ข้ามไปเนื้อหา

รัฐคอมมิวนิสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ประเทศคอมมิวนิสต์)

รัฐคอมมิวนิสต์ (อังกฤษ: Communist state) หรือเรียก รัฐลัทธิมากซ์–เลนิน (อังกฤษ: Marxist–Leninist state) เป็นรัฐซึ่งบริหารราชการแผ่นดินและปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์พรรคเดียวซึ่งมีอุดมการณ์ลัทธิมากซ์-เลนินชี้นำ ลัทธิมากซ์-เลนินเป็นอุดมการณ์ประจำรัฐของสหภาพโซเวียต, โคมินเทิร์น (คอมมิวนิสต์สากล) และรัฐคอมมิวนิสต์ในโคมีคอน กลุ่มตะวันออก และสนธิสัญญาวอร์ซอ[1] ลัทธิมากซ์-เลนินยังคงเป็นอุดมการณ์ของรัฐคอมมิวนิสต์หลายรัฐทั่วโลก และอุดมการณ์อย่างเป็นทางการของพรรครัฐบาลประเทศจีน คิวบา ลาวและเวียดนาม[2]

ตรงแบบรัฐคอมมิวนิสต์บริหารราชการแผ่นดินผ่านระบบศูนย์รวมอำนาจปกครองแบบประชาธิปไตย (democratic centralism) โดยกลไกพรรคคอมมิวนิสต์รวมศูนย์พรรคเดียว พรรคการเมืองเหล่านี้ปกติเป็นลัทธิมากซ์-เลนิน หรือรูปแบบเฉพาะชาติ เช่น ลัทธิเหมาหรือลัทธิติโต โดยมีเป้าหมายอย่างเป็นทางการเพื่อบรรลุสังคมนิยมและก้าวหน้าสู่สังคมคอมมิวนิสต์ มีหลายกรณีที่รัฐคอมมิวนิสต์มีกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์การที่มิใช่พรรคอย่างอื่น เช่น การมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตยทางตรง คณะกรรมการโรงงานและสหภาพแรงงาน แม้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ[3][4][5][6][7] สภาพทางสังคม-เศรษฐกิจของรัฐคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นตัวอย่างสำคัญ มีการถกเถียงกันมาก โดยมีการระบุต่าง ๆ กันว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบคติรวมหมู่ข้าราชการประจำบ้าง ทุนนิยมโดยรัฐบ้าง สังคมนิยมโดยรัฐบ้าง หรือเป็นวิถีการผลิตที่มีเอกลักษณ์เบ็ดเสร็จบ้าง[8]

คำว่า "รัฐคอมมิวนิสต์" เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ นักรัฐศาสตร์และสื่อตะวันตกใช้เรียกประเทศเหล่านี้และใช้แยกกับรัฐสังคมนิยมอื่น แต่รัฐเหล่านี้มิได้เรียกตนเองหรืออ้างว่าได้บรรลุลัทธิคอมมิวนิสต์แล้ว กล่าวคือ ประเทศเหล่านี้เรียกตนเองว่าเป็นสังคมนิยมที่กำลังอยู่ในกระบวนการสร้างสังคมนิยม[9][10][11][12] คำที่รัฐเหล่านี้ใช้เรียกตนเอง เช่น ประชาธิปไตยชาติ ประชาธิปไตยประชาชน โน้มเอียงไปทางสังคมนิยม หรือรัฐกรรมกรและชาวนา[13] นักวิชาการ นักวิจารณ์การเมืองและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นมักแบ่งแยกรัฐคอมมิวนิสต์กับรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย โดยกลุ่มแรกใช้หมายถึงกลุ่มตะวันออก และกลุ่มหลังหมายถึงกลุ่มตะวันตกที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยและมีพรรคสังคมนิยม เช่น บริเตน ฝรั่งเศส สวีเดน เป็นต้น[14][15][16][17]

