่านั้น ต่อมาในปี 1831 อังกฤษจึงร่างกฎหมาย Brown Privilege Bill มอบสิทธิทางการเมืองและสังคมแก่คนผิวสี สะท้อนถึงการเปิดเสรีทัศนคติทางเชื้อชาติของอังกฤษอย่างเป็นทางการ โดยคนผิวสี 3 คนก็ได้รับเลือกเข้าสู่สภานิติบัญญัติในปีถัดมา ในปี 1834 ดอมินีกากลายเป็นอาณานิคมแห่งเดียวในแคริบเบียนของอังกฤษที่มีการเลิกทาส ในปี 1838 หลังการมอบสิทธิทางการเมืองและสังคมแก่คนผิวสีในศตวรรษที่ 19 สมาชิกสภานิติบัญญัติผิวสีส่วนใหญ่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รายย่อยหรือพ่อค้าที่มีมุมมองทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งตรงกันข้ามกับผลประโยชน์ของชนชั้นชาวสวนของอังกฤษที่ร่ำรวยน้อยกว่า เมื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามที่รับรู้ ชาวสวนจึงโน้มน้าวให้อังกฤษปกครองโดยตรงมากขึ้น

ในปี 1865 หลังเกิดความปั่นป่วนและตึงเครียดอย่างหนัก สำนักงานอาณานิคมได้เปลี่ยนสภานิติบัญญัติ ให้มีสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งกึ่งหนึ่ง และได้รับการแต่งตั้งอีกกึ่งหนึ่ง สมาชิกสภานิติบัญญัติที่ได้รับการเลือกตั้งถูกขัดขวางหลายครั้งโดยชาวสวนที่เป็นพันธมิตรกับผู้บริหารอาณานิคม ในปี 1871 ดอมินีกาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะบริติชลีเวิร์ด พลังของประชากรผิวสีถูกกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลของ Crown Colony ได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ในปี 1896

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การตื่นตัวทางการเมืองทั่วแคริบเบียนนำไปสู่การก่อตั้งสมาคมตัวแทนรัฐบาล ท่ามกลางความคับข้องใจของประชาชนที่ไม่มีเสียงในการปกครองดอมินีกา กลุ่มนี้ได้ที่นั่งหนึ่งในสามของที่นั่งที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างแพร่หลายในสภานิติบัญญัติในปี 1924 และครึ่งหนึ่งในปี 1936 หลังจากนั้นไม่นาน ดอมินีกาก็ถูกย้ายจากฝ่ายบริหารของหมู่เกาะบริติชลีเวิร์ด ไปเป็นส่วนหนึ่งของ หมู่เกาะวินด์เวิร์ด จนถึงปี 1958 เมื่อเข้าร่วมกับสหพันธรัฐอินเดียตะวันตกเป็นเวลาสั้น ๆ

ในปี 1961 รัฐบาลพรรคแรงงานดอมินีกา นำโดยเอ็ดเวิร์ด โอลิเวอร์ เลอบลัง ได้รับเลือกหลังจากการสลายตัวของสหพันธ์ ดอมินีกาก็กลายเป็นรัฐที่เกี่ยวข้องของสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 และรับผิดชอบกิจการภายในอย่างเป็นทางการ เลอบลังเกษียณในปี 1974 แพทริก จอห์น จึงดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทนซึ่งกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ

เครือรัฐดอมินีกา
(ค.ศ. 1978 – ปัจจุบัน)
[แก้]

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 เครือรัฐดอมินีกาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1979 พายุเฮอริเคนเดวิด ซึ่งมีความเร็วลม 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดถล่มเกาะด้วยแรงทำลายล้าง มีผู้เสียชีวิต 42 คนและบ้านของชาวเกาะร้อยละ 75 ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก

ความเป็นอิสระไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากความด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจมานานหลายศตวรรษ และในกลางปี 1979 ความไม่พอใจทางการเมืองนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว นำโดย Oliver Seraphin หลังจากการเลือกตั้งในปี 1980 ก็ถูกแทนที่โดยรัฐบาลที่นำโดยพรรคเสรีภาพดอมินีกา ภายใต้นายกรัฐมนตรี Eugenia Charles ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของแคริบเบียน ภายในหนึ่งปีหลังจากเข้ารับตำแหน่ง เธอรอดพ้นจากการรัฐประหารที่ไม่ประสบความสำเร็จถึงสองครั้ง และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1983 ในฐานะประธานองค์การรัฐแคริบเบียนตะวันออก ได้รับรองการบุกครองกรีเนดาของสหรัฐฯ

