ข้ามไปเนื้อหา

รัฐบาลชั่วคราวสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐบาลชั่วคราวสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา

เขมรแดง
2537–2541
ธงชาติกัมพูชาประชาธิปไตย
ธงชาติ
ตำแหน่งของจังหวัดไพลินในปัจจุบัน, ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลชั่วคราวในช่วง พ.ศ. 2537–2541
ตำแหน่งของจังหวัดไพลินในปัจจุบัน, ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลชั่วคราวในช่วง พ.ศ. 2537–2541
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง (2537–2541)
เมืองหลวงจังหวัดไพลิน
ภาษาทั่วไปเขมร
การปกครองรัฐบาลชั่วคราว
นายกรัฐมนตรี 
• 2537–2541
เขียว สัมพัน
รองนายกรัฐมนตรี 
• 2537–2540
ซอน เซน
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
11 กรกฎาคม 2537
• ล่มสลาย
22 มิถุนายน 2541
สกุลเงินเรียล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรกัมพูชา
รัฏฐาภิบาลแห่งชาติกัมพูชา
ราชอาณาจักรกัมพูชา
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชา

รัฐบาลชั่วคราวเพื่อสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา (Provisional Government of National Union and National Salvation of Cambodia: PGNUNSC) เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่ตั้งขึ้นโดยเขมรแดงเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2537[1] ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อต่อต้านการจัดตั้งราชอาณาจักรกัมพูชา นายกรัฐมนตรีคือ เขียว สัมพัน ซึ่งเป็นหัวหน้ากองทัพด้วย ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศคือซอน เซน ทีมงานเป็นสมาชิกพรรคสามัคคีแห่งชาติกัมพูชา บริเวณที่ควบคุมได้คือจังหวัดไพลิน (เมืองหลวงของรัฐบาลชั่วคราว)และจังหวัดพระวิหาร (ที่ตั้งของกองทัพ)[2] สถานีวิทยุของเขมรแดงเป็นที่รู้จักว่าเป็นวิทยุของรัฐบาลชั่วคราวเพื่อสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา รัฐมนตรีอื่น ๆ ได้แก่จัน ยัวราน มัก เบน อิน โซเพียบ กอร์บุนเฮง พิช เชียง และเชา เชือน[3]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เอียง ซารี ประกาศแยกตัวออกจากเขมรแดงโดยแบ่งกำลังทหารของตนออกไป และก่อตั้งพรรคของตนเองคือขบวนการสหภาพแห่งชาติประชาธิปไตย ซึ่งทำให้เขมรแดงแตกแยกมากขึ้นจนพล พต สั่งฆ่าซอน เซน (สำเร็จ) และตา มก (ไม่สำเร็จ)[4] ในช่วงกลางเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2540 เขียว สัมพัน ได้ตั้งพรรคของตัวเองคือพรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร และแยกตัวออกจากเขมรแดง[5] เมื่อพล พต เสียชีวิตในเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 และพลพรรคเขมรแดงได้แยกย้ายกันไป เขียว สัมพัน และตามกได้ประกาศสลายรัฐบาลชั่วคราวเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2541[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. United States Foreign Broadcast Information Service. Daily report: East Asia. Index, Volume 16, Part 2. NewsBank. 1996. p. 456.
  2. Alan John Day. Political Parties of the World. 1996. p. 110.
  3. International Federation of Social Science Organizations. Transition Regimes: Political and Socio-Economic Transformations. 1998. p. 157.
  4. Donald F. Busky. Communism in History and Theory: Asia, Africa, and the Americas. Westport, CT: Praeger Publishers. 2002. p. 38.
  5. Far East and Australasia 2003. 2002. p. 236.
  6. Sucheng Chan. Survivors: Cambodian Refugees in the United States. Chicago, IL: University of Illinois Press. 2004. p. 255.