ประเทศคอมมิวนิสต์ในระหว่างปี 1979-1983 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของลัทธิคอมมิวนิสต์
รัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน

รัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันมีประเทศที่ปกครองด้วยรัฐบาลลัทธิมากซ์-เลนินและใช้ระบบพรรคการเมืองเดี่ยวเหลือเพียง 4 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน คิวบา ลาว และเวียดนาม ส่วนเกาหลีเหนือไม่ได้ยึดถืออุดมการณ์ตามแบบฉบับลัทธิมากซ์-เลนินแล้ว หากแต่ยึดถืออุดมการณ์ตามหลัก จูเช ที่ฉายภาพว่าพัฒนามาจากลัทธิมากซ์-เลนินแทน ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์หรือพรรคการเมืองสืบทอดที่หลงเหลืออยู่ก็ยังคงมีบทบาททางการเมืองที่สำคัญในหลายประเทศ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งแอฟริกาใต้ที่เข้าร่วมเป็นพรรครัฐบาลภายใต้การนำของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เป็นรัฐบาลปกครองรัฐเกรละของอินเดีย ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาเนปาล สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ปรับเปลี่ยนมุมมองที่ตกทอดมาจากลัทธิเหมาหลายด้าน เช่นเดียวกันกับลาว เวียดนาม และคิวบา (มีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า) โดยรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้ผ่อนคลายการควบคุมทางเศรษฐกิจลงเพื่อกระตุ้นการเติบโต ทั้งนี้รัฐบาลจีนภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยวผิง ได้เริ่มปฏิรูประบบเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1978 ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมาจีนสามารถลดระดับความยากจนลงจากร้อยละ 51 ในสมัยเหมา เจ๋อตุง มาเป็นเพียงร้อยละ 6 ในปี ค.ศ. 2001 ในขณะเดียวกันยังได้ริเริ่มเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้สำหรับกิจการที่อิงกับระบบตลาดเป็นหลัก โดยที่ไม่ต้องกังวลการควบคุมหรือการแทรกแซงจากรัฐบาลกลาง ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่ประกาศตนว่ายึดถือในอุดมการณ์ลัทธิมากซ์-เลนิน เช่น เวียดนาม ก็พยายามริเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจให้อิงกับระบบตลาดด้วย

การปฏิรูปทางเศรษฐกิจนี้บางครั้งถูกวิจารณ์จากโลกภายนอกว่าเป็นการถอยกลับไปหาลัทธิทุนนิยม แต่พรรคคอมมิวนิสต์แย้งว่าเป็นการปรับตัวที่จำเป็นเพื่อให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และเพื่อใช้สมรรถนะทางอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในประเทศที่ดำเนินการปฏิรูปเหล่านี้ ที่ดินทั้งมวลถือเป็นทรัพย์สินสาธารณะซึ่งบริหารจัดการโดยรัฐ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมและบริการที่จำเป็น รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นภาครัฐจึงถือเป็นภาคส่วนทางเศรษฐกิจหลักในระบบเศรษฐกิจดังกล่าว และรัฐเป็นผู้มีบทบาทกลางในการประสานงานเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางเศรษฐกิจ

ผู้นำรัฐคอมมิวนิสต์

[แก้]
ประเทศ หัวหน้าพรรค ประมุขแห่งรัฐ หัวหน้ารัฐบาล
 จีน
สี จิ้นผิง
(ตั้งแต่ปี 2012)

หลี่ เค่อเฉียง
(ตั้งแต่ปี 2012)
 เกาหลีเหนือ
คิม จ็อง-อึน
(ตั้งแต่ปี 2011)
คิม แจ-รย็อง
(ตั้งแต่ปี 2019)
 คิวบา
ราอุล กัสโตร
(ตั้งแต่ปี 2006)

