ซีกโลกตะวันตก

พิกัด: 0°N 90°W / 0°N 90°W / 0; -90
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

0°N 90°W / 0°N 90°W / 0; -90

ซีกโลกตะวันตก

ซีกโลกตะวันตกเป็นคำทางภูมิศาสตร์หมายถึง ครึ่งหนึ่งของโลกที่อยู่ทางตะวันตกของเส้นเมริเดียนแรก (ลากผ่านกรีนิช สหราชอาณาจักร) และทางตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา (แอนติเมอริเดียน) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเรียก ซีกโลกตะวันออก[1]

ในความหมายนี้ ซีกโลกตะวันตกประกอบด้วยทวีปอเมริกา ส่วนตะวันตกของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปลายสุดฝั่งตะวันออกของประเทศรัสเซีย ดินแดนต่าง ๆ ในโอเชียเนียและบางส่วนของแอนตาร์กติกา แต่ไม่รวมบางส่วนของหมู่เกาะอะลูเชียนที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐอะแลสกา

ในความพยายามนิยามซีกโลกตะวันตกว่าเป็นส่วนของโลกซึ่งมิใช่ส่วนหนึ่งของโลกเก่า ยังมีการใช้เส้นเมอริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก และเส้นเมอริเดียนที่ 160 องศาตะวันออกซึ่งอยู่ตรงข้ามนิยามซีกโลกตะวันตก[2] การใช้แบบนี้ไม่รวมแผ่นดินใหญ่ยุโรปและแอฟริกาและส่วนเล็ก ๆ ของกรีนแลนด์ตะวันออกเฉียงเหนือ แต่รวมรัสเซียตะวันออกและโอเชียเนียมากขึ้น

อ้างอิง[แก้]

  1. Britannica, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-09, สืบค้นเมื่อ 2016-01-10
  2. Olson, Judy M (1997), "Projecting the hemisphere", ใน Robinson, Arthur H; Snyder, John P (บ.ก.), Matching the map projection to the need, Bethesda, MD: Cartography and Geographic Information Society, American Congress on Surveying and Mapping.
    - "Western Hemisphere", Merriam-Webster's Geographical Dictionary (3rd ed.), Springfield, Massachusetts: Merriam-Webster, 2001, p. 1294.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซีกโลกตะวันตก