การปฏิวัติโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหายเลนินเก็บกวาดโลกแห่งความโสมม (ค.ศ. 1920)

การปฏิวัติโลก (อังกฤษ: World revolution) คือแนวคิดตามลัทธิมากซ์ของฝ่ายซ้ายจัดในการล้มล้างระบอบทุนนิยมของทุกประเทศด้วยการปฏิวัติอย่างตระหนักรู้ (conscious) โดยกลุ่มชนชั้นแรงงานจัดตั้ง ซึ่งการปฏิวัติเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียงกัน แต่ให้ก่อการขึ้นเมื่อเวลาและสถานที่ (รัฐหรือดินแดน) ใดก็ตามเข้าเงื่อนไขที่จะทำให้ฝ่ายปฏิวัติ (พรรคปฏิวัติ) สามารถยึดสิทธิ์ถือครองและการปกครองจากชนชั้นกระฎุมพีได้สำเร็จ และสามารถสถาปนารัฐแรงงานซึ่งยึดหลักการที่สังคมร่วมเป็นเจ้าของ (social ownership) ในปัจจัยการผลิต (means of production) ส่วนกรณีของลัทธิทรอตสกี ยังพิจารณาเงื่อนไขที่จำเป็นอื่น ๆ ในระดับสากล เช่น การต่อสู้ระหว่างชนชั้น และการก่อการในระดับโลก ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญและปัจจัยหลักที่อธิบายว่าทำไมแนวทางสังคมนิยมประเทศเดียวถึงประสบความล้มเหลว

เป้าหมายสูงสุดของการปฏิวัติสังคมนิยมในระดับสากลคือเพื่อให้เกิด โลกสังคมนิยม หรือ ระบอบสังคมนิยมทั่วโลก (world socialism) และภายหลังพัฒนาไปถึงขั้น คอมมิวนิสต์ไร้พรมแดน (stateless communism; ระบอบคอมมิวนิสต์เดียวที่ปกครองโลก)[1][2]

อ้างอิง[แก้]