มิเกล ดิอัซ-กาเนล
(ตั้งแต่ปี 2018)
มานูเอล มาร์เรโร กรุซ
(ตั้งแต่ปี 2019)
 ลาว
ทองลุน สีสุลิด
(ตั้งแต่ 2021)
พันคำ วิพาวัน
(ตั้งแต่ 2021)
 เวียดนาม
เหงียน ฟู้ จ่อง
(หัวหน้าพรรคตั้งแต่ปี 2011, ประมุขแห่งรัฐตั้งแต่ปี 2018)

เหงียน ซวน ฟุก
(ตั้งแต่ปี 2016)

รัฐคอมมิวนิสต์ในอดีต

[แก้]
ประเทศ ช่วงปี รัฐสืบทอดในปัจจุบัน
 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย 1917–1922  สหพันธรัฐรัสเซีย
สาธารณรัฐโซเวียตแห่งทหารและป้อมปราการ-ผู้สร้างแห่งไนส์ซาร์ 1917–1918  สาธารณรัฐเอสโตเนีย
สาธารณรัฐโซเวียตโอเดสซา 1918  ยูเครน
สาธารณรัฐโซเวียตดอแนตสก์–กรือวึยรีห์ 1918  ยูเครน
ชุมชนแรงงานเอสโตเนีย 1918–1919  สาธารณรัฐเอสโตเนีย
สาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมลัตเวีย 1918–1920  สาธารณรัฐลัตเวีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมเยอรมนีอิสระ 1918–1919  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
สาธารณรัฐสังคมนิยมแรงงานฟินแลนด์ 1918  สาธารณรัฐฟินแลนด์
สาธารณรัฐโซเวียตอาลซัส 1918  สาธารณรัฐฝรั่งเศส
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตไครเมีย 1919  สหพันธรัฐรัสเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน 1919–1922  ยูเครน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบสซาราเบีย 1919–1924  สาธารณรัฐมอลโดวา
สาธารณรัฐโซเวียตมุงฮัน 1919  สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบียโลรัสเซีย 1919  สาธารณรัฐเบลารุส
สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก 1919  สาธารณรัฐสโลวัก
สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี 1919  ฮังการี
โซเวียตลิเมอริค 1919  ไอร์แลนด์
สาธารณรัฐตะวันออกไกล 1920–1922  สหพันธรัฐรัสเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตกาลิเซีย 1920  ยูเครน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเปอร์เซีย​ 1920–1921  สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
สาธารณรัฐประชาชนตูวา 1921–1944  สหพันธรัฐรัสเซีย
รัฐข่านแห่งมองโกล 1921–1924  มองโกเลีย
 สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต 1922–1991  สหพันธรัฐรัสเซีย
 สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย 1924–1992  มองโกเลีย
เขตเสรี 1927–1949  สาธารณรัฐประชาชนจีน
โซเวียตเหงะ-ห่า 1930–1931  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
รัฐบาลประชาชนปฏิวัติสาธารณรัฐจีน 1933–1934  สาธารณรัฐประชาชนจีน
สาธารณรัฐสังคมนิยมอัสตูเรียส 1934  ราชอาณาจักรสเปน
ฟินแลนด์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยฟินแลนด์ 1939–1940  สหพันธรัฐรัสเซีย
​รัฐบาลประชาธิปไตยแอลเบเนีย 1944–1946  สาธารณรัฐแอลเบเนีย
สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก 1944–1949  สาธารณรัฐประชาชนจีน
รัฐบาลประชาชนอาเซอร์ไบจาน 1945–1946  สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย 1945–1992  สาธารณรัฐเซอร์เบีย
โปแลนด์สาธารณรัฐโปแลนด์ 1945–1947  สาธารณรัฐโปแลนด์
สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียใน 1945  สาธารณรัฐประชาชนจีน
สาธารณรัฐประชาชนเกาหลี 1945–1946  สาธารณรัฐเกาหลี
บัลแกเรีย สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย 1946–1990  สาธารณรัฐบัลแกเรีย
แอลเบเนีย สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย 1946–1992  สาธารณรัฐแอลเบเนีย
ฮังการี สาธารณรัฐฮังการี 1946–1949  ฮังการี
สาธารณรัฐมาฮาบัด​ 1946–1947  สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
โปแลนด์สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ 1947–1989  สาธารณรัฐโปแลนด์
โรมาเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย 1947–1989  โรมาเนีย
 สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก 1948–1990  สาธารณรัฐเช็ก
สาธารณรัฐมาคูตาเลีย 1948–1958  สาธารณรัฐโคลอมเบีย
ฮังการี สาธารณรัฐประชาชนฮังการี 1949–1989  ฮังการี
 สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี 1949–1990  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
เวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม 1954–1976  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
