สังคมคอมมิวนิสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในความคิดลัทธิมากซ์ สังคมคอมมิวนิสต์ หรือ ระบบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจประเภทหนึ่งซึ่งสันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในกำลังการผลิต โดยเป็นตัวแทนเป้าหมายขั้นสุดท้ายของอุดมการณ์การเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ สังคมคอมมิวนิสต์มีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันโดยสามารถเข้าถึงสินค้าบริโภคได้อย่างเสรี[1][2] และปราศจากชนชั้นและรัฐ[3] อันส่อความถึงการยุติการขูดรีดแรงงาน[4][5]

ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นขั้นตอนการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจจำเพาะขั้นหนึ่งซึ่งยืนยันความอุดมสมบูรณ์ของความมั่งคั่งทางวัตถุ ซึ่งสันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการผลิตและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของการผลิต ซึ่งจะเปิดให้กระจายสินค้าตามความต้องการของบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคมโดยยึดปัจเจกชนที่รวมกลุ่มกันอย่างอิสระ[4][5][6]

ทั้งนี้คำว่าสังคมคอมมิวนิสต์ไม่ควรสับสนกับมโนทัศน์รัฐคอมมิวนิสต์แบบตะวันตก ซึ่งหมายความถึงรัฐที่ปกครองโดยพรรคการเมืองที่ประกาศตนว่ารับเอาลัทธิมากซ์–เลนินรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไปใช้[7][8]

แง่มุมเศรษฐกิจ[แก้]

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จะมีลักษณะคือ เทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าซึ่งทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ทางวัตถุ ซึ่งจะทำให้สามารถกระจายผลผลิตทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่หรือทั้งหมดได้อย่างอิสระ และทุกคนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตเหล่านี้ร่วมกัน ในแง่นี้ คอมมิวนิสต์จะแตกต่างจากสังคมนิยม ซึ่งนอกเหนือจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจแล้ว จะจำกัดการเข้าถึงสินค้าบริโภคและบริการตามสัดส่วนการมีส่วนร่วมของคนคนนั้น[9]

สำหรับข้อแตกต่างจากทุนนิยมยิ่งไปกว่านั้น ลัทธิคอมมิวนิสต์ยังมีลักษณะถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัยการผลิตร่วมกัน แทนที่จะให้เอกชนถือครอง (ดังในกรณีทุนนิยม) หรือให้องค์การสาธารณะหรือสหกรณ์เป็นเจ้าของซึ่งจำกัดการเข้าถึงของคนนอก (ในกรณีสังคมนิยม) ในแง่นี้ ลัทธิคอมมิวนิสต์จึงเกี่ยวข้องกับ "การปฏิเสธทรัพย์สิน" จนถึงขอบเขตที่ว่ามีเหตุผลทางเศรษฐกิจน้อยมากในการควบคุมทรัพย์สินการผลิตแต่ผู้เดียวในสิ่งแวดล้อมที่วัตถุมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์[10]

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ที่พัฒนาอย่างเต็มที่สันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้นตามหลังระบบสังคมนิยม มากซ์มองว่าสังคมนิยม ซึ่งหมายถึงสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต จะเปิดช่องให้ก้าวหน้าสู่การพัฒนาคอมมิวนิสต์ที่พัฒนาอย่างเต็มที่โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ภายใต้ระบบสังคมนิยม เมื่อมีระดับอัตโนมัติการเพิ่มมากขึ้นเท่าใด สัดส่วนสินค้าที่กระจายอย่างเสรีก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น[11]

แง่มุมสังคม[แก้]

ปัจเจกนิยม อิสรภาพและความคิดสร้างสรรค์[แก้]

สังคมคอมมิวนิสต์จะปลดปล่อยปัจเจกจากการทำงานยาวนานโดยขั้นแรกทำให้การผลิตเป็นอัตโนมัติในระดับหนึ่งซึ่งให้ชั่วโมงทำงานเฉลี่ยลดลง[12] และขั้นที่สองกำจัดการขูดรีดซึ่งเป็นเนื้อในของการแบ่งแยกกรรมกรกับเจ้าของ ระบบคอมมิวนิสต์จะปลดปล่อยปัจเจกบุคคลจากอัญภาวะ (alienation) ในสำนึกว่าชีวิตของบุคคลสร้างอยู่รอบการเอาชีวิตรอด (อยู่เพื่อเอาค่าจ้างหรือเงินเดือนในสังคมทุนนิยม) ซึ่งมากซ์เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านจาก "อาณาจักรแห่งความจำเป็น" ไปสู่ "อาณาจักรแห่งอิสรภาพ" ผลคือ มากซ์พยากรณ์ว่าสังคมคอมมิวนิสต์จะประกอบด้วยประชากรที่มักจะเป็นปัญญาชน มีทั้งเวลาและทรัพยากรในการประกอบงานอดิเรกที่สร้างสรรค์และความสนใจอย่างแท้จริงของตน และมีส่วนส่งเสริมความมั่งคั่งทางสังคมสร้างสรรค์ด้วยวิธีนี้ คาร์ล มากซ์มองว่า "ความร่ำรวยแท้จริง" นั้นได้แก่ปรมาณเวลาที่คนมีอยู่เพื่อบรรลุความปรารถนาเชิงสร้างสรรค์ของตน[13][14] ความคิดเรื่องนี้ของมากซ์ถือว่าเป็นปัจเจกนิยมมูลวิวัติทีเดียว[15]

