พันคำ วิพาวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันคำ วิพาวัน
นายกรัฐมนตรีลาว
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565
(1 ปี 283 วัน)
ประธานาธิบดีทองลุน สีสุลิด
รอง
ดูรายชื่อ
ก่อนหน้าทองลุน สีสุลิด
ถัดไปสอนไซ สีพันดอน
รองประธานประเทศลาว
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2559 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2564
(4 ปี 336 วัน)
ก่อนหน้าบุนยัง วอละจิด
ถัดไปปานี ยาท่อตู้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 เมษายน พ.ศ. 2494 (72 ปี)
บ้านกาง เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน
เชื้อชาติลาว ลาว
ศาสนาพุทธ เถรวาท
พรรคการเมือง พรรคประชาชนปฏิวัติลาว

พันคำ วิพาวัน (ลาว: ພັນຄຳ ວິພາວັນ, เกิดวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2494) อดีตนายกรัฐมนตรีลาวตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2565[1]จากการเลือกตั้งในกองประชุมครั้งปฐมฤกษ์สภาแห่งชาติลาวชุดที่ 9 ก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งรองประธานประเทศลาวในปี พ.ศ. 2559 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและนายกสมาคมมิตรภาพลาว-เวียดนาม[2][3] เกิดที่ แขวงหัวพัน

ประวัติ[แก้]

ดร.พันคำ วิพาวัน เกิดวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ บ้านกอง เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน ชนเผ่าไต เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้เข้าร่วมพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสมบูรณ์อย่างเป็นทางการของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2519[4]สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 เริ่มเข้าเป็นรัฐกรของกระทรวงศึกษา กีฬาและธรรมการ และสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาทฤษฎีมากซ์-เลนิน วิทยาศาสตร์ เขามีบทบาทอย่างมากในด้านการศึกษาโดยได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในด้านการศึกษา จนได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ในรัฐบาลชุดที่ 7 ภายใต้การนำของนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี หลังรัฐบาลชุดที่ 7 หมดวาระลง เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559 เขาได้รับเลือกเป็นรองประธานประเทศในสมัยกองประชุมสภาแห่งชาติชุดที่ 8 และเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 เขาได้รับการพิจารณารับรองจากกองประชุมครั้งปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 ในรัฐบาลชุดที่ 9[5] ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดร.พันคำ วิพาวัน ได้กล่าวปฏิญาณตนว่า

ลาว: ຈະເຊີດຊູມານະຈິດປະຕິວັດບຸກໃຫ້ສູງກວ່າເວລາໃດຫມົດ ເພື່ອຮ່ວມກັບສະມາຊິກລັດຖະບານ ຊຸດທີ IX ປະຕິບັດຫນ້າທີ່ຂອງຕົນໃຫ້ດີ ເທົ່າທີ່ຈະດີໄດ້ ພາຍໃຕ້ລັດຖະທໍາມະນູນ ແລະກົດຫມາຍ ຂອງ ສປປ ລາວ ແລະພ້ອມທີ່ຈະອຸທິດ ທຸກເຫື່ອເເຮງ, ສະຕິປັນຍາ ເເລະຄວາມຮູ້ຄວາມສາມາດຂອງຕົນ ເຂົ້າໃນການປະຕິບັດຫນ້າທີ່ດ້ວຍຄວາມຮັບຜິດຊອບສູງ ເເລະຈະບໍລິສຸດໃຈ ເພື່ອຮ່ວມກັບຄະນະນໍາຂອງພັກ ແລະ ລັດ ທັງສູນກາງແລະທ້ອງຖິ່ນ ຈັດຕັ້ງປະຕິບັດມະຕິກອງປະຊຸມໃຫຍ່ຂອງພັກ ຄັ້ງທີ XI, ແຜນພັດທະນາເສດຖະກິດ-ສັງຄົມເເຫ່ງຊາດ 5 ປີ ຄັ້ງທີ IX ເເລະບັນດາມະຕິຕົກລົງຂອງສະພາແຫ່ງຊາດ ຊຸດທີ IX ໃຫ້ປະສົບຜົນສໍາເລັດເປັນຢ່າງດີ.[6]
แปล: จะเชิดชู มานะ จิตปฏิวัติ รุกให้สูงกว่าเวลาใดทั้งหมด เพื่อร่วมกับสมาชิกรัฐบาลชุดที่ 9 ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี เท่าที่จะดีได้ ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายของสปป.ลาว และพร้อมที่จะอุทิศ ทุกเหงื่อ แรง สติปัญญา และความรู้ความสามารถของตน เข้าในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบสูง และบริสุทธิ์ใจ เพื่อร่วมกับคณะนำของพรรคและรัฐ ทั้งศูนย์กลางและท้องถิ่น จัดตั้งปฏิบัติมติกองประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 11 แผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมแห่งชาติ 5 ปี ครั้งที่ 9 และบรรดามติตกลงของประชุมสภาแห่งชาติ ชุดที่ 9 ให้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