แซนซิบาร์ สาธารณรัฐประชาชนแซนซิบาร์และเพมบา 1963–1964  สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน 1967–1990  สาธารณรัฐเยเมน
รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ 1969–1976  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
โซมาเลีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี 1969–1991  สหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย
สาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐประชาชนคองโก 1969–1992  สาธารณรัฐคองโก
เอธิโอเปีย ​รัฐบาลทหารสังคมนิยมเฉพาะกาลเอธิโอเปีย 1974–1987  สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย
กัมพูชา กัมพูชาประชาธิปไตย 1975–1979  ราชอาณาจักรกัมพูชา
โมซัมบิก สาธารณรัฐประชาชนโมซัมบิก 1975–1990  สาธารณรัฐโมซัมบิก
แองโกลา สาธารณรัฐประชาชนแองโกลา 1975–1999  สาธารณรัฐแองโกลา
มาดากัสการ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตย​มาดากัสการ์ 1975–1992  สาธารณรัฐมาดากัสการ์
เบนิน สาธารณรัฐประชาชนเบนิน 1975–1990  สาธารณรัฐเบนิน
อัฟกานิสถาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถาน 1978–1992  สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน
กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา 1979–1989  ราชอาณาจักรกัมพูชา
กรีเนดา รัฐบาลปฏิวัติประชาชนเกรเนดา 1979–1983  กรีเนดา
บูร์กินาฟาโซ บูร์กินาฟาโซ 1984–1987  บูร์กินาฟาโซ
เอธิโอเปีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเอธิโอเปีย 1987–1991  สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย
กัมพูชา รัฐกัมพูชา 1989–1992  ราชอาณาจักรกัมพูชา
กัมพูชา รัฐบาลชั่วคราวสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา 1994–1998  ราชอาณาจักรกัมพูชา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bottomore, T. B. (1991). A Dictionary of Marxist Thought. Wiley-Blackwell. p. 54.
  2. Cooke, Chris, ed. (1998). Dictionary of Historical Terms (2nd ed.). pp. 221–222, 305.
  3. Webb, Sidney; Webb, Beatrice (1935). Soviet Communism: A New Civilisation?. London: Longmans.
  4. Sloan, Pat (1937). Soviet Democracy. London: Left Book Club; Victor Gollancz Ltd.
  5. Farber, Samuel (1992). "Before Stalinism: The Rise and Fall of Soviet Democracy". Studies in Soviet Thought. 44 (3): 229–230.
  6. Getzler, Israel (2002) [1982]. Kronstadt 1917-1921: The Fate of a Soviet Democracy. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0521894425.
  7. Busky, Donald F. (20 July 2000). Democratic Socialism: A Global Survey. Praeger. p. 9. ISBN 978-0275968861. In a modern sense of the word, communism refers to the ideology of Marxism-Leninism.
  8. Sandle, Mark (1999). A Short History of Soviet Socialism. London: UCL Press. pp. 265–266. doi:10.4324/9780203500279. ISBN 9781857283556.
  9. Wilczynski, J. (2008). The Economics of Socialism after World War Two: 1945-1990. Aldine Transaction. p. 21. ISBN 978-0202362281. Contrary to Western usage, these countries describe themselves as 'Socialist' (not 'Communist'). The second stage (Marx's 'higher phase'), or 'Communism' is to be marked by an age of plenty, distribution according to needs (not work), the absence of money and the market mechanism, the disappearance of the last vestiges of capitalism and the ultimate 'whithering away' of the State.
  10. Steele, David Ramsay (September 1999). From Marx to Mises: Post Capitalist Society and the Challenge of Economic Calculation. Open Court. p. 45. ISBN 978-0875484495. Among Western journalists the term 'Communist' came to refer exclusively to regimes and movements associated with the Communist International and its offspring: regimes which insisted that they were not communist but socialist, and movements which were barely communist in any sense at all.