สมาชิกของกองกำลังป้องกันแคริบเบียนตะวันออก

ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจที่เรื้อรังมานานประกอบกับผลกระทบรุนแรงของพายุเฮอริเคนในปี 1979 และ 1980 ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจได้ฟื้นตัวอย่างมาก แต่ก็ลดลงในปี 1990 เนื่องจากราคากล้วยที่ลดลง

ในปี 1995 รัฐบาลพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งให้กับ พรรคสหกรรมกร ของเอดิสัน เจมส์ ทำให้เจมส์กลายเป็นนายกรัฐมนตรี โดยทำหน้าที่จนถึงการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 เมื่อพรรคสหกรรมกร (DUWP) พ่ายแพ้ต่อพรรคแรงงานดอมินีกา (DLP) นำโดยโรซี ดักลาส ซึ่งเป็นอดีตนักกิจกรรมสังคมนิยม และหลายคนกลัวว่าแนวทางการเมืองของเขาอาจใช้ไม่ได้จริง อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างเงียบลงเมื่อเขาจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคเสรีภาพดอมินีกาที่อนุรักษ์นิยมมากกว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ดักลาสเสียชีวิตกระทันหันหลังจากดำรงตำแหน่งเพียง 8 เดือน ปิแอร์ ชาร์ล ซึ่งเป็นสมาชิกของ DLP จึงดำรงตำแหน่งแทน ในปี 2003 นิโคลัส ลิเวอร์พูล ได้รับเลือกและสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี ต่อจากเวอร์นอน ชอว์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2004 นายกรัฐมนตรีปิแอร์ ชาลส์ ซึ่งป่วยเป็นโรคหัวใจมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ก็เสียชีวิต เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองซึ่งดำรงตำแหน่งติดต่อกันของดอมินกาที่เสียชีวิตในตำแหน่งด้วยอาการหัวใจวาย[7] รัฐมนตรีต่างประเทศ Osborne Riviere ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทันที และรูสเวลต์ สเกอร์ริต รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาก็ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากเขา และกลายเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ของพรรคแรงงานดอมินีกา การเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 โดยรัฐบาลผสมยังคงรักษาอำนาจเอาไว้ได้[8]

ในปี 2017 พายุเฮอริเคนมาเรียพัดถล่มดอมินีกา และเป็นเฮอริเคนที่ทรงพลังและทำลายล้างมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ในดอมินีกา[9]

เอสเอช-60 ซีฮอว์ก บินเหนือดอมินีกาเพื่อส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ภูมิประเทศที่เป็นภูเขาของเกาะก่อให้เกิดความท้าทายอย่างมากต่อปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ห่างไกล

ชาลส์ ซาวาริน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในปี 2018[10]

ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2019 พรรคแรงงานโดมินิกา (DLP) ได้รับมอบอำนาจอย่างท่วมท้นอีกครั้ง ดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 5 ปีติดต่อกันเป็นสมัยที่ 5 รูสเวลต์ สเกอร์ริต ผู้นำที่มีเสน่ห์ดึงดูดแต่มักจะคิดร้ายต่อพรรค จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดอมินีกาในวาระ 5 ปี[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Discover Dominica: an introduction to our Caribbean island". Dominica.dm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  2. 2.0 2.1 Public Domain บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: "Background note: Dominica". U.S. Department of State (July 2008).
  3. P.C. Emmer & BW Highman, (1999) General History of the Caribbean: Methodology and historiography of the Caribbean, volume 6 pp 637 [1]
  4. "Important Dates in Dominica's History". Lennox Honychurch Article. 1990-07-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-30. สืบค้นเมื่อ 2013-09-29.
  5. "A Plan of the Rosalij Compy. Estates, the Property of His Excelly. Charles O'Harra, the Honble. Leiut. Gov. Will. Stuart, James Clarke & Rob. & Phill". World Digital Library. 1776. สืบค้นเมื่อ 18 April 2013.
  6. Marley, David F. (11 February 2008). Wars of the Americas: A Chronology of Armed Conflict in the Western Hemisphere, 2nd Edition [2 volumes]: A Chronology of Armed Conflict in the Western Hemisphere. ISBN 9781598841015.
  7. "When Prime Minister Pierre Charles died". The Sun.
  8. "IFES Election Guide | Elections: Dominica Parliamentary May 5 2005". www.electionguide.org.
  9. "Hurricane Maria 'devastates' Dominica: PM". BBC News. 19 September 2017.
  10. "DOMINICA-Savarin re-elected President, opposition stages walkout". 2 October 2018.
  11. "Reflections on Dominica 2019 general election results". Caribbean News Global. 10 December 2019.
  • Rouse, Irving. The Taínos : Rise and Decline of the People Who Greeted Columbus. New Haven & London: Yale University Press c1992.
  • Honeychurch, Lennox The Dominica Story: A History of the Island (1995)

ดูเพิ่ม[แก้]