มโนทัศน์เรื่อง "อาณาจักรแห่งอิสรภาพ" นี้ขนานไปกับความคิดเรื่องการยุติการแบ่งงานกันทำของเขา ซึ่งจะไม่มีความจำเป็นในสังคมที่มีการผลิตอัตโนมัติอย่างสูงและมีบทบาทงานจำกัด ในสังคมคอมมมิวนิสต์ ความจำเป็นและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจจะยุติการกำหนดความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและสังคม เมื่อความขาดแคลนถูกกำจัดไป[10] กรรมกรที่ถูกทำให้แปลกแยกจะหมดไปด้วย และบุคคลจะมีอิสระในการติดตามเป้าหมายส่วนตัว[16] นอกจากนี้ เชื่อว่าหลักการ "จากทุกคนตามที่สามารถ ให้ทุกคนตามที่ต้องการ" (from each according to his ability, to each according to his needs) จะเป็นจริงได้เพราะความขาดแคลนหมดไป[17][18]

การเมือง กฎหมายและวิธีการปกครอง[แก้]

มากซ์และเอ็งเงิลส์ยืนยันว่าสังคมคอมมิวนิสต์ไม่จำเป็นต้องมีรัฐเพราะรัฐมีอยู่ในสังคมทุนนิยมร่วมสมัย รัฐทุนนิยมมีอยู่เป็นหลักเพื่อบังคับใช้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบมีลำดับชั้น เพื่อบังคับใช้การควบคุมทรัพย์สินแต่ผู้เดียว และเพื่อวางระเบียบกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม รัฐจึงย่อมเข้าไม่ได้กับสังคมคอมมิวนิสต์[10][16]

เอ็งเงิลส์สังเกตว่าหน้าที่หลักของสถาบันสาธารณะในระบบสังคมนิยมจะเปลี่ยนจากการสร้างกฎหมายและการควบคุมประชากรมาสู่บทบาททางเทคนิคเป็นผู้บริหารกระบวนการผลิตทางเทคนิค โดยมีการลดขอบเขตการเมืองแต่เดิมเมื่อการบริหารทางวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนการวินิจฉัยสั่งการทางการเมือง[19] สังคมคอมมิวนิสต์มีลักษณะเป็นกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งไม่ได้มีเพียงในแง่ประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ในความหมายกว้างกว่าคือมีสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานและสังคมแบบเปิดและร่วมมือกัน[10]

มากซ์ไม่เคยระบุชัดเจนว่าเขาคิดว่าสังคมคอมมิวนิสต์จะมีความเป็นธรรมหรือไม่ แต่นักคิดคนอื่นสันนิษฐานว่าเขาคิดว่าคอมมิวนิสต์จะก้าวข้ามเรื่องความยุติธรรมและสร้างสังคมที่ปลอดความขัดแย้ง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ความยุติธรรม[20]

ขั้นเปลี่ยนผ่าน[แก้]

มากซ์ยังเขียนว่าระหว่างสังคมทุนนิยมและคอมมิวนิสต์จะมีระยะเปลี่ยนผ่านที่เรียกว่า เผด็จการของชนกรรมาชีพ[10] ในช่วงการพัฒนาทางสังคมนี้ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะค่อย ๆ ถูกลบไปและแทนที่ด้วยสังคมนิยม ทรัพยากรธรรมชาติจะกลายเป็นสมบัติสาธารณะ ส่วนแหล่งการผลิตและที่ทำงานจะมีสังคมเป็นเจ้าของและการจัดการแบบประชาธิปไตย การผลิตจะมีการจัดระเบียบด้วยการประเมินและวางแผนแบบวิทยาศาสตร์ จึงเป็นการกำจัดสิ่งที่มากซ์เรียกกว่า "อนาธิปไตยในการผลิต" การพัฒนากำลังการผลิตดังกล่าวจะนำไปสู่การลดความสำคัญของแรงงานมนุษย์ และค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยแรงงานอัตโนมัติ

อ้างอิง[แก้]