  11. Rosser, Mariana V. and J Barkley Jr. (23 July 2003). Comparative Economics in a Transforming World Economy. MIT Press. p. 14. ISBN 978-0262182348. Ironically, the ideological father of communism, Karl Marx, claimed that communism entailed the withering away of the state. The dictatorship of the proletariat was to be a strictly temporary phenomenon. Well aware of this, the Soviet Communists never claimed to have achieved communism, always labeling their own system socialist rather than communist and viewing their system as in transition to communism.
  12. Williams, Raymond (1983). "Socialism". Keywords: A vocabulary of culture and society, revised edition. Oxford University Press. p. 289. ISBN 978-0-19-520469-8. The decisive distinction between socialist and communist, as in one sense these terms are now ordinarily used, came with the renaming, in 1918, of the Russian Social-Democratic Labour Party (Bolsheviks) as the All-Russian Communist Party (Bolsheviks). From that time on, a distinction of socialist from communist, often with supporting definitions such as social democrat or democratic socialist, became widely current, although it is significant that all communist parties, in line with earlier usage, continued to describe themselves as socialist and dedicated to socialism.
  13. Nation, R. Craig (1992). Black Earth, Red Star: A History of Soviet Security Policy, 1917-1991. Cornell University Press. pp. 85–6. ISBN 978-0801480072. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  14. Barrett, William, ed. (1 April 1978). "Capitalism, Socialism, and Democracy: A Symposium" เก็บถาวร 2019-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Commentary. Retrieved 14 June 2020. "If we were to extend the definition of socialism to include Labor Britain or socialist Sweden, there would be no difficulty in refuting the connection between capitalism and democracy."
  15. Heilbroner, Robert L. (Winter 1991). "From Sweden to Socialism: A Small Symposium on Big Questions". Dissident. Barkan, Joanne; Brand, Horst; Cohen, Mitchell; Coser, Lewis; Denitch, Bogdan; Fehèr, Ferenc; Heller, Agnès; Horvat, Branko; Tyler, Gus. pp. 96–110. Retrieved 17 April 2020.
  16. Kendall, Diana (2011). Sociology in Our Time: The Essentials. Cengage Learning. pp. 125–127. ISBN 9781111305505. "Sweden, Great Britain, and France have mixed economies, sometimes referred to as democratic socialism—an economic and political system that combines private ownership of some of the means of production, governmental distribution of some essential goods and services, and free elections. For example, government ownership in Sweden is limited primarily to railroads, mineral resources, a public bank, and liquor and tobacco operations."
  17. Li, He (2015). Political Thought and China's Transformation: Ideas Shaping Reform in Post-Mao China. Springer. pp. 60–69. ISBN 9781137427816. "The scholars in camp of democratic socialism believe that China should draw on the Sweden experience, which is suitable not only for the West but also for China. In the post-Mao China, the Chinese intellectuals are confronted with a variety of models. The liberals favor the American model and share the view that the Soviet model has become archaic and should be totally abandoned. Meanwhile, democratic socialism in Sweden provided an alternative model. Its sustained economic development and extensive welfare programs fascinated many. Numerous scholars within the democratic socialist camp argue that China should model itself politically and economically on Sweden, which is viewed as more genuinely socialist than China. There is a growing consensus among them that in the Nordic countries the welfare state has been extraordinarily successful in eliminating poverty."