พรรคคอมมิวนิสต์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง |
ลัทธิคอมมิวนิสต์ |
---|
พรรคคอมมิวนิสต์ (อังกฤษ: communist party) หมายถึง พรรคที่รณรงค์การนำหลักการทางสังคมของลัทธิคอมมิวนิสต์ไปใช้ ไปจนถึงการนำรูปแบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ไปใช้ ชื่อ คอมมิวนิสต์ นั้น มีที่มาจาก คำประกาศพรรคคอมมิวนิสต์ เมื่อ ค.ศ. 1848 โดย คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดริช เองเงิลส์[1] พรรคคอมมิวนิสต์ในแนวคิดแบบลัทธิเลนินนั้นรวมเอาระบบการเมืองที่ใหญ่ขึ้นเอาไว้ด้วย และไม่ได้มีเพียงทิศทางทางอุดมการณ์เท่านั้น แต่ยังมีนโยบายองค์กรอีกเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันมีพรรคคอมมิวนิสต์เล็กใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อย ๆ แห่งทั่วโลก โดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีอำนาจปกครองรัฐในห้าประเทศ (จีน คิวบา เกาหลีเหนือ ลาว และ เวียดนาม) ซึ่งใช้การปกครองตามหลักการ "เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ" โดยมีที่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตในสหภาพโซเวียต และต่อมาได้มีการจัดตั้งองค์การคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการเผยแพร่พรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
การตั้งชื่อพรรค
[แก้]องค์การคอมมิวนิสต์สากล รับเอาหลักการตั้งชื่อพรรคคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ให้เหมือนกันมาใช้ พรรคทุกพรรคจะต้องใช้ชื่อ "พรรคคอมมิวนิสต์ (ชื่อประเทศ)" ทุกวันนี้ มีพรรคคอมมิวนิสต์จำนวนมากที่ยังใช้ชื่อดังกล่าวอยู่ ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่น สาเหตุหลักคือเพื่อหลีกเลี่ยงการจำกัดห้ามปรามของรัฐ ตัวอย่างหนึ่งคือ พรรคแรงงานสวิส ซึ่งก่อตั้งใน ค.ศ. 1944 เพื่อแทนที่ พรรคคอมมิวนิสต์สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งถูกทำให้ผิดกฎหมาย หรือเพื่อบอกว่ายอมรับอุดมการณ์ทางการเมืองที่กว้างขึ้น ตัวอย่างทั่วไปของกรณีหลังก็คือ การเปลี่ยนชื่อของพรรคคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังการควบรวม กับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยท้องถิ่น การควบรวมต่าง ๆ ดังกล่าว เกิดขึ้นในเยอรมนีตะวันออก (Socialist Unity Party of Germany), ฮังการี (Hungarian Working People's Party), โปแลนด์ (Polish United Workers Party) และ โรมาเนีย (Romanian Workers Party) ชื่อใหม่ ๆ ในยุคหลังสงคราม เช่น พรรคสังคมนิยม (Socialist Party), Socialist Unity Party, พรรคประชานิยม (Popular Party), พรรคกรรมกร (Workers Party) และ พรรคแรงงาน (Party of Labour)
หลักการตั้งชื่อของพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มหลากหลายขึ้น เมื่อขบวนการคอมมิวนิสต์นานาชาติแตกออกเป็นส่วน ๆ จากการแยกกันของจีน-สหภาพโซเวียต ในทศวรรษ 1960 พรรคที่อยู่ข้างจีนหรือแอลเบเนียที่วิพากษ์วิจารณ์การนำของโซเวียต มักจะเพิ่มคำอย่าง "ปฏิวัติ" หรือ "มากซ์-เลนิน" เข้าไปในชื่อ เพื่อแยกตัวเองออกจากพรรคที่สนับสนุนโซเวียต
รายชื่อพรรคคอมมิวนิสต์ปัจจุบัน
[แก้]- พรรคคอมมิวนิสต์จีน
- พรรคแรงงานเกาหลี
- พรรคคอมมิวนิสต์คิวบา
- พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
- พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหราชอาณาจักร
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
- พรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย (ลัทธิมากซ์)
- พรรคคอมมิวนิสต์ยูเอสเอ
- พรรคคอมมิวนิสต์โปรตุเกส
- พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น
- พรรคคอมมิวนิสต์สเปน
- พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส
- พรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี
หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Harper, Douglas (November 2001). "Online Etymology Dictionary:Communism" (HTML). Online Etymology Dictionary (ภาษาอังกฤษ). Douglas Harper. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27.
Originally a theory of society; as name of a political system, 1850, a translation of Ger. Kommunismus, in Marx and Engels' "Manifesto of the German Communist Party."