บทบาททางด้านการเมือง[แก้]

ดร.พันคำ วิพาวัน ในงานประชุมเศรษฐกิจเอเชีย

หลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง ดร.พันคำ วิพาวันได้รับความเห็นชอบและร่วมกับคณะบริหารของประธานประเทศ ดร.ทองลุน สีสุลิด ในการเข้าตำแหน่งรองนายกของสปป.ลาวนั้น ประเทศลาวได้เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แม้ว่าทางรัฐบาลลาวจะรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับต้นๆของอาเซียน แต่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดได้ส่งผลให้ประเทศได้เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ด้านอัตราค่าเงินกีบเฟ้อสูง ทำให้ค่าครองชีพและค่าแรงต่ำ อีกทั้งยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง

30 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่ประชุมสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 9 ดร. พันคำ วิพาวัน ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจของลาว โดยเขาได้ขึ้นกล่าวต่อกองประชุมสภาฯ ว่า ได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกฯ สืบเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ และขอส่งต่อภารกิจให้นายกฯคนใหม่ แก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติต่อไป

โดยที่ประชุมสมาชิกสภาได้มีมติเห็นชอบอย่างด้วยเสียงส่วนใหญ่ ให้แต่งตั้งสอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน

ประวัติการทำงานและการศึกษา[แก้]

  • ปี พ.ศ. 2518 - 2520 : เป็นพนักงานรัฐกรประจำกระทรวงศึกษาธิการ กีฬา และธรรมการ(ກະຊວງສຶກສາ ກີລາ ແລະທຳມະການ)
  • ปี พ.ศ. 2520 - 2526 : เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยอดีตสหภาพโซเวียต
  • ปี พ.ศ. 2526 - 2528 : เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบำรุงทฤษฎีการเมืองสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กีฬา และธรรมการ
  • ปี พ.ศ. 2528 - 2531 : ศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาทฤษฎีมากซ์-เลนินที่สหภาพโซเวียต
  • ปี พ.ศ. 2531 - 2539 : เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาลัยสร้างครูเวียงจันทน์
  • ปี พ.ศ. 2544 - 2548 : เป็นรัฐมนตรีช่วยประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปี พ.ศ. 2548 - 2554 : เป็นเจ้าแขวงหัวพัน(ผู้ว่าราชการจังหวัด)
  • ปี พ.ศ. 2554 - 2558 : เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการและกีฬา
  • ปี พ.ศ. 2559 - 2564 : เป็นรองประธานประเทศแห่งสปป.ลาว(รองประธานาธิบดี)
  • ปี พ.ศ. 2564 - 2565 : เป็นนายกรัฐมนตรีลาว

อ้างอิง[แก้]

  1. "ກອງປະຊຸມຄັ້ງປະຖົມມະລືກຂອງສະພາແຫ່ງຊາດ ຊຸດທີ່IX ເລືອກຕັ້ງ ທ່ານ ພັນຄຳ ວິພາວັນ ເປັນນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ຄົນໃໝ່". ສະພາແຫ່ງຊາດ ແຫ່ງສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ. สืบค้นเมื่อ March 24, 2021.
  2. "Members of the Lao Government". Lao News Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-03. สืบค้นเมื่อ September 4, 2010.
  3. "Vietnam Embassy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2016-05-06.
  4. "ປະຫວັດທ່ານພັນຄຳ ວິພາວັນ". Laos CRI Online. สืบค้นเมื่อ March 25, 2021.
  5. "ກອງປະຊຸມຄັ້ງປະຖົມມະລືກຂອງສະພາແຫ່ງຊາດ ຊຸດທີ່IX ເລືອກຕັ້ງ ທ່ານ ພັນຄຳ ວິພາວັນ ເປັນນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ຄົນໃໝ່". ສະພາແຫ່ງຊາດ ແຫ່ງສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ. สืบค้นเมื่อ March 24, 2021.
  6. "ທ່ານ ພັນຄຳ ວິພາວັນ ໄດ້ຮັບເລືອກເປັນນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ແຫ່ງ ສປປ ລາວ". Allinlaos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-09. สืบค้นเมื่อ March 25, 2021.
ก่อนหน้า พันคำ วิพาวัน ถัดไป
ทองลุน สีสุลิด
นายกรัฐมนตรีลาว
(22 มีนาคม พ.ศ. 2564 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565)
สอนไซ สีพันดอน
บุนยัง วอละจิด
รองประธานประเทศลาว
(20 เมษายน พ.ศ. 2559 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2564)
ปานี ยาท่อตู้
บุนทอง จิดมะนี