  1. Steele, David Ramsay (September 1999). From Marx to Mises: Post Capitalist Society and the Challenge of Economic Calculation. Open Court. p. 66. ISBN 978-0875484495. Marx distinguishes between two phases of marketless communism: an initial phase, with labor vouchers, and a higher phase, with free access.
  2. Busky, Donald F. (July 20, 2000). Democratic Socialism: A Global Survey. Praeger. p. 4. ISBN 978-0275968861. Communism would mean free distribution of goods and services. The communist slogan, 'From each according to his ability, to each according to his needs' (as opposed to 'work') would then rule
  3. O'Hara, Phillip (September 2003). Encyclopedia of Political Economy, Volume 2. Routledge. p. 836. ISBN 0-415-24187-1. it influenced Marx to champion the ideas of a 'free association of producers' and of self-management replacing the centralized state.
  4. 4.0 4.1 Critique of the Gotha Program, Karl Marx.
  5. 5.0 5.1 "Full Communism: The Ultimate Goal". Economic Theories. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2009.
  6. Kropotkin, Peter (1920). The Wages System.
  7. Busky, Donald F. (July 20, 2000). Democratic Socialism: A Global Survey. Praeger. p. 9. ISBN 978-0275968861. In a modern sense of the word, communism refers to the ideology of Marxism-Leninism.
  8. Wilczynski, J. (2008). The Economics of Socialism after World War Two: 1945-1990. Aldine Transaction. p. 21. ISBN 978-0202362281. Contrary to Western usage, these countries describe themselves as ‘Socialist’ (not ‘Communist’). The second stage (Marx’s ‘higher phase’), or ‘Communism’ is to be marked by an age of plenty, distribution according to needs (not work), the absence of money and the market mechanism, the disappearance of the last vestiges of capitalism and the ultimate ‘whithering away of the state.
  9. Gregory and Stuart, Paul and Robert (2003). Comparing Economic Systems in the Twenty-First. South-Western College Pub. p. 118. ISBN 0-618-26181-8. Communism, the highest stage of social and economic development, would be characterized by the absence of markets and money and by abundance, distribution according to need, and the withering away of the state…Under socialism, each individual would be expected to contribute according to capability, and rewards would be distributed in proportion to that contribution. Subsequently, under communism, the basis of reward would be need.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Barry Stewart Clark (1998). Political economy: a comparative approach. ABC-CLIO. pp. 57–59. ISBN 978-0-275-96370-5. สืบค้นเมื่อ 7 March 2011.
  11. Wood, John Cunningham (1996). Karl Marx's Economics: Critical Assessments I. Routledge. p. 248. ISBN 978-0415087148. In particular, this economy would possess (1) social ownership and control of industry by the ‘associated producers’ and (2) a sufficiently high level of economic development to enable substantial progress toward ‘full communism’ and thereby some combination of the following: super affluence; distribution of an increasing proportion of commodities as if they were free goods; an increase in the proportion of collective goods...
  12. Peffer, Rodney G. (2014). Marxism, Morality, and Social Justice. Princeton University Press. p. 73. ISBN 9780691608884. Marx believed the reduction of necessary labor time to be, evaluatively speaking, an absolute necessity. He claims that real wealth is the developed productive force of all individuals. It is no longer the labor time but the disposable time that is the measure of wealth.
  13. Jessop and Wheatley, Bob and Russell (1999). Karl Marx's Social and Political Thought, Volume 6. Routledge. p. 9. ISBN 9780415193283. Marx in the Grundrisse speaks of a time when systematic automation will be developed to the point where direct human labor power will be a source of wealth. The preconditions will be created by capitalism itself. It will be an age of true mastery of nature, a post-scarcity age, when men can turn from alienating and dehumanizing labor to the free use of leisure in the pursuit of the sciences and arts.
  14. Marx, Theorien uber der Mehwert III, ed. K. Kautsky (Stuttgart, 1910), pp. 303-4.
  15. Woods, Allen. W. "'Karl Marx on Equality" (PDF). New York University: Department of Philosophy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-09. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016. A society that has transcended class antagonisms, therefore, would not be one in which some truly universal interest at last reigns, to which individual interests must be sacrificed. It would instead be a society in which individuals freely act as the truly human individuals they are. Marx’s radical communism was, in this way, also radically individualistic.
  16. 16.0 16.1 Craig J. Calhoun (2002). Classical sociological theory. Wiley-Blackwell. p. 23. ISBN 978-0-631-21348-2. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
  17. Schaff, Kory (2001). Philosophy and the problems of work: a reader. Lanham, Md: Rowman & Littlefield. pp. 224. ISBN 978-0-7425-0795-1.
  18. Walicki, Andrzej (1995). Marxism and the leap to the kingdom of freedom: the rise and fall of the Communist utopia. Stanford, Calif: Stanford University Press. p. 95. ISBN 978-0-8047-2384-8.
  19. Socialism: Utopian and Scientific, on Marxists.org: http://www.marxists.org/archive/marx/works/1880/soc-utop/ch01.htm: "In 1816, he declares that politics is the science of production, and foretells the complete absorption of politics by economics. The knowledge that economic conditions are the basis of political institutions appears here only in embryo. Yet what is here already very plainly expressed is the idea of the future conversion of political rule over men into an administration of things and a direction of processes of production."
  20. "Karl Marx – Stanford Encyclopaedia of Philosophy".. First published Tue Aug 26, 2003; substantive revision Mon Jun 14, 2010. Accessed March 4